๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๗

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ

๒๐ เมษายน ๒๕๔๓

" บริเวณพื้นที่ที่มีการกัดกร่อนมาก ( BAD LAND) ด้านทิศใต้ของเขาบ่อขิง ๑. แปลงทดลองแก้ปัญหาดินเลว ๑.๑ ให้จัดพื้นที่สาธิตสภาพดินเลวดั้งเดิมก่อนแก้ไข ๑.๒ ให้จัดพื้นที่สาธิตสภาพพื้นที่ดินเลวหลังการแก้ไข เพื่อเป็นสถานที่ศึกษาดูงาน ๒. แก้ไขดินเลวโดยวิธีธรรมชาติ ๒.๑ ปลูกหญ้าแฝกเพื่อให้ดินดานแตกตัวจะทำให้น้ำซึมผ่านไปได้ ๒.๒ ปลูกต้นไม้ควบคู่กับหญ้าแฝก ต้นไม้จะเจริญเติบโตในดินดานได้ เนื่องจากแฝกให้น้ำและช่วยดึงไนโตรเจน ๒.๓ ควรปลูกต้นไม้หลายชนิด เพื่อเปรียบเทียบกันว่าไม้ชนิดไหนจะโตในพื้นที่นั้นๆ ๒.๔ เมื่อดินดานแก้ไขได้แล้ว ต้องใช้ความเพียรดำเนินการไปเรื่อย ๆ จะทำให้ดินดานใช้ทำการเกษตรกรรมได้ เป็นวิธีทางธรรมชาติที่ใช้จ่ายน้อย ๓. ภาพรวมการจัดแบ่งระบบนิเวศน์ของป่าเขา ควรจัดแบ่งพื้นที่ภูเขา ถึงพื้นที่ราบ เป็น ๓ ส่วน - ส่วนที่ ๑ บนเขาเป็นพืชพรรณไม้ป่า....... - ส่วนที่ ๒ ชั้นต่อมาในส่วนของพื้นที่ลาดเขาเป็นไม้เศรษฐกิจ โดยมี การปลูกหญ้าแฝก เพื่อการฟื้นฟูดินเสื่อมโทรมด้วย - ส่วนที่ ๓ พื้นที่ราบเป็นพื้นที่ทำการเกษตร "


สถานที่ : ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