๒๐ กันยายน ๒๕๖๗

โครงการอนุรักษ์สภาพป่าในพื้นที่บ้านซิแบร

บ้านซิแบร หมู่ ๗ ตำบลแม่ตื่น อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่


ที่มาของการต่อยอดโครงการ :

เมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๔๒ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้เสด็จฯ ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ และทรงเยี่ยมราษฎรที่ศูนย์ปฏิบัติการโครงการอนุรักษ์สภาพป่าในพื้นที่อำเภออมก๋อยด้านป่าไม้ ในตำบลม่อนจอง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีราษฎรหลายหมู่บ้านในตำบลแม่ตื่นและตำบลม่อนจอง ได้เดินทางมาเฝ้ารอรับเสด็จฯการเสด็จฯ เยี่ยมราษฎรในครั้งนี้ พระองค์ได้ทรงทราบถึงความยากจน และความขาดแคลน ข้าวที่จะใช้ในการบริโภคประจำวันของราษฎรกลุ่มบ้านซิแบรจำนวน ๔ หมู่บ้าน ประกอบด้วย บ้านซิแบร, บ้านปรอโพ หมู่ ๗, บ้านห้วยยาบ, บ้านห้วยขนุน หมู่ ๘ ตำบลแม่ตื่น จึงได้พระราชทานข้าวสาร เพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับราษฎรทั้ง ๔ หมู่บ้านดังกล่าว จำนวน ๕๐,๐๐๐ กิโลกรัม ซึ่งในขั้นต้นได้พระราชทานให้นำไปแจกจ่ายให้กับราษฎรไปแล้ว จำนวน ๑๐,๐๐๐ กิโลกรัม ต่อมาความได้ทราบ ฝ่าละอองธุลีพระบาทพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงมีพระราชกระแสรับสั่ง กับ พลโท สมหมาย วิชาวรณ์ แม่ทัพภาคที่ ๓ เมื่อวันศุกร์ ที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๔๒ เวลา ๑๘.๐๐ น. ณ ท่าอากาศยานทหารกองบิน ๔๑ จังหวัดเชียงใหม่ “ราษฎรบ้านซิแบร หมู่ ๗ ตำบลแม่ตื่น อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ มีฐานะยากจนขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ให้กองทัพภาคที่ ๓ พิจารณาหาทางช่วยเหลือทางด้านการเกษตร ตลอด จนการสาธารณสุข และการศึกษา” และได้ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งกับ พลเอก เทียนชัย จั่นมุกดา เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒ เวลา ๑๙.๓๐ - ๑๙.๕๕ น. ณ ท้องพระโรงชั้นล่างด้านทิศตะวันออก พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน “เอกสารรายละเอียดกองทุนข้าวเปลือก ๘๒ จุด จากแผนที่ตั้งและจำนวน ประชากร สมควรที่จะพิจารณาหาจุดเพื่อกำหนดจุดหาแหล่งน้ำ นำน้ำมาใช้เพื่อการเกษตรกรรม และให้มีความชุ่มชื้นครอบคลุมพื้นที่ขอให้สำรวจพื้นที่ดังกล่าวทำบ่อน้ำ, ที่เก็บน้ำ, สระน้ำ และอ่างน้ำ ตามขนาดความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ฝายน้ำล้นตามร่องแบบรับน้ำ เวลาฝนตกน้ำจะมารวมกันและเก็บน้ำ(นำบทเรียนเก่าๆ ที่ห้วยผีบ้า อำเภอปัว จังหวัดน่าน) มีภูเขา ๒ แห่ง ระหว่างกลางที่มีน้ำมารวมทำอ่างเก็บ น้ำไว้ใช้ และทำระบบส่งน้ำ นำน้ำไปใช้ต่อท่อส่งน้ำจากที่สูงทอดลงมาเป็นระยะ จนได้อ่างเก็บน้ำโตๆระบบฝายน้ำล้นตามขนาดพอเหมาะ ยุค IMF เอาถุง พลาสติกใส่ปุ๋ย (ราคาใบละ ๒ บาท) ใส่ดินทรายเรียงเป็นคันกั้นน้ำ ต่อจาก ยอดเขาสูงลงมาไม่เกิน ๑ กิโลเมตร หากสามารถเลือกหาสภาพที่เป็นร่องแบบน้ำไหลเป็นแนว (ห้วย) แล้วต่อ ลงมารวมกัน เป็นแหล่งรับน้ำเก็บไว้จะดี รวมน้ำเกิดความชุ่มชื้น มี หมอก เลือกหาที่ห่างที่จะทำให้เกิดประโยชน์ต่อการกสิกรรมและนำน้ำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาระหว่างพื้นที่ทำกินน้ำชุมชน ขอให้สำรวจและประสานร่วมกับกองทัพ, กรมป่าไม้, กรมชลประทาน,กรมพัฒนาที่ดิน, สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท, กรมวิชาการเกษตร, กรมการปกครอง ขอให้ร่วม ปรึกษาหารือกันและแจ้งให้ กปร. ด้วย” ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๐ และ ๑๖ มีนาคม ๒๕๔๒ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้เสด็จฯเยี่ยมราษฎร กลุ่มบ้านซิแบร ทรงมีพระราชเสาวนีย์กับเจ้าหน้าที่โครงการอนุรักษ์สภาพป่าในพื้นที่อำเภออมก๋อย และมีพระราชเสาวนีย์ผ่านทางราชเลขานุการในพระองค์ฯ ถึงเจ้าหน้าที่รับผิดชอบงาน สรุปได้ดังนี้

