โครงการส่งเสริมศิลปาชีพ บ้านสานแว้ – นาโคกกุง
บ้านนาโคกกุง หมู่ ๓ ตำบลกกตูม อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร
ที่มาของการต่อยอดโครงการ :
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้ทรง ทราบถึงความยากจนมีรายได้น้อยของราษฎรในกลุ่มหมู่บ้านสานแว้, บ้านนาโคกกุง, บ้านคำผักกูด ตำบลกกตูม อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร จึงได้เสด็จฯมาทรงเยี่ยมราษฎรด้วยพระองค์เอง เมื่อวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๓๕ เสด็จโดยเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง ลงที่สนาม เฮลิคอปเตอร์ชั่วคราว โรงเรียนบ้านสานแว้และเสด็จฯ ไปทรงงานที่สำนักสงฆ์ภูผาผึ้ง ทรงใช้เป็นที่ประทับทรงงานชั่วคราวได้ทรงพระราชทานทรัพย์เป็นทุนในการส่งเสริมอาชีพการทอผ้าไหม, ทุนการศึกษาแก่เด็กนักเรียน และทรงรับราษฎรที่เจ็บป่วยไว้เป็นคนไข้ในพระบรมราชานุเคราะห์ พร้อมทั้งทรงพระราชทานถุงของขวัญ ให้แก่ผู้สูงอายุในหมู่บ้านสานแว้ และหมู่บ้านใกล้เคียงอย่างทั่วถึง
ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของ พระองค์ท่าน กองทัพภาคที่ ๒ ร่วมกับอำเภอดงหลวง และจังหวัดมุกดาหาร ได้จัดตั้งโครงการส่งเสริมศิลปาชีพบ้านสานแว้ – นาโคกกุง ขึ้นเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติแด่ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงเนื่องในวโรกาสมหามงคลสมัยเฉลิม พระชนมพรรษา ครบ ๕ รอบ ในวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๓๕ โดยการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร ทหารพราน, อาสาสมัคร และพลเรือน
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรง เสด็จฯ เยี่ยมสมาชิกและราษฎรในพื้นที่โครงการฯ บ.สานแว้ – นาโคกกุง จำนวน ๕ ครั้ง ดังนี้.
- ครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๓๕
- ครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๓๖
- ครั้งที่ ๓ เมื่อ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๓๗
- ครั้งที่ ๔ เมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๐
- ครั้งที่ ๕ เมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๑
อาณาเขตพื้นที่ :
ทิศเหนือ ติดกับ บ้านภูผาผึ้ง ตำบลกกตูม อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร
ทิศใต้ ติดกับ บ้านสานแว้ ตำบลกกตูม อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร
ทิศตะวันออก ติดกับ บ้านคำผักกูด ตำบลกกตูม อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร
ทิศตะวันตก ติดกับ อ่างเก็บน้ำห้วยคะพุง ตำบลกกตูม อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร
แผนผังโครงการ :
ผลการดำเนินการ : กำหนดยุทธศาสตร์ ๓ ยุทธศาสตร์ คือ
- ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การพัฒนาคุณภาพชีวิตและ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน
- ยุทธศาสตร์ที่ ๒ การพัฒนาฝีมือและผลิตภัณฑ์ ผ้าพื้นเมือง
- ยุทธศาสตร์ที่ ๓ การบริหารจัดการแบบมี ส่วนร่วม
สมาชิกโครงการฯ
- กลุ่มทอผ้าไหม จำนวน ๒๔๕ คน
- กลุ่มทอผ้าพื้นเมือง จำนวน ๑๐๐ คน
- กลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จำนวน ๓๔ คน
- กลุ่มแกะสลักและจักสาน จำนวน ๗๒ คน
- กลุ่มงานปักผ้า จำนวน ๓๙๗ คน
ติดต่อสถานี
-
สำนักงานสถานีเกษตร
โทร : -
สำหรับจองที่พัก
โทร : -
ศูนย์บริการข้อมูลนักท่องเที่ยว
โทร : -