โครงการหมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา ๑๑
หมู่ ๗ ตำบลบาละ อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา
ที่มาของการต่อยอดโครงการ :
เดิมพื้นที่ที่ขอตั้งโครงการจุฬาภรณ์พัฒนา ๑๑ กิ่งอำเภอกำลัง จังหวัดยะลานั้นเป็นหมู่บ้านรัตนกิตติ ๓ ซึ่งทางราชการทหารโดยกองทัพบก (แม่ทัพภาคที่ ๔) ได้รับอนุญาตให้ใช้พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติจากกรมป่าไม้โดยอนุมัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ เนื้อที่ ๑,๖๐๐ ไร่ และต่อมาได้ทำการจัดสรรพื้นที่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่ากาบัง ที่ได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้ให้แก่ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย โดยให้ครอบครัวละ ๑๕ ไร่ เพื่อให้ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยที่ได้เข้าร่วมโครงการฯ ได้มีที่ทำกิน ที่อยู่อาศัยอันเป็นหลักประกันชีวิตและครอบครัว รวมทั้งการประกอบอาชีพและการเป็นอยู่ที่ดีตามความมุ่งหวังและปรารถนาดี ของทางราชการทหารต่อ ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยกลุ่มนี้ เพื่อหันมาช่วยกันพัฒนาประเทศชาติ โดยเฉพาะพื้นที่ทำการจัดสรรให้ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยได้แยกออกเป็น ๓ ส่วน คือส่วนที่ ๑ อยู่ในเขตหมู่บ้านแยะใน หมู่ที่ ๓ ตำบลบาละ กิ่งอำเภอกาบัง จังหวัดยะลา ส่วนที่ ๒ อยู่ที่บ้านจาเราะทำบุง (หรือคลอง ตำบล) และส่วนที่ ๓ อยู่ที่บ้านคลองพุด ซึ่งส่วนที่ ๒ และ ๓ อยู่ในหมู่ที่ ๒ ตำบลบาละ กิ่งอำเภอกาบัง จังหวัดยะลา ในปลายี ๒๕๓๗ องค์ประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ได้ ทรงตรวจเยี่ยมโครงการหมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา ๑๑ และดูความก้าวหน้าของโครงการฯ โดยให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ ได้ถวายรายงานผลงานที่ได้ดำเนินการภายใต้โครงการ หมู่บ้านจุฬาภรณ์ ๑๑ ในครั้งนี้ เกี่ยวกับสภาพพื้นที่ของโครงการที่เป็นหมู่บ้านรัตนกิตติ ๓ (เดิม) ร่วมกับฝ่ายทหาร ผู้รับผิดชอบดูแลโครงการในพื้นที่จากการถวายรายงานและนำแผนที่ประกอบ ให้ทอดพระเนตรพร้อมรายงานถวายรายละเอียดของพื้นที่ทำกินที่จัดสรร เมื่อทรงทอดพระเนตรจากแผนที่และการถวายรายงาน องค์ประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ได้ให้ข้อคิดเห็นว่าพื้นที่ทั้งสามส่วนไม่มีพื้นที่ติดต่อกัน ดูไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยและสวยงาม และได้ทรงรับสั่งว่าถ้าหากสามารถตีกรอบให้เป็นสี่เหลี่ยมดูจะสวยงามกว่า และพื้นที่ที่มีอยู่เดิมก็น้อย จะทำการวิจัยและพัฒนาก็ยาก ให้แก้ไขพื้นที่เป็นสี่เหลี่ยม โดยผนวกพื้นที่เก่าจำนวน ๑,๕๐๐ ไร่ เข้าไปด้วย รวมพื้นที่ทั้งหมด ๑๘ ตารางกิโลเมตร หรือ ๑๑,๒๕๐ ไร่ เพื่อนำพื้นที่ไปจัดตั้งหมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา ๑๑ ให้สมบูรณ์แบบสามารถมีพื้นที่รองรับในการวิจัย และการพัฒนาเพื่อความเจริญก้าวหน้าของหมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา ๑๑ ภายใต้การอุปถัมภ์ดูแล ช่วยเหลือของ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ซึ่งเป็นพระประสงค์และความมุ่งหวังที่องค์ประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์มอบให้แก่ราษฎรที่อยู่ห่างไกล และอยู่ในโครงการของพระองค์ท่าน ได้มีชีวิตการเป็นอยู่ที่ดีมีพลานามัยสมบูรณ์ เพื่อจะได้เป็นกำลังในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป
วัตถุประสงค์โครงการ :
- ส่งเสริมอาชีพของสมาชิกให้มีความ มั่นคงในระดับหนึ่งขณะที่สมาชิกอยู่ในโครงการเพื่อให้เป็นอาชีพพื้นฐานพร้อมที่จะพัฒนาเป็นอาชีพที่มั่นคงต่อไป
- จัดระบบโครงสร้างพื้นฐาน ด้วยการ ปรับปรุง ก่อสร้าง และบริหารงานโครงสร้างพื้นฐานให้มีประสิทธิภาพเพื่อให้เป็นพื้นฐานของการพัฒนาต่อไป
- ส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ได้แก่ ป่าไม้ สัตว์ป่า ต้นน้ำลำธาร เป็นต้น ในขีด ความสามารถที่มีอยู่
- จัดให้เป็นแหล่งสำหรับการศึกษาค้นคว้า พืชสมุนไพร เพื่อสนับสนุนการศึกษาค้นคว้าของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ต่อไป
- จัดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
- เพื่อเตรียมการให้เป็นหมู่บ้านต่อสู้แบบเบ็ดเสร็จ
- ดูแลรักษาความปลอดภัยให้หมู่บ้านตามขีดความสามารถในลักษณะชุมชนเข้มแข็ง
ผลการดำเนินการ :
- ปัจจุบันมีราษฎร ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ โครงการ จำนวน ๒๒๐ คน (เป็นชาย จำนวน ๑๐๙ คน และหญิง จำนวน ๑๑๑ คน)
- มีการประกอบอาชีพทำสวนยางและ สวนผลไม้ โดยมีรายได้/ครอบครัว/ปี ประมาณ ๖๐,๐๐๐ - ๑๒๐,๐๐๐ บาท
ติดต่อสถานี
-
สำนักงานสถานีเกษตร
โทร : -
สำหรับจองที่พัก
โทร : -
ศูนย์บริการข้อมูลนักท่องเที่ยว
โทร : -