๒๐ กันยายน ๒๕๖๗

โครงการศิลปาชีพอำ เภอละหานทราย

บ้านผไทรวมพล หมู่ ๑๑ ตำบลหนองแวง อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย


ที่มาของการต่อยอดโครงการ :

พ.ศ.๒๕๒๑ พื้นที่โครงการเป็นพื้นที่ป่าสงวน แห่งชาติมีราษฎรจากหลายท้องที่อพยพเข้ามาถากถาง เป็นที่อยู่อาศัยและที่ทากิน รวมกลุ่มเป็นหมู่บ้านบาระแนะ จนถึงห้วงปี พ.ศ.๒๕๒๑–๒๕๒๕ เกิดสถานการณ์การสู้รบกับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์และมีการรุกล้ำอธิปไตยของกองกาลังต่างชาติซึ่ง สนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ทำให้ราษฎรในพื้นที่ได้รับความเดือดร้อน จนถึงขั้นต้องอพยพหนีภัยออกจากพื้นที่ ส่งผลต่อความมั่นคงของประเทศ ในปี พ.ศ.๒๕๒๕ - ๒๕๒๙ กองทัพภาคที่ ๒ โดยกองกำลังสุรนารีจึงได้นำโครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคง ตามแนวคิดที่ต้องการสร้างความมั่นคง ของประเทศโดยการสกัดกั้นการปฏิบัติการของฝ่าย ตรงข้าม ด้วยการใช้คนเป็นรั้วต้านทานตามแนวพระราชดำริ ซึ่งเรียกว่าโครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงพื้นที่อำเภอละหานทราย (พพม.) ตามโครงการหมู่บ้านป้องกันตนเองชายแดนไทย–กัมพูชา (ปชด.) โดยร่วมกับสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม จังหวัดบุรีรัมย์ (สปก.) จัดตั้งชุมชนที่มั่นคล้ายทหารในพื้นที่รอยต่อระหว่างกองทัพภาคที่ ๒ กับกองทัพภาคที่ ๑ ซึ่งรวมเนื้อที่บริเวณบ้านบาระแนะเดิมด้วย โดยได้จัดตั้งหมู่บ้านใหม่รวม ๔ หมู่บ้าน และจัดให้มีทหารกองหนุน อาสาสมัครทหารพราน อาสาสมัครรักษา ดินแดน (อส.) สมาชิกคนพิการในหมู่บ้านสายใจไทยและเกษตรกรก้าวหน้า (บัณฑิตอาสา) เข้าอยู่อาศัยในเริ่มแรกโครงการไทย – เยอรมัน ได้สนับสนุนงบประมาณในการสร้างที่อยู่อาศัย มีรายละเอียดของหมู่บ้านต่างๆ ดังนี้ 

  

บ้านศรีทายาท หมู่ที่ ๘ (บ้านบาระแนะหนึ่ง) คัดเลือกบุตรหลานของราษฎรในหมู่บ้านเดิมที่ขยายมาจากบ้านหนองหว้า บ้านหนองตาเยา บ้านหนองแวงและบ้านหงอนไก่ โดยจัดที่อยู่อาศัยให้ครอบครัวละ ๑ ไร่ ที่ดินทำกินครอบครัวละ ๑๕ ไร่ นาเสริม ๒ ไร่ ที่ดิน บริเวณหนองบอน ๕ ไร่ (ได้บางคน) รวมมีที่ดินทำกินครอบครัวละ ๒๒ ไร่ จำนวน ๒๐๐ ครอบครัว มีอ่างเก็บน้ำ ๑ แห่ง โรงเรียน ๑ แห่ง สถานีอนามัย ๑ แห่ง และสำนักสงฆ์ ๑ แห่ง

บ้านราษฎร์รักแดน หมู่ที่ ๙ (บ้านบาระแนะสอง) คัดเลือกบุตรหลานของราษฎรจากหมู่บ้าน ปชด. อ.บ้านกรวด โดยจัดที่อยู่อาศัยให้ครอบครัวละ ๑ ไร่ ที่ดินทำกิน ๑๕ ไร่ นาเสริม ๒ ไร่ รวมที่ดินทำกิน ครอบครัวละ ๑๗ ไร่ จำนวน ๒๐๐ ครอบครัวมีอ่าง เก็บน้ำ ๑ แห่ง โรงเรียน ๑ แห่ง สถานีอนามัย ๑ แห่ง และสำนักสงฆ์ ๑ แห่ง 

บ้านแท่นทัพไทย หมู่ที่ ๑๐ (บ้านบาระแนะสาม) คัดเลือกบุตรหลาน ของราษฎรจากหมู่บ้าน ปชด. อำเภอละหานทราย (จาก บ้านโนนดินแดง ปัจจุบัน ขึ้นกับอำเภอโนนดินแดง) โดยจัดที่อยู่อาศัยให้ ครอบครัวละ ๑ ไร่ ที่ดินทำกิน ๑๕ ไร่ นาเสริม ๒ ไร่ นาถาวร ๒ ไร่ รวมมีที่ดินทำกินครอบครัวละ ๑๙ ไร่ จำนวน ๒๐๐ ครอบครัว มีอ่างเก็บน้ำ ๑ แห่ง โรงเรียน ๑ แห่ง และ สำนักสงฆ์ ๑ แห่ง

บ้านผไทรวมพล หมู่ที่ ๑๑ (บ้านบาระแนะสี่) ทางราชการได้คัดเลือก พลเรือน ทหาร ตำรวจ ที่เคยปฏิบัติหน้าที่เพื่อประเทศชาติเข้าอยู่อาศัย โดยจัดที่อยู่อาศัยให้ ๑ ไร่ ที่ดินทำกิน ๑๕ ไร่ นาเสริม ๒ ไร่ นา ถาวร ๒ ไร่ ที่ดินบริเวณหนองบอน ๕ ไร่ (ได้บางคน) ที่ นา ๗.๕ ไร่ (ได้บางคน) รวมแล้วมีที่ดินทำกิน ครอบครัวละ ๒๒ ไร่เศษ จำนวน ๒๐๐ ครอบครัว มี อ่างเก็บน้ำ ๑ แห่ง โรงเรียน ๑ แห่ง และสำนักสงฆ์ ๑ แห่ง ซึ่งทั้ง ๔ หมู่บ้านได้มีการจัดตั้งเป็นหมู่บ้านตามพระราชบัญญัติปกครองท้องที่ ขึ้นกับตำบลหนองแวง อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ ในปี ๒๕๒๙ และ ได้รับการจัดตั้งเป็นหมู่บ้านป้องกันตนเองชายแดน (ปชด.) และหมู่บ้านอาสาป้องกันตนเอง (อพป.) 

ครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๔๐ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรบ้านผไทรวมพล ที่โรงเรียนบ้านผไทรวมพล มีพระราชเสาวนีย์ต่อหน่วยงานส่วนราชการจนเกิดเป็นโครงการ ดังนี้ พระราชเสาวนีย์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง “ข้าพเจ้ามีความยินดีมากที่ได้มีโอกาสมาเยี่ยม หมู่บ้านชายแดน ที่จังหวัดบุรีรัมย์ นี้ ความจริงเป็น พระราชนโยบายตลอดมา ที่จะสนับสนุนหมู่บ้านชายแดน ให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น มีรับสั่งว่า เพราะว่าคนไทยที่อยู่หมู่บ้านชายแดนเป็นผู้มีคุณต่อประเทศชาติ ได้ร่วมกัน ร่วมทุกข์ ร่วมสุข ป้องกันชาติบ้าน เมืองตลอดมา ครั้งนี้จึงเป็นโอกาสที่เหมาะในระหว่าง บ้านเมืองร่มเย็นขึ้น ที่ข้าพเจ้าเป็นผู้แทนพระองค์ มาเยี่ยมเหล่าสมาชิกของหมู่บ้านป้องกันตนเองที่ ชายแดน ข้าพเจ้าตั้งใจที่จะมาถามทุกข์ สุข และเผื่อว่าจะมาช่วยในสิ่งใดก็ตาม ให้ความรู้ ให้อาชีพเสริมที่จะให้อยู่เย็นเป็นสุขขึ้น ข้าพเจ้าก็ยินดี วันนี้จึงขอให้ทุกคนเข้าใจว่ามีปัญหาอะไรเกี่ยวกับการครองชีพข้าพเจ้าในฐานะพระราชินี และในฐานะผู้ดูแลมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ก็ยินดีจะช่วยพวกท่านทั้งหลาย ขอให้ท่านมีความสุข มีความสวัสดีตลอดไป” 

มีพระราชเสาวนีย์ให้รองปลัดกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ (ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี) ติดตามดูแลและพัฒนาหมู่บ้านให้เป็นหมู่บ้านผลิตอาหารเพื่อให้ราษฎรมีสัตว์น้ำบริโภคตลอดปี และมีอาชีพการเลี้ยงปลา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้ประชุม ปรึกษาหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๔๐ และมีมติให้มีการดำเนินงาน“โครงการแหล่งผลิตอาหารอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ”ขึ้น มีพระราชเสาวนีย์ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันให้ความช่วยเหลือราษฎรในหมู่บ้านตามแนวชายแดนพร้อมกับให้จัดตั้งโครงการส่งเสริมศิลปาชีพขึ้น โดยในขั้นต้นได้รับราษฎรไว้เป็นสมาชิกโครงการส่งเสริมศิลปาชีพ จำนวน ๘๐ คน และได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ให้เป็นทุนในการดำเนินงานคนละ ๙,๐๐๐ บาท โดยให้มีกิจกรรมที่ดำเนินงานในขณะนั้นได้แก่ การจัดตั้งกลุ่มทอผ้าไหมจำนวน ๔ หมู่บ้าน (สมาชิก ๕๔ ราย), จัดตั้งโครงการส่งเสริมการเลี้ยงไหม และการสร้างอาคารโครงการที่ศูนย์พัฒนาน้ำใจ นอกจากนี้ยังได้รับผู้ป่วยเข้าเป็นผู้ป่วยในพระบรมราชานุเคราะห์จำนวน ๑๗ คน ซึ่งในการดำเนินการต่อมาได้มีการแต่งตั้งคณะทำงาน ดำเนินการโครงการแยกกันเป็นสองโครงการ โดยในระดับจังหวัดมี ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานคณะทำงาน ในระดับอำเภอ มีนายอำเภอเป็นประธานคณะทำงานมีส่วนราชการต่างๆ เป็นคณะทำงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด/อำเภอ เป็นคณะทำงานและเลขานุการ หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ ๒๖ ทำหน้าที่ในการประสานงานโครงการกับคณะทำงาน ดำเนินการโครงการส่งเสริมศิลปาชีพ อำเภอละหานทราย

ครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๔๕ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้เสด็จพระราชดำเนิน และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มาเยี่ยมราษฎรในโครงการ ณ โครงการส่งเสริมศิลปาชีพอำเภอละหานทราย ทรงมีพระราชดำริกับ นายเฉลิมเกียรติ แสนวิเศษ รองเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดาริ (กปร.) และ หัวหน้าส่วนราชการว่า ขอให้ร่วมกันเป็นคณะทำงานเพื่อช่วยกันหาวิธีการพัฒนาหมู่บ้านทั้ง ๔ หมู่บ้าน ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีการประกอบอาชีพที่ยั่งยืนเป็นแหล่งผลิตอาหาร และรับสั่งให้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เสด็จฯ ไปทอดพระเนตรสภาพ หมู่บ้านยากจนที่สุดใน ๔ หมู่บ้าน คือ บ้านศรีทายาท เพื่อหาหนทางช่วยเหลือ ภายหลังจากการเสด็จฯ กลับท่านผู้หญิง มนัสนิตย์ วณิกกุล ราชเลขานุการในพระองค์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้มีหนังสือจากสำนักราชเลขาธิการ ลง ๓ ธันวาคม ๒๕๔๕ ถึงเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อ ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) เรื่อง ทรงมีพระราชดำริให้มีการพัฒนาหมู่บ้าน ชายแดน ๔ หมู่บ้าน

