โครงการ จัดหาน้ำให้ราษฎรตำบลคูหาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (ฝายบ้านปลายลำไตร)
ตำบล คูหา อำเภอ สะบ้าย้อย จังหวัด สงขลา
ที่มาของการต่อยอดโครงการ :
นายเจ๊ะหมิ ซาและ กำนันตำบลคูหา อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ได้ทำหนังสือขอพะราชทานพระมหากรุณาสนับสนุนงบประมาณในการก่อสร้างฝายเก็บกักน้ำและท่อส่งน้ำ เพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำสำหรับอุปโภค – บริโภค และการเกษตรและราษฎร หมู่ที่ ๑ , ๗ และ ๘ ตำบลคูหา อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
กรมชลประทานได้ให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องตรวจสอบสภาพพื้นที่และศึกษาข้อมูลต่าง ๆ แล้วเห็นว่ามีแนวทางที่จะช่วยเหลือได้ โดยมีรายละเอียดผลการพิจารณาสรุปได้ ดังนี้
พื้นที่หมู่ที่ ๗ ตำบลคูหา อำเภอสะบ้าย้อย ตั้งอยู่บริเวณริมเขาพญาไม้ สภาพป่าต้นน้ำถูกบุกรุกเป็นบริเวณกว้างแล้วปลูกยางพาราทดแทน ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวนยางพาราและสวนผลไม้ลักษณะการใช้น้ำปัจจุบันของราษฎรสำหรับการอุปโภค – บริโภค จะใช้น้ำจากบ่อน้ำตื้นแต่ในช่วงฤดูแล้งบ่อน้ำตื้นเหล่านั้นจะไม่มีน้ำส่วนน้ำเพื่อการเกษตรราษฎรอาศัยน้ำฝน หากปีใดเกิดฝนทิ้งช่วงนาน ๆ พืชผลทางการเกษตรจะได้รับความเสียหาย แนวทางการช่วยเหลือคือจะต้องผันน้ำจากคลองบ้านเหนือมาส่งให้พื้นที่บริเวณนี้
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อวันที่ ๑๔ กรกฏาคม ๒๕๔๔ (รายละเอียดตามหนังสือสำนักราชเลขาธิการ ที่ รล ๐๐๕/๙๘๖๙ ลงวันที่ ๑๔ กรกฏาคม ๒๕๔๔)
การดำเนินงาน : ดำเนินการในปีงบประมาณ ๒๕๔๕ แล้วเสร็จ ๑๐๐%
ผลประโยชน์ที่ได้รับ/ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ :
๑. พื้นที่เกษตรในฤดูฝนประมาณ ๒๐๐ ไร่ สามารถมีน้ำใช้สำหรับการปลูกพืชได้อย่างพอเพียง
๒. ราษฎร จำนวน ๒๒๗ ครัวเรือน ประมาณ ๘๘๐ คน มีน้ำสำหรับอุปโภค – บริโภค อย่างเพียงพอตลอดปี
๓. เส้นทางลำเลียงผลผลิตในหมู่บ้านได้รับการปรับปรุงให้สามารถใช้งานได้ตลอดปีความยาว ๓,๐๐๐ กม.
๔. เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ราษฎรที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารที่ต้องการความช่วยเหลือจากรัฐบาล
ประชุมกลุ่มผู้ใช้น้ำ สภาพฝายปัจจุบัน
สภาพฝายปัจจุบัน
ประเภทโครงการ : โครงการพัฒนาด้านแหล่งน้ำ