๑. ขอให้ช่วยเหลือบริโภคให้ทั้ง ๔ หมู่บ้าน

๒. จัดให้มีระบบน้ำเพื่อการเกษตรตลอดปี

๓. ขอให้จัดตั้งกลุ่มเลี้ยงเป็ดเทศ 

๔. ให้ปล่อยพันธุ์ปลาในแหล่งน้ำธรรมชาติ และบ่อน้ำสาธารณะ เพื่อเป็นแหล่งอาหารของหมู่บ้าน 

๕. ให้จัดสร้างโรงฝึกทอผ้าที่ บ้านซิแบร ดำเนินการฝึกอบรมราษฎรและจัดตั้งกลุ่มศิลปาชีพทอผ้า 

๖. ให้ส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งพันธุ์พื้นเมือง

๗. ให้ส่งเสริมการเลี้ยงกบแก่ราษฎร ๔ - ๕ ราย

๘. พิจารณาช่วยเหลือด้านการรักษาพยาบาล แก่ราษฎรด้วยและให้คัดเลือกตัวแทนราษฎรหมู่บ้านละ ๒ คน เข้ารับการอบรมความรู้ด้านการรักษาพยาบาลขั้นต้น และให้สร้างศาลารวมใจประจำ หมู่บ้านเป็นที่ทำงานของหมออาสาและเป็นที่เผยแพร่ความรู้ด้านต่างๆ ด้วย 

๙. ให้พิจารณาช่วยเหลือด้านการศึกษาแก่ ราษฎรในพื้นที่ 

๑๐. การปรับปรุงเส้นทางต้องไม่ดำเนินการ จนเกินความจำเป็น ให้รักษาสภาพธรรมชาติหรือสภาพเดิมไว้ 

๑๑. ขอให้ส่วนราชการมาคอยดูแลราษฎร และประจำในพื้นที่ เพื่อให้ความช่วยเหลือแนะนำ ด้านต่างๆ แก่ราษฎร

