๒๐ กันยายน ๒๕๖๗

ศูนย์การพัฒนาพื้นที่ชายแดนจังหวัดสุรินทร์

บ้านน้อยร่มเย็น ตำบลกาบเชิง อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร


ที่มาของการต่อยอดโครงการ :

จังหวัดสุรินทร์ มีอาณาเขตตามแนวชายแดนใต้ สุด ติดต่อกับประเทศกัมพูชา ตามเทือกเขาพนมดงรักเป็นระยะทาง ๑๓๐ กิโลเมตร พื้นที่ตามแนวชายแดนเป็นพื้นที่ราบเชิงเขาที่เคยมีความอุดมสมบูรณ์เป็นเขตที่อยู่อาศัยของประชาชนที่มีความหนาแน่นและกระจัดกระจายตามพื้นที่แนวชายแดนจังหวัดสุรินทร์เป็นเขตต้นน้ำลำธารสาขาหลักกลุ่มน้ำมูลที่สำคัญหลายสาย คือ ลุ่มน้ำชี ลุ่มน้ำห้วยทับทัน และลุ่มน้ำ ห้วยสำราญ ซึ่งลุ่มน้ำสาขาเหล่านี้ได้หล่อเลี้ยงพื้นที่เพาะปลูกช่วยเหลือราษฎรฝั่งขวาของลำน้ำมูลในเขตของ จังหวัดสุรินทร์ทั้งหมดรวมทั้งได้หล่อเลี้ยงพื้นที่บางส่วนของจังหวัดศรีสะเกษ การอยู่อย่างกระจัดกระจายของราษฎรบริเวณชายแดนที่ค่อนข้างห่างไกลเหล่านี้เป็นเหตุให้มีการหักร้างถางป่าเพื่อยึดพื้นที่ไว้ทำกิน ป่าไม้บริเวณชายแดน จังหวัดสุรินทร์ซึ่งเคยมีความอุดมสมบูรณ์มาก่อนเกิดความเสื่อมโทรมอย่างรวดเร็วจึงส่งผลกระทบถึงความ เสื่อมโทรมของที่ทำการเกษตรกรรมการขาดแคลนน้ำประกอบกับการขาดความรู้ในการประกอบอาชีพของราษฎรจึงเป็นต้นเหตุของความยากจนประกอบอาชีพไม่พอกินมีคุณภาพชีวิตต่ำ ในห้วงมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในประเทศกัมพูชาตั้งแต่ปี ๒๕๑๘ เป็นต้นมา พื้นที่จังหวัดสุรินทร์เป็นพื้นที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ค่อนข้างรุนแรงเช่นเดียวกับพื้นที่อื่น กองกำลังต่างชาติร่วมกับคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยได้เข้ามารบกวนทำร้ายจับกุมกวาดต้อนเผาทำลายทรัพย์สินของหมู่บ้านบริเวณชายแดน จังหวัดสุรินทร์ หลายหมู่บ้าน เช่น บ้านโอทะลัน, บ้านตระเวง, บ้านทำนบ, บ้านขยอง, บ้านคะนา, บ้านกะเลงเวก, บ้านตาเกาว์ และ บ้านโนนทอง รวมทั้งหมู่บ้านที่กระจัดกระจายอยู่ห่างไกลและกลุ่มเล็กๆ อีกหลายกลุ่มเป็นเหตุให้บ้านเรือนราษฎรทุกหมู่บ้าน โรงเรียน สถานที่ราชการ ถูกเผา ทำลายทั้งหมด ราษฎรจึงอพยพหลบหนีภัยกลายเป็นคนไทยทิ้งถิ่นต้องไปอาศัยราษฎรหมู่บ้านอื่นๆ ไม่มีพื้นที่ทำกินเป็นสาเหตุให้มีความอดอยากและทุกข์ยากอย่างแสนสาหัสในห้วงนั้น การเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ในกัมพูชาครั้งต่อมาเมื่อ ต้นปี ๒๕๒๒ พื้นที่ชายแดนจังหวัดสุรินทร์ ต้องกลายเป็นที่รองรับผู้อพยพหลบหนีภัยสงครามจากนอกประเทศอีกครั้งหนึ่งมีผู้อพยพชาวกัมพูชาเข้ามาอาศัยกว่าแสนคนประกอบกับการสู้รบบริเวณชายแดนด้านจังหวัดสุรินทร์ได้มีระดับความรุนแรงมากขึ้นๆ จนถึงห้วงระยะปี ๒๕๒๗ ถึง ๒๕๓๐ ได้มีการล่วงล้ำอธิปไตยจากกำลังภายนอกประเทศเกิดการสู้รบบริเวณชายแดน ประชาชนได้รับผลกระทบจากการสู้รบพื้นที่ ชายแดนไม่มีความปลอดภัย ประชาชนไม่สามารถออกไปประกอบอาชีพห่างไกลหมู่บ้าน จึงทำให้ประชาชนบริเวณชายแดนจังหวัดสุรินทร์ มีความ อดอยากเพิ่มขึ้นเป็นภัยซ้ำเติมที่ส่งผลกระทบต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ผลกระทบจากการกระทำของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ และกองกำลังภายนอกประเทศตามห้วงเวลาดังกล่าว กองกำลังสุรนารีกองทัพภาคที่ ๒ จึงได้ร่วมกับส่วนราชการต่างๆ ของฝ่ายพลเรือนได้ดำเนินการช่วยเหลือราษฎรโดยต่อ เนื่องมาตั้งแต่ ปี ๒๕๒๒ โดยได้ดำเนินงานพัฒนาตามโครงการหมู่บ้านป้องกันตนเองชายแดนบริเวณพื้นที่ด้าน อำเภอกาบเชิง อำเภอสังขะ และอำเภอบัวเชด การดำเนินงาน

