โครงการ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ตำบล ไพรวัน อำเภอ ตากใบ จังหวัด นราธิวาส
ที่มาของการต่อยอดโครงการ :
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชพระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริขึ้นเมื่อวันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๕ เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมวิชาการ การค้นคว้า ทดลองและสาธิตการพัฒนาด้านเกษตรกรรม ซึ่งมีรูปแบบการบริการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว ให้บริการแก่ประชาชนและเกษตรกรที่เข้ามาศึกษาหาความรู้ได้ ณ แห่งเดียวเสมือน "พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต" มีกิจกรรมต่อเนื่องและเป็นตัวอย่างแห่งความสำเร็จในด้านการเกษตรกรรมและพัฒนาอาชีพ เพื่อเป็น "ต้นแบบ" และแนวทางให้แก่เกษตรกรและผู้สนใจในการนำไปปฏิบัติในพื้นที่ของตนเอง โดยหน่วยงานต่างๆได้ร่วมกันดำเนินการสนองพระราชดำริอย่างต่อเนื่องในด้านการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิจัย สาธิต และการพัฒนา เพื่อนำผลการศึกษาค้นคว้าที่ได้ผลดีไปขยายผลในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป
พื้นที่ดำเนินการ
พื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ๑,๗๔๐ ไร่
พื้นที่ดอน เนื้อที่ ๒๐๒ ไร่ เป็นที่ตั้งอาคารสำนักงาน โรงงานสกัดน้ำมันและแปรรูปน้ำมันปาล์มงาน ป่าไม้ งานปศุสัตว์ งานวิชาการเกษตร งานควบคุมโรคติดต่อ งานอุตสาหกรรมกระจูด และเส้นใยพืชอาคารฝึกอบรม และที่พัก
พื้นที่ลุ่ม เนื้อที่ ๓๐๘ ไร่ เป็นพื้นที่พรุสำหรับศึกษา ทดลอง วิจัยหาแนวทางการปรับปรุงดิน อาทิ โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่โครงการแกล้งดิน การปรับปรุงดินเพื่อปลูกข้าวการปลูกปาล์มน้ำมัน การเลี้ยงปลาในพื้นที่ดินเปรี้ยว สวน 50 ปีครองราชย์ รวบรวมพันธุ์ปาล์ม สวน ๗๒ พรรษา รวบรวมพันธุ์ไม้หายากสวนสมุนไพรและงาน ทดลองอื่นๆ
พื้นที่อ่างเก็บน้ำใกล้บ้าน เนื้อที่ ๑,๐๓๐ ไร่ ตั้งอยู่ตอนใต้ของศูนย์ฯ จุน้ำได้ ๒ ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรของศูนย์ฯ และพื้นที่ของเกษตรกรใกล้เคียง
พื้นที่สวนยางเขาสำนัก เนื้อที่ ๒๐๐ ไร่ เป็นที่ดอนเชิงเขาปลูกยางพารา และการผลิตยางแผ่นแบบ ครบวงจร สาธิตการปลูกพืชแซมในสวนยาง
พื้นที่หมู่บ้านรอบศูนย์ฯ ๑๓ หมู่บ้าน ปัจจุบัน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ดูแลรับผิดชอบพื้นที่หมู่บ้านรอบศูนย์ จำนวน ๑๓ หมู่บ้าน พื้นที่ ๒๘,๗๙๕ ไร่ (ที่มาข้อมูล : สำนักงานผังเมืองจังหวัดนราธิวาส ปี ๒๕๔๕) อยู่ในเขตพื้นที่ ๒ ตำบล คือ ตำบลกะลุวอ และตำบลกะลุวอเหนือ
