โครงการ อ่างเก็บน้ำบ้านเตราะหัก อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
บ้านเตราะหัก หมู่ที่ ๔ ตำบล บ้านน้ำบ่อ อำเภอ ปะนาเระ จังหวัด ปัตตานี
ที่มาของการต่อยอดโครงการ :
เมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๓๖ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรบริเวณพื้นที่โครงการพัฒนาลุ่มน้ำคลองน้ำจืด - คลองแฆแฆ ได้พระราชทานพระราชดำริแก่เจ้าหน้าที่กรมชลประทาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้พิจารณาก่อสร้าง โครงการอ่างเก็บน้ำคลองเตราะหักที่บ้านเตราะหักตำบลน้ำบ่อ อำเภอปานาเระ จังหวัดปัตตานี เพื่อเก็บกักน้ำไว้สำหรับทำนาปีในช่วงที่ขาดฝน และใช้สำหรับการอุปโภค - บริโภคของราษฎรบ้านเตราะหัก บ้านแฆแฆ ตำบลน้ำบ่อ และการกระจายน้ำเพื่อช่วยเหลือพื้นที่บ้านเคียนและบริเวณใกล้เคียงตามความเหมาะสม
วัตถุประสงค์ :
- เพื่อการอุปโภค - บริโภคและเพาะปลูก รวม ๓ ตำบล คือ ตำบลน้ำบ่อ ตำบล บ้านกลางตำบลปะนาเระ จำนวน ๔ หมู่บ้าน คือ บ้านแฆแฆ บ้านเตราะหัก บ้านมะรวด และบ้านปะนาเระ
- ก่อสร้างเขื่อนดินและอาคารประกอบ
- ขนาดทำนบกว้าง ๘ ม. ยาว ๒๓๕ ม. สูง ๑๘ ม.
รายละเอียดโครงการ
- ที่ตั้งโครงการ พิกัด 47 NQH 810 - 565 ระวาง 5322 III
- ประเภทโครงการอ่างเก็บน้ำ
- พื้นที่รับน้ำเหนือจุดที่ตั้งหัวงาน ๒ ตารางกิโลเมตร
- ความยาวลำน้ำจากต้นน้ำถึงหัวงาน ๒ กิโลเมตร
- ส่วนลาดเทของลำน้ำบริเวณหัวงาน ๑ : ๓
- ปริมาณฝนเฉลี่ย ๑,๘๕๕ มิลลิเมตรต่อปี
- อัตราการระเหยเฉลี่ย ๑,๐๓๔ มิลลิเมตรต่อปี
- ปริมาณน้ำไหลอ่างฯ ในเกณฑ์เฉลี่ย ประมาณ ๑.๑๑๓ ล้านลบ.ม. ต่อปี
- อาคารหัวงาน : ทำนบดินกว้าง ๘ เมตร ยาว ๒๓๕ เมตร สูง ๑๘ เมตร
-ระดับท้องน้ำ ประมาณ + ๑๐.๐๐ เมตร (ร.ท.ก.)
-ระดับเก็บกัก ประมาณ + ๒๕.๐๐ เมตร (ร.ท.ก.)
-ระดับน้ำนองสูงสุด ประมาณ + ๒๖.๐๐ เมตร (ร.ท.ก.)
-ระดับสันทำนบ +๒๘.๐๐ เมตร (ร.ท.ก.)
-ความจุของอ่างฯ ที่ระดับเก็บกัก ๕๐๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร
-ความจุของอ่างฯ ที่ระดับน้ำสูงสุด ๖๐๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร
-พื้นที่ผิวอ่างฯ ที่ระดับเก็บกัก ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ ตารางเมตร
-พื้นที่ผิวอ่างฯ ที่ระดับน้ำสูงสุด ประมาณ ๑๒๐,๐๐๐ ตารางเมตร
อาคารประกอบ
-ท่อส่งน้ำ จำนวน ๓ สาย ความยาว ๑๐.๖๖๐ กิโลเมตร
งบประมาณที่ใช้ดำเนินการ
งบประมาณที่ได้รับทั้งสิ้น ๕๙,๙๓๗,๖๐๐ บาท
ระยะเวลาดำเนินการก่อสร้าง
เริ่มดำเนินการก่อสร้างในปีงบประมาณ ๒๕๓๘ แล้วเสร็จในปีงบประมาณ ๒๕๓๙
ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ : ช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูก ประมาณ ๕๐๐ ไร่ และการอุปโภค – บริโภค ของราษฎร ประมาณ ๕๖๓ ครัวเรือน ประชากร จำนวน ๕,๕๐๐ คน
ประเภทโครงการ : โครงการพัฒนาด้านแหล่งน้ำ