พระราชดำริเพิ่มเติมในปี ๒๕๔๖

ให้จัดหาพื้นที่บริเวณบ้านซิแบร ประมาณ ๑๐๐ ไร่ โดยให้พิจารณาจากพื้นที่ป่าที่ถูกแผ้วถางป่าไปแล้ว หรือพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม หรือที่สาธารณะประโยชน์เพื่อให้ราษฎรไว้เป็นที่ทำกิน โดยส่วนหนึ่งจัดเป็นพื้นที่ปลูกป่าไผ่ เพื่อให้ราษฎรได้นำไปใช้เป็น วัสดุในการจักสาน อีกส่วนหนึ่งใช้เป็นพื้นที่ให้ราษฎรในการทดลองเลี้ยงสัตว์ เช่น ไก่ เป็ดเทศ ปลาและเลี้ยงกบ

พระราชดำริเพิ่มเติม

๑. ให้จัดหาพันธุ์ปลาปล่อยในลำน้ำแม่ตื่น และลำน้ำแม่เมย 

๒. ให้พิจารณาเพิ่มชื่อแก่ราษฎรที่ตกหล่นใน ทะเบียนบ้าน และรับแจ้งเกิดเกินกำหนดแก่ราษฎรที่มิได้แจ้งเกิดตามกำหนดเวลา รวมทั้งพิจารณาให้สัญชาติแก่ราษฎรในพื้นที่ที่มีคุณสมบัติตามกฎหมาย 

๓. ให้ก่อสร้างกุฏิขนาดเล็ก จำนวน ๔ หลัง และศาลาขนาดเล็ก จำนวน ๑ หลัง ที่สำนักสงฆ์ บ้านซิแบร หมู่ ๗ ตำบลแม่ตื่น อำเภออมก๋อย โดยได้พระราชทานเงิน จำนวน ๒๐๐,๐๐๐ บาท เพื่อเป็นทุนทรัพย์ในการก่อสร้าง 

๔. ให้ก่อสร้างประปา บ้านห้วยขนุน และ บ้านห้วยยาบ หมู่ ๘ ตำบลแม่ตื่น อำเภออมก๋อย เพื่อช่วยเหลือราษฎรให้มีน้ำสะอาดอุปโภค - บริโภค

๕. ให้ส่งราษฎรที่เป็นสมาชิกศิลปาชีพจำนวน ๑๐๐ คน ไปฝึกศิลปาชีพที่พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ ในวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘

วัตถุประสงค์โครงการ :

เพื่อรักษาสภาพป่าที่ยังคงสมบูรณ์อยู่ มิให้ถูกทำลายต่อไปตลอดจนอนุรักษ์สัตว์ป่ารักษาสภาพแวดล้อม 

ฟื้นฟูสภาพป่าที่ถูกทำลายจนเสื่อมโทรม ให้คืนสู่สภาพป่าที่สมบูรณ์ดังเดิม โดยให้มีทั้งไม้ป่าธรรมชาติป่าไม้เศรษฐกิจและป่าไม้ใช้สอย โดยให้ราษฎรที่อาศัยอยู่ในป่าได้มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาและใช้ประโยชน์จากป่าไม้ต่างๆ ดังกล่าวให้เหมาะสม 

พัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของ ราษฎรให้ดีขึ้น ให้มีอาชีพและที่ทำกินเป็นหลักแหล่งและอยู่ร่วมอาศัยกับทรัพยากรป่าไม้อย่างสมบูรณ์

แผนผังโครงการ :

ผลการดำเนินการ :

- สถานภาพชุมชนร่วมโครงการฯ มีจำนวน ๔ หมู่บ้าน ๓๑๒ หลังคาเรือน ๓๓๕ ครอบครัว 

- สถานภาพของราษฎร มีจำนวนรวม ๑,๓๗๗ คน เป็นชาย ๖๙๕ คน หญิง ๖๘๒ คน ได้รับสัญชาติไทย จำนวน ๑,๓๗๗ คน ชาย ๖๙๕ คน หญิง ๖๘๒ คน


ติดต่อสถานี
-

สำนักงานสถานีเกษตร
โทร : -

สำหรับจองที่พัก
โทร : -

ศูนย์บริการข้อมูลนักท่องเที่ยว
โทร : -