   

วัตถุประสงค์โครงการ :

เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับราษฎรในพื้นที่ของ ตำบลหนองแวง และพื้นที่ใกล้เคียงให้เกิดความมั่นคงและมีอาชีพเสริมจากการทำนา, ทำไร่ ซึ่งเป็นอาชีพหลัก โดยการแนะนำจากหน่วยงานของรัฐและเอกชนในการเพิ่มอาชีพเสริมให้ เช่น การปลูกหม่อน การเลี้ยงไหม การทอผ้าไหม ทำให้ราษฎรมีรายได้เพิ่มเป็นจำนวนมากทำให้เกิดความรู้ในพัฒนาชีวิตลดปัญหา สังคมต่างๆ ความเป็นอยู่ดีขึ้น

เพื่อธำรงรักษาฟื้นฟูหัตถกรรมแบบไทย โบราณ ซึ่งกาลังจะเสื่อมศูนย์ไปตามกาลเวลาให้กลับมาเผยแพร่ เช่นการทอผ้าไหมมัดหมี่แบบโบราณ

เพื่อให้เกิดจิตสานึกรักบ้านเกิดไม่ทอด ทิ้งบ้านเกิดไปทำงานต่างจังหวัดเกิดความรักความสามัคคีต่อชุมชนเกิดความรักหวงแหนบ้านเกิด 

เพื่อให้สมาชิกได้รับความรู้ตามแนวปรัชญา เศรษฐกิจแบบพอเพียง 

เพื่อให้ครอบครัวอยู่ได้อย่างยั่งยืนและ พึ่งตนเองได้มีความสุขเกิดความมั่นคงต่อประเทศชาติ ติดตามตรวจสอบอาการ สภาพความเป็นอยู่ และให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยในพระบรมราชานุเคราะห์ หากตรวจพบว่ายังมีอาการป่วยก็นำเข้ารับการบริการและ การรักษาพยาบาล แนะนำการปฏิบัติตัวขณะรักษา ตัวอยู่ที่บ้านเพื่อให้ถูกสุขลักษณะ

แผนผังโครงการ :


ผลการดำเนินการ : มีสมาชิก ๖๙ คน อำเภอละหานทราย จังหวัด บุรีรัมย์ (๕๘ คน), อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ (๘ คน), อำเภอปะคา จังหวัดบุรีรัมย์ (๑ คน), อำเภอชานิ จังหวัดบุรีรัมย์ (๑ คน), อำเภอลาทะเมนชัย จังหวัดนครราชสีมา (๑ คน)

กิจกรรมส่งเสริมศิลปาชีพ: ตามพระราชเสาวนีย์ 

ได้แก่

 - กลุ่มทอผ้าไหม: สมาชิก ๖๘ คน

 - กลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหม: สมาชิก ๑๒๐ คน

กิจกรรมส่งเสริมปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ภายในโครงการ โดยมีกิจกรรม ธนาคารจุลินทรีย์ อีเอ็ม, ทำปุ๋ยจุลินทรีย์ อีเอ็ม, เลี้ยงปลาในบ่อดิน, ปลูกพืชผักสวนครัวรั้วกินได้, ปลูกแก้วมังกร,การเลี้ยงเป็ด, การเลี้ยงไก่พื้นเมือง การทำนา, ปลูกข้าวโพด, ปลูกมันสาปะหลัง, ปลูกและขยายหญ้าแฝกปลูกแตงกวา, ปลูกถั่วลิสง เป็นต้น


ติดต่อสถานี
-

สำนักงานสถานีเกษตร
โทร : -

สำหรับจองที่พัก
โทร : -

ศูนย์บริการข้อมูลนักท่องเที่ยว
โทร : -