๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๗

โครงการสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ ดอยม่อนล้าน

บ้านอาบอลาชา หมู่ ๑๑ ตำบล ป่าไหน่ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่


ที่มาของการต่อยอดโครงการ :

เมื่อวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๔๗ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรสภาพพื้นที่บริเวณดอยม่อนล้านเพื่อจัดตั้งสถานีพัฒนาการเกษตรพื้นที่สูงเป็นการหยุดยั้ง การทำลายป่าและพัฒนาคุณภาพชีวิตของ ชาวไทยภูเขาให้มีความรู้ด้านการเกษตร และจัดระเบียบชุมชนของหมู่บ้านให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นดอยม่อนล้านเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดของเขตป่าสงวนแห่งชาติแม่งัด อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติศรีลานนาและเป็นแหล่งกำเนิดของลำห้วยสาขาของลำน้ำ แม่สะลวงและลำน้ำห้วยโก๋น ซึ่งมีน้ำไหลตลอดปีสำหรับพื้นที่เตรียมการจัดตั้งโครงการสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูง ราษฎรในพื้นที่เป็นชาวเขาเผ่าอาข่า มีฐานะยากจนประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น ปลูกข้าวไร่ ข้าวโพด งา ขิง กะหล่ำปลี และ เลี้ยงสัตว์ เพื่อบริโภคในครัวเรือน แต่ผลผลิตที่ได้ไม่มาก เนื่องจากราษฎรขาดความรู้ด้านเกษตรกรรมอีกทั้งไม่มีความรู้ เกี่ยวกับการอนุรักษ์ดินและน้ำอย่างถูกวิธี ส่งผลให้มีรายได้ไม่มากประมาณครัวเรือนละ ๓,๕๐๐ บาทต่อปี ซึ่งภายหลังจากฤดูเก็บเกี่ยวแล้ว จึงต้องออกไปรับจ้างในตัวเมืองเพื่อหารายได้เพิ่มนอกจากนี้ราษฎรทั้ง ๓ หมู่บ้าน ยังไม่มีความรู้ในการดูแลสุขภาพอนามัย ทำให้ป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจและโรคผิวหนัง มีปัญหาไฟป่าอันเกิดจากการเตรียมพื้นที่และจำกัดวัชพืช เพื่อบุกเบิกพื้นที่ทำกินของราษฎร โดยไม่สามารถควบคุมได้ จึงก่อให้เกิดความเสียหายแก่พื้นที่ป่าธรรมชาติมากขึ้นทุกปี อีกทั้งทำให้ปริมาณน้ำในเขื่อนแม่งัดลดลง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อราษฎรชาวเชียงใหม่ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง จึงทรงมีพระราชดำริให้กองทัพภาคที่ ๓ และสำนักบริหารจัดการในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ๑๖ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้ามาเร่งดำเนินการฟื้นฟูสภาพป่าและส่งเสริมอาชีพแก่ราษฎรด้วยการปลูกข้าวไร่แบบขั้นบันได เพื่อให้ได้ผลผลิตพอเพียงต่อการบริโภคตลอดปี พร้อมทั้งทรงเน้นให้ใช้พื้นที่ที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์ทาง การเกษตร เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมอาหารรวมทั้งให้จัดจ้างแรงงานราษฎรในพื้นที่เพื่อให้มีรายได้เสริม นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้ความรู้การทำเกษตรอย่างถูกวิธีโดยเน้นไม่ให้ใช้สารเคมี และส่งเสริมการเลี้ยงแกะ ที่ต้านทานโรคและยังชีพได้ดีในพื้นที่สูง เพื่อนำขนแกะมาผลิตเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มกันหนาว และปลูกจิตสำนึกให้ราษฎรอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่าให้กลับมาสมบูรณ์ดังเดิมด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต ทรงส่งเสริมให้สร้างความเข้าใจในลักษณะปฏิบัติการเชิงจิตวิทยาเบื้องต้นเน้นการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทย เพื่อปลูกฝังให้รักและหวงแหนถิ่นฐานบ้านเกิด ตลอดจนร่วมมือกันสร้างชุมชนให้เข้มแข็งเพื่อป้องกันและสกัดกั้นการลำเลียงยาเสพติดตามแนวชายแดนด้วย


