๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๗

โครงการศิลปาชีพเครื่องปั้นดินเผาทักษิณราชนิเวศน์

หมู่ ๔ ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส


ที่มาของการต่อยอดโครงการ :

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทราบว่าจังหวัดนราธิวาสเป็นแหล่งที่มีดินขาวที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ สามารถนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ เครื่องปั้นดินเผาได้อย่างสวยงาม และราษฎรมีความสามารถอยู่แล้ว จึงมีพระเสาวนีย์ให้ดำเนินการฝึกอบรมราษฎรให้เรียนรู้การปั้นและจัดตั้งฝึกอบรมเครื่องปั้นดินเผาภายในบริเวณพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ จังหวัดนราธิวาส พร้อมทั้งจัดส่งเจ้าหน้าที่จากกรมวิทยาศาสตร์เป็นวิทยากรฝึกอบรมการทำเครื่องปั้นดินเผาให้แก่ราษฎร ต่อมาได้จัดให้มีการประกวด การปั้น เขียนลวดลายบนเครื่องปั้นดินเผาเพื่อพัฒนาคุณภาพให้ดีขึ้นตามลำดับในการดำเนินงานตามพระราชดำริดังกล่าวจะเห็นว่าพระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถในความคิดริเริ่มการออกแบบรูปทรงและลวดลายต่างๆ ได้อย่างสวยงาม ทรงจัดระบบการบริหารจัดการ การผลิตและการตลาดอย่างครบวงจร รวมทั้งได้จัดให้มีการประกวดฝีมือในงานต่างๆ และจัดนิทรรศการขึ้นทุกปี ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ เพื่อพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์และฝีมือของสมาชิกให้มีความประณีตและสวยงามขึ้นตลอดเวลา สร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ผู้ทำงานศิลปะ สำหรับผู้ชนะการประกวดประเภทต่างๆ จะได้เข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานรางวัลอย่างงามงานโครงการศิลปาชีพประเภทต่างๆ ที่พระราชทานแก่ราษฎรยากจนที่เป็นชาวนา ชาวไร่ และลูกจ้างในสวนยางพารา กระจายไปทุกพื้นที่ตั้งแต่เริ่มโครงการจนถึงปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จแปรพระราชฐานมาประทับแรม ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ เป็นประจำทุกปี พ.ศ.๒๕๑๖ เป็นต้นมา ได้เสด็จเยี่ยมเยือนราษฎรในพื้นที่ชนบท ต่างๆ หลายแห่ง พระองค์ทรงพบเห็นปัญหาความยากจนและการประกอบอาชีพของราษฎรในพื้นที่ต่างๆ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงมีพระราชเสาวนีย์ให้ดำเนินการเป็นโครงการส่วนพระองค์ ในปี ๒๕๒๘ ใช้ชื่อว่า “โครงการศูนย์ศิลปาชีพเครื่องปั้นดินเผา” ในการฝึกอบรม ด้านเครื่องปั้นดินเผา เพื่อเป็นอาชีพเสริมแก่ราษฎรทางภาคใต้โดยใช้ทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ และมีหน่วยราชการ หลายหน่วยเข้าร่วมดำเนินการสนองพระมหากรุณาธิคุณ เช่น กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และพลังงาน, กองทัพภาคที่ ๔ และจังหวัดนราธิวาส

ลักษณะการดำเนินการ :

  • การผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา ดำเนินการเป็นประจำทุกวัน หยุดวันอาทิตย์ ๑ วัน ผลิตเป็นชิ้นงาน เป็นชุด และผลิตตามแผนงานของศูนย์และตามที่ทรงสั่ง 
  • การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ มีการจำหน่าย ณ ที่ศูนย์ศิลปาชีพ ออกงานนิทรรศการ การสาธิต การจำหน่ายในงานสำคัญๆ และส่งผลิตภัณฑ์ไปยังสวนจิตรลดา 
  • รายได้ของสมาชิกเป็นรายวันและราย เดือน

แผนผังโครงการ :

ผลการดำเนินการ :

  • จำนวนสมาชิก ชาย ๙ คน หญิง ๓๙ คน รวม ๔๘ คน 
  • ผลการปฏิบัติงานของสมาชิก มีงานเพิ่ม ตลอดยอดจำหน่ายมากขึ้น 
  • รายได้เฉลี่ย ๒,๕๐๐ – ๔,๙๐๐ บาท/ คน/เดือน

   

   


ติดต่อสถานี
-

สำนักงานสถานีเกษตร
โทร : -

สำหรับจองที่พัก
โทร : -

ศูนย์บริการข้อมูลนักท่องเที่ยว
โทร : -