Green House Effect
ที่มาการต่อยอดโครงการ :
วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๓๒ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเสด็จฯ ไปทอดพระเนตรการดำเนินงานของศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ และได้พระราชทานพระราชดำริ เกี่ยวกับงานด้านสิ่งแวดล้อม สรุปได้ดังนี้
“...เนื่องจากปัจจุบัน ปัญหาสิ่งแวดล้อมหรือมลภาวะเป็นพิษ กำลังเป็นปัญหาใหญ่ระดับโลก ซึ่งเรื่องหนึ่ง ได้แก่การเผาผลาญอินทรีย์สารมากเกินไป ทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก และไปห่อหุ้มโลกชั้นบรรยากาศ อันเป็นการปิดกั้นไม่ให้มีการระบายความร้อนเป็นไปตามธรรมชาติ ซึ่งมีผลทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นเกิดความแปรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมีความห่วงใย ในปัญหานี้ ซึ่งเรียกว่า Green House Effect พระองค์ ทรงมีพระราชดำริ ให้ นักวิชาการหรือศูนย์ฯ ได้ดำเนินการศึกษาวิจัยหาปริมาณของออกซิเจนที่ต้นไม้ผลิตออกมาและศึกษาว่าพืชชนิดใด จะสามารถผลิตออกซิเจนได้มากกว่าคาร์บอนในพืชต่าง ๆ เนื่องจากพืชที่เก็บคาร์บอนไว้นั้น ส่วนใหญ่จะมาจากคาร์บอนไดออกไซด์ เมื่อเป็นดังนี้ก็สามารถกำหนดจำนวนคาร์บอนไดออกไซด์ ที่พืชดูดซับเข้าไปและจำนวนออกซิเจนที่พืชคายออกมา และเมื่อนำมาเปรียบเทียบกัน ก็จะสามารถทราบว่าพืชชนิดใดสามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไชด์ ได้ดีกว่าหรือสามารถคายออกซิเจนได้มากที่สุด ก็จะส่งเสริมให้มีการปลูกต้นไม้ชนิดนั้นให้มาก ๆ เพราะนอกจากจะช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศแล้ว ยังเพิ่มออกซิเจนด้วยซึ่งจะเป็นการบรรเทาปัญหา Green House Effect ...”