วัตถุประสงค์โครงการ :

- เพื่อสนับสนุนโดยการประสานงานและ การคุ้มครองป้องกันชุมชน ให้หน่วยงานร่วมโครงการฯตลอดจนราษฎรในโครงการให้สามารถดำเนินกิจกรรมให้เป็นไปตามแนวทางพระราชดำริ สอดคล้องกับ วัตถุประสงค์หลักของโครงการฯ ซึ่งได้แก่ 

  • จัดตั้งสถานีทดลองเกษตรในที่สูง เพื่อใช้พื้นที่ที่ถูกแผ้วถางแล้วมาทำประโยชน์ให้เกิดผลผลิตสูงสุด เป็นตัวอย่างแก่ราษฎรที่เข้าร่วมโครงการฯ 
  • ฟื้นฟูสภาพป่าเสื่อมโทรม ให้กลับ คืนสภาพเป็นป่าที่สมบูรณ์ดังเดิม 
  • อนุรักษ์สภาพป่าไม้ และพันธุ์สัตว์ป่า ที่ยังมีเหลืออยู่ในพื้นที่ป่าโดยให้ราษฎรได้มีส่วนร่วมในลักษณะของการฝึกราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า 
  • ฝึกอบรมเกษตรแบบครบวงจร เพื่อ ให้ราษฎรเรียนรู้การใช้ที่ดินที่มีจำกัดให้เกิดผลผลิตที่เพียงพอต่อการเลี้ยงตนเองได้ รวมทั้งให้เรียนรู้การบริหารจัดการในการทำโครงการเกษตรปลอดสารเคมีและยาฆ่าแมลง เรียนรู้ด้านการตลาดด้วยการรวม กลุ่มในรูปแบบของสหกรณ์ การแปรรูปผลผลิตการเกษตร ให้เป็นเกษตรอุตสาหกรรม เพื่อให้ได้มูลค่าเพิ่มขึ้น 
  • ช่วยให้ราษฎรมีงานทำและมีรายได้ เพื่อสนับสนุนรัฐบาล ในการแก้ไขปัญหาการว่างงานการกระจายรายได้ไปสู่ราษฎรในชนบทที่ยังอยู่ใต้เส้นระดับยากจน และนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 

- เพื่อลดปัญหาที่มีผลกระทบต่อความ มั่นคงในพื้นที่ด้วยการเคลื่อนไหวในพื้นที่การปฏิบัติการจิตวิทยา การประชาสัมพันธ์ และการปลูกจิตสำนึกการมีส่วนร่วม และสร้างความเข้มแข็งให้เกิดแก่ชุมชนในพื้นที่รับผิดชอบโดยเฉพาะงานการป้องกันและสกัดกั้นการแพร่ระบาดของยาเสพติดจากภายนอกประเทศ

แผนผังโครงการ :

ผลการดำเนินการ :

- สถานภาพของราษฎรร่วมโครงการฯ มี จำนวน ๕๓๕ คน เป็นชนเผ่าอาข่าเป็นชาย ๒๗๒ คน หญิง ๒๖๓ คน ได้รับสัญชาติไทย จำนวน ๔๔๕ คน ชาย ๒๓๔ คน หญิง ๒๑๑ คน

- สถานะบุคคลบนพื้นที่สูง จำนวน ๖๙ คน ชาย ๓๒ คน หญิง ๓๗ คน ไม่ปรากฏสถานะ จำนวน ๒๑ คน ชาย ๖ คน หญิง ๑๕ คน


ติดต่อสถานี
-

สำนักงานสถานีเกษตร
โทร : -

สำหรับจองที่พัก
โทร : -

ศูนย์บริการข้อมูลนักท่องเที่ยว
โทร : -