แผนผังโครงการ :

ผลการดำเนินการ : พื้นที่ดำเนินการ ทั้งหมด ๑ อำเภอ, ๒ ตำบล, ๗ หมู่บ้าน ดังนี้ 

๑. สมาชิกทำนาภายในศูนย์ฯ มี ๑ อำเภอ ๑ ตำบล ๑ หมู่บ้าน คือ 

- บ้านน้อยร่มเย็น หมู่ ๘ ตำบลกาบเชิง อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ จำนวน ๙ ราย

๒. สมาชิกกลุ่มเลี้ยงไหม มี ๑ อำเภอ, ๑ ตำบล, ๔ หมู่บ้าน ดังนี้.- 

- บ้านสนวน หมู่ ๓, ๑๖ ตำบลด่าน อำเภอ กาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ จำนวน ๓ ราย (สมาชิกเลี้ยงไหมส่งโครงการส่งเสริมศิลปาชีพ อำเภอบัวเชด จำนวน ๑๕ ราย) 

- บ้านโพนทอง หมู่ ๖ ตำบลด่าน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ จำนวน ๓๑ ราย (สมาชิกเลี้ยงไหมส่งโครงการส่งเสริมศิลปาชีพ อำเภอบัวเชด จำนวน ๑๘ ราย)

- บ้านหนองสมบูรณ์ หมู่ ๗ ตำบลด่าน อำเภอ กาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ จำนวน ๑๓ ราย

- บ้านโนนสำราญ ตำบลด่าน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ จำนวน ๑๗ ราย 

๓. สมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำ มี ๑ อำเภอ ๑ ตำบล ๑ หมู่บ้าน คือ 

- บ้านด่าน หมู่ ๑, ๘, ๑๒, ๑๔ ตำบลด่าน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ จำนวน ๔๒๑ ราย 

๔. สมาชิกเกษตรทฤษฎีใหม่ มี ๑ อำเภอ ๑ ตำบล ๑ หมู่บ้าน



ติดต่อสถานี
-

สำนักงานสถานีเกษตร
โทร : -

สำหรับจองที่พัก
โทร : -

ศูนย์บริการข้อมูลนักท่องเที่ยว
โทร : -