ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพอีสานใต้
บ้านตะตึงไถง หมู่ ๕ ตำบลนอกเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
ที่มาของการต่อยอดโครงการ :
เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งกับพลตรี สนั่น มะเริงสิทธิ์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการกองกำลังสุรนารี ณ พระตำหนักจิตรดารโหฐาน และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพในพื้นที่อีสานตอนล่าง ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพอีสานใต้ ได้จัดตั้งขึ้น ในปี พ.ศ.๒๕๓๘ ณ บ้านตะตึงไถง ตำบลนอกเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ บนเนื้อที่ ๙๓ ไร่ เพื่อเป็นโครงการเฉลิมฉลองเทิดพระเกียรติคุณ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเนื่องในวโรกาสทรงครองศิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี ในปี พุทธศักราช ๒๕๓๙ กองกำลังสุรนารี และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๒ ส่วนแยก ๒ ในระยะเริ่มแรกได้ประสานงานกับ จังหวัดสุรินทร์ ในการจัดตั้ง องค์การบริหารโครงการ จังหวัดสุรินทร์ จึงได้ประสานงานกับกระทรวงมหาดไทยเพื่อขอใช้พื้นที่ จัดตั้งศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพโดยขอใช้ประโยชน์จากพื้นที่ป่าเปาะโปย มีเนื้อที่ ๙๓ ไร่ ๓ งาน ตั้งอยู่ที่ บ้านตะตึงไถง ตำบลนอกเมือง อำเภอเมือง จังหวัด สุรินทร์ ใช้ชื่อว่า “ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพอีสานใต้” ครอบคลุมการดาเนินงานในพื้นที่ภาคอีสานตอนล่างทั้ง ๗ จังหวัด ได้แก่ สุรินทร์, บุรีรัมย์, ศรีสะเกษ, อุบลราชธานี, อำนาจเจริญ, ยโสธร และจังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีจังหวัดสุรินทร์ เป็นหน่วยงานหลักใน การจัดตั้งองค์การบริหารโครงการมีมหาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาลัยเขตสุรินทร์ เป็นหน่วยงานหลักในการอบรมวิชาชีพเกษตรกรรมทุกสาขา ศูนย์การศึกษาจังหวัดสุรินทร์ รับผิดชอบกิจกรรมพัฒนาเกี่ยวข้องตามหน้าที่ปกติ และกรมพัฒนาฝีมือแรงงานรับผิดชอบกิจกรรมวิชาชีพ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาการฝึกบุคลากรให้กับราษฎรในพื้นที่ภาคอีสานตอนล่างให้สามารถประกอบอาชีพตามแต่ละสาขาที่จัดฝึกอบรมขึ้น
แผนผังโครงการ :
ผลการดำเนินการ :
ประเภทสมาชิก
สมาชิกทอผ้าไหมตามพระราชเสาวนีย์
- ตำบลแกใหญ่ อำเภอเมือง จำนวน ๔๕ ราย
- ตำบลตาอ็อง อำเภอเมือง จำนวน ๗ ราย
สมาชิกสมทบ
- ตำบลแกใหญ่ อำเภอเมือง จำนวน ๒๑ ราย
- ตำบลลำดวน อำเภอลำดวน จำนวน ๑๘ ราย
- ตำบลเขวาสินรินทร์ อำเภอเขวาสินรินทร์ จำนวน ๑ ราย
- ตำบลบะ อำเภอท่าตูม จำนวน ๑ ราย
สมาชิกเกษตรทฤษฎีใหม่
- ตำบลนอกเมือง อำเภอเมือง จำนวน ๑๓ ราย
สมาชิกผู้ป่วยในพระบรมราชานุเคราะห์ จำนวน ๒ ราย
ประเภทกิจกรรมที่ดำเนินการ
ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จำนวน ๖๐ ราย
ทอผ้าไหม จำนวน ๙๓ ราย
เศรษฐกิจพอเพียง จำนวน ๑๓ ราย
สถานภาพนักเรียนในพระบรมราชานุเคราะห์ จำนวน - ราย
สถานภาพผู้ป่วยในพระบรมราชานุเคราะห์ จำนวน ๒ ราย
ติดต่อสถานี
-
สำนักงานสถานีเกษตร
โทร : -
สำหรับจองที่พัก
โทร : -
ศูนย์บริการข้อมูลนักท่องเที่ยว
โทร : -