บ้านยาบี หมู่ที่ ๑ ตำบลกะลุวอเหนือ มีพื้นที่ ๒,๙๘๔ ไร่ มีประชากร ๓๒๒ ครัวเรือน จำนวน ๑,๕๙๙ คน ส่วนใหญ่ราษฎรประกอบอาชีพ ทำสวนยางพารา ปลูกข้าว ผักสวนครัว เลี้ยงสัตว์และรับจ้างทั่วไป ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ได้ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ โดยพัฒนาและปรับปรุงพื้นที่ดินเปรี้ยว เพื่อส่งเสริมการปลูกข้าว ปาล์มน้ำมัน การปลูกพืชแบบผสมผสาน การเลี้ยงสัตว์ปีก พร้อมทั้งสาธิต การใช้หินปูนฝุ่นเพื่อปรับปรุงบำรุงดินปลูกพืชปุ๋ยสด สาธิตการทำ การใช้ ปุ๋ยหมักและปุ๋ยอินทรีย์น้ำ เพื่อปรับปรุงบำรุงดิน และปลูกหญ้าแฝกเพื่อ อนุรักษ์ดินและน้ำ จัดรับส่งน้ำและระบายน้ำ อีกทั้งเกษตรกรมีการจัดตั้ง กลุ่มอาชีพหัตถกรรมแปรรูปเส้นใบพืช (หญ้าแฝก)
บ้านบางมะนาว หมู่ที่ ๑ ต.กะลุวอเหนือ เนื้อที่ ๖๐๐ ไร่ มีประชากร ๔๒๒ ครัวเรือน จำนวน ๑,๙๐๓ คน ส่วนใหญ่ราษฎรประกอบอาชีพประมง ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ และรับจ้างทั่วไป ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ได้ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการปลูกพืช พืชไร่ปลอดภัยจากสารพิษ สาธิตการจัดทำแปลงพืชอาหารสัตว์ เลี้ยงสัตว์ปีก สาธิตและส่งเสริมการผลิตปุ๋ยหมักและปุ๋ยอินทรีย์น้ำเพื่อปรับปรุงบำรุงดิน พร้อมทั้งการไถปรับปรุงพื้นที่เพื่อการเพาะปลูก
บ้านค่าย หมู่ที่ ๒ ตำบลกะลุวอเหนือ มีพื้นที่ ๒,๑๑๐ ไร่ มีประชากร ๗๕๒ ครัวเรือน จำนวน ๒,๙๔๔ คน ส่วนใหญ่ราษฎรประกอบอาชีพทำนา ทำสวนยางพารา เลี้ยงสัตว์ปีก แพะ และจัดทำแปลงพืชอาหารสัตว์ การเลี้ยงปลา พร้อมทั้งอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับอาชีพเกษตรและใช้วัสดุปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดและจัดระบบการเกษตรทฤษฎีใหม่
บ้านใหม่ หมู่ที่ ๕ ตำบลกะลุวอเหนือ มีพื้นที่ประมาณ ๒,๔๓๓ ไร่ มีประชากร ๒๓๖ ครัวเรือน จำนวน ๑,๐๗๙ คน ส่วนใหญ่ราษฎรประกอบอาชีพปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ สวนมะพร้าว ปลูกไม้ผลผสมผสาน และรับจ้างทั่วไป ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ การปลูกพืชผัก พืชไร่ ไม้ผล เช่น ฝรั่ง มะพร้าวน้ำหอม ระกำแซมในสวนยางพารา การเลี้ยงปลานิล ปลาแรดในบ่อดิน เลี้ยงแพะ พร้อม จัดทำแปลงพืชอาหารสัตว์และ ขยายการเลี้ยงโค การทำปุ๋ยหมัก ปลูกพืชปุ๋ยสดเพื่อปรับปรุงบำรุงดิน
บ้านพิกุลทอง หมู่ที่ ๖ ตำบลกะลุวอเหนือ มีพื้นที่ ๓,๑๙๕ ไร่ มีประชากร ๓๐๓ ครัวเรือน จำนวน ๑,๐๔๒ คน ส่วนใหญ่ราษฎรประกอบอาชีพปลูกผัก และทำสวนมะพร้าว ทำนา จัดตั้งกลุ่มทอผ้า และ รับจ้างทั่วไป ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ดำเนินการจัดระบบพัฒนาที่ดินเพื่อทำ การเกษตร ปลูกพืชผักปลอดภัยจากสารพิษ ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ ทำนา ผักบุ้ง ปลูกไม้ผล เลี้ยงสัตว์ปีกและโค จัดทำแปลงพืชอาหารสัตว์ ส่งเสริมการ ทำเกษตรทฤษฎีใหม่และส่งเสริมการทำปุ๋ยหมัก ปลูกพืชปุ๋ยสดเพื่อปรับปรุง บำรุงดี
บ้านโคกสยา หมู่ที่ ๘ ตำบลกะลุวอเหนือ มีพื้นที่ ๓,๕๑๔ ไร่ มีประชากร ๒๒๒ ครัวเรือน จำนวน ๑,๑๗๐ คน ส่วนใหญ่ราษฎรประกอบ อาชีพรับจ้างทั่วไป ทำ สวนยางพารา และทำนาบางส่วน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ดำเนินการ จัดระบบการใช้ที่ดินเพื่อปลูกพืชผัก พืชไร่ปลอดภัยจากสารพิษ ส่งเสริมการเลี้ยงปลาแรดในบ่อดิน เลี้ยงแพะ จัดทำแปลงพืชอาหารสัตว์ ส่งเสริมการปลูก ปาล์มน้ำมัน แนะนำการใช้วัสดุปรับปรุงดินและการใช้ ปุ๋ยหมักในการปลูกผักไม้ผลและการเพาะเห็ด
บ้านโพธิ์ทอง หมู่ที่ ๙ ตำบลกะลุวอเหนือ มีพื้นที่ ๓,๓๙๗ ไร่ มีประชากร ๑๒๖ ครัวเรือน จำนวน ๓๑๕ คนส่วนใหญ่ราษฎรประกอบอาชีพทำสวนไม้ผล ยางพารา มะพร้าว ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ดำเนินการจัดระบบการพัฒนาที่ดิน ขุดยกร่องเพื่อทำ การเกษตรผสมผสาน ส่งเสริมการปลูกพืชผัก พืชไร่ และไม้ผลแบบผสมผสาน ปาล์มน้ำมัน การเลี้ยงสัตว์ปีก เลี้ยงปลา สาธิตการทำปุ๋ยหมักเพื่อปรับปรุงบำรุงดิน และจัดฝึกอบรมเพื่อเพิ่มความรู้ด้านการเกษตร
บ้านคีรี หมู่ที่ ๑๐ ตำบลกะลุวอเหนือ มีพื้นที่ ๒,๒๒๑ ไร่ มีประชากร ๙๘ ครัวเรือน จำนวน ๕๒๐ คน ส่วนใหญ่ราษฎรประกอบอาชีพ เลี้ยงสัตว์ ปลูกผัก ทำสวนมะพร้าว และรับจ้างทั่วไป ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ส่งเสริมการทำนา การปลูกพืชผัก พืชไร่ ปลอดภัยจากสารพิษ การเลี้ยง สัตว์ปีก และแพะ การให้ความรู้และอบรมอาชีพ การเกษตร การใช้วัสดุปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดและจัด ระบบเกษตรทฤษฎีใหม่
บ้านตือลาฆอปาลัส หมูที่ ๑๑ ตำบลกะลุวอเหนือ มีพื้นที่ ๘๑๐ ไร่ มีประชากร ๑๓๔ ครัวเรือน จำนวน ๗๕๗ คน ส่วนใหญ่ราษฎรประกอบอาชีพประมง ทำสวนมะพร้าว กลุ่มปักจักร ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ส่งเสริม และพัฒนาอาชีพการปลูกผัก เช่น มะเขือ ผักบุ้ง แตงกวา บล็อกโคลี่ การเลี้ยงสัตว์ปีก การเลี้ยงปลานิลในบ่อดิน และส่งเสริมการผลิตปุ๋ยหมักเพื่อปรับปรุงบำรุงดิน
บ้านบูกิตอ่าวมะนาว หมูที่ ๑๒ ตำบลกะลุวอเหนือ มีพื้นที่ ๗๐๕ ไร่ มีประชากร ๑๘๓ ครัวเรือน จำนวน ๘๙๓ คน ส่วนใหญ่ราษฎรประกอบอาชีพประมง ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ และรับจ้างทั่วไป ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ได้ส่งเสริม และพัฒนาอาชีพ การปลูกพืชผักพืชไร่ปลอดภัยจากสารพิษ สาธิตการจัดทำแปลงพืชอาหารสัตว์ เลี้ยงสัตว์ปีก สาธิตและ ส่งเสริมการผลิตปุ๋ยหมักและปุ๋ยอินทรีย์น้ำ เพื่อปรับปรุง บำรุงดิน พร้อมทั้งการไถปรับปรุงพื้นที่เพื่อการเพาะปลูก
บ้านสะปอม หมู่ที่ ๑๓ ตำบลกะลุวอเหนือ มีพื้นที่ ประมาณ ๑,๕๓๐ ไร่ มีประชากร ๑๖๓ ครัวเรือน จำนวน ๖๔๘ คน ส่วนใหญ่ราษฎรประกอบอาชีพปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ สวนมะพร้าว ปลูกไม้ผลผสมผสาน และรับจ้าง ทั่วไป ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ การปลูกพืชผัก พืชไร่ ไม้ผล เช่น ฝรั่ง มะพร้าวน้ำหอม ระกำแซมในสวนยางพารา การเลี้ยง ปลานิล ปลาแรดในบ่อดิน เลี้ยงแพะ พร้อมจัดทำแปลง พืชอาