โครงการพระราชดำริศูนย์ศิลปาชีพบางไทร
ตำบลราชคาม, ตำบลชางใหญ่ และ ตำบลโพธิ์แตง อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ที่มาของการต่อยอดโครงการ :
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงทรงเสด็จพระราชดำเนินตามพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ไปทรงเยี่ยมราษฎรในทั่วทุกภาคของประเทศไทย จึงทรงเห็นสภาพความเป็นอยู่ที่แท้จริงของราษฎรว่ามี ความทุกข์สุขอย่างไร ที่ทรงเป็นห่วงมาก ก็คือ ความยากจนของราษฎร จึงทรงมีพระราชประสงค์จะจัดหาอาชีพให้ราษฎรทำ เพื่อเพิ่มพูนรายได้ให้เพียงพอแก่การยังชีพในภาวะปัจจุบันเมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๑๙ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งมูลนิธิขึ้น โดยพระราชทานนามว่า “มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพพิเศษ”
ต่อมาใน วันฉัตรมงคล ปี ๒๕๒๓ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร รองประธานกรรมการมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพพิเศษฯ สรรหาที่ดินใกล้เคียงกับพระราชวังบางปะอิน เพื่อจัดตั้งเป็นศูนย์ศิลปาชีพขึ้นอีกแห่งหนึ่ง นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ได้จัดหาที่ดินได้ที่ อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นที่ดินทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ ๗๐๐ ไร่เศษ ต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง ศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯ ขึ้นเมื่อวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๒๓ และได้จัดซื้อที่ดินเพิ่มอีก ๒๐๐ ไร่เศษ รวมเป็นเนื้อที่ทั้งสิ้นประมาณ ๑,๐๐๐ ไร่ รัฐบาลยังได้มติให้หน่วยราชการต่างๆ สนับสนุนโครงการของศูนย์ศิลปาชีพบางไทรฯ และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงได้เสด็จพระราชดำเนินมาเปิดศูนย์ศิลปาชีพบางไทรฯ อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๒๗
พระราชกรณีกิจที่สำคัญประการหนึ่งของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง คือการเสด็จพระราชดำเนินตาม พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรไปทรงเยี่ยมราษฎรทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทยทำให้ทรงเห็นสภาพความเป็นอยู่ที่แท้จริงของราษฎรและรับทราบถึงปัญหาที่ราษฎรกำลังเผชิญอยู่ ปัญหาหนึ่งที่ทรงเป็นห่วงมาก คือปัญหาความยากจน โดยเฉพาะเกษตรกรชาวนาชาวไร่ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ต้องพึ่งพาฝนฟ้าตามธรรมชาติ ต้องเผชิญกับความแห้งแล้งของสภาพภูมิอากาศไม่สามารถทำมา 144 โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กองทัพบก โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กองทัพบก 145 หากินได้เพียงพอต่อการยังชีพ ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศเป็นอันมาก สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง มีพระราชดำริว่า “ทุกข์สุขของราษฎรคือทุกข์สุขของพระองค์” จึงทรงมีพระราชประสงค์จะจัดหาอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มพูนรายได้ให้ราษฎรมีพออยู่พอกินและพึ่งพาตนเองได้ ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกลและพระราชหฤทัยในงานศิลปะทรงเห็นว่างานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านของไทยนั้นมีความประณีตและวิจิตรงดงาม ดังนั้นหากชาวบ้านได้รับการอบรมเพิ่มพูนทักษะและปรับปรุงพัฒนาผลิตภัณฑ์พื้นบ้านเหล่านั้นให้มีคุณภาพได้มาตรฐานแล้วย่อมนำไปสู่การพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์งานศิลปหัตถกรรมไทยแบบใหม่ๆ ทั้งยังเป็นการอนุรักษ์มรดกทางศิลปหัตถกรรมของไทยให้คงอยู่สืบไป
ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น โครงการศิลปาชีพจึงถือกำเนิดขึ้นโดยระยะแรกทรงส่งครูออกไปฝึกอบรมราษฎรในท้องถิ่นต่างๆ เพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานและทรงรับซื้อผลงานที่ชาวบ้านผลิตไว้ด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อจัดหาช่องทางจำหน่ายต่อไป ที่สำคัญคือโปรดที่จะทรงใช้สอยผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพทุกประเภทอันเป็นการพระราชทานขวัญกำลังใจให้แก่สมาชิกศิลปาชีพทุกคน และเป็นการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายมากขึ้นในเวลาการดำเนินงานฝึกอบรมศิลปาชีพให้แก่ราษฎรในภูมิภาคต่างๆ ดังกล่าวนี้ ได้บังเกิดผลเป็นที่ประจักษ์ชัด จึงทรงมีพระราชดำริให้มีการดำเนินงานอย่างจริงจังและเป็นระบบ โดยโปรดเกล้าฯให้ก่อตั้ง “มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพพิเศษ ในพระบรมราชินูปถัมภ์” เมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๑๙ ซึ่งต่อ มาในปี พ.ศ. ๒๕๓๑ มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพพิเศษฯได้เปลี่ยนชื่อเป็น “มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง”
วัตถุประสงค์โครงการ :
เพื่อให้การประกอบอาชีพ อย่างผสมผสาน ทั้งอาชีพทางการเกษตรและอาชีพทางการผลิตสินค้าประเภทศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน
เพื่อเพิ่มพูนรายได้พิเศษแก่เกษตรกร
ช่วยขจัดปัญหาทางเศรษฐกิจของสังคม
เพื่อปรับปรุงและกระจายสิทธิการยึดครองที่ดิน
เพื่อให้เป็นศูนย์รวมและอนุรักษ์ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน จากทุกภาคของ ประเทศไทย
อาณาเขตพื้นที่มีพื้นที่ ๒,๕๐๕-๐-๓๐ ไร่ พื้นที่ศูนย์ศิลปาชีพ ๘๕๖-๒-๐๒ ไร่ พื้นที่เพื่อการเกษตร จํานวน ๑,๔๕๙-๓-๕๑ ไร่ พื้นที่พระราชทานให้กรมประมงจัดตั้งศูนย์พัฒนาประมงน้ำจืด จํานวน ๑๘๘-๒-๗๗ ไร
ผลการดำเนินการ : ศูนย์ศิลปาชีพ บางไทร ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้กำหนดนโยบายคุณภาพเพื่ออนุรักษ์ศิลปะโบราณอันงามวิจิตรของไทยไว้ให้คงอยู่คู่แผ่นดินไทย งานศิลปาชีพพิเศษจะดีเด่นเพียงไรก็อยู่ที่ความขยัน ความประณีต ศิลปะในการออกแบบและฝีมือในการประดิษฐ์ของช่างโดยเฉพาะ มีแผนกช่างงานศิลปาชีพพิเศษต่างๆ ดังนี้
๖.๑ แผนกช่างเครื่องเรือนไม้
๖.๒ แผนกช่างแกะสลักไม้
๖.๓ แผนกช่างเครื่องเรือนหวาย
๖.๔ แผนกช่างตัดเย็บเสื้อผ้าและปักจักร
๖.๕ แผนกช่างเครื่องหนัง
๖.๖ แผนกช่างประดิษฐ์หัวโขน
๖.๗ แผนกช่างสอดย่านลิเพา
๖.๘ แผนกช่างทอผ้าลายตีนจก
๖.๙ แผนกช่างทอผ้าไหม
๖.๑๐ แผนกช่างปักผ้า
๖.๑๑ แผนกช่างจักสานไม้ไผ่ลายขิด
๖.๑๒ แผนกช่างประติมากรรม
๖.๑๓ แผนกช่างเป่าแก้ว
๖.๑๔ แผนกช่างสานผักตบชวา
๖.๑๕ แผนกช่างเขียนภาพลายไทย
๖.๑๖ แผนกช่างบ้านทรงไทย
๖.๑๗ แผนกช่างวาดภาพสีน้ำมัน
๖.๑๘ ช่างปั้นตุ๊กตาชาววัง
๖.๑๙ แผนกโภชนาการ
๖.๒๐ แผนกช่างศิลปะประดิษฐ์
๖.๒๑ แผนกช่างเครื่องเคลือบดินเผา
๖.๒๒ แผนกช่างบาติก
๖.๒๓ แผนกช่างโลหะ
๖.๒๔ แผนกเจียระไนพลอย
๖.๒๕ แผนกช่างปั้นดอกไม้ขนมปัง
๖.๒๖ แผนกช่างเครื่องยนต์
๖.๒๗ แผนกช่างภาพกระจกสี
๖.๒๘ แผนกช่างจิตรกรรมประยุกต์
๖.๒๙ แผนกช่างสีและชักเงา
๖.๓๐ แผนกช่างฝังมุก
๖.๓๑ แผนกบรรจุภัณฑ์
ติดต่อสถานี
-
สำนักงานสถานีเกษตร
โทร : -
สำหรับจองที่พัก
โทร : -
ศูนย์บริการข้อมูลนักท่องเที่ยว
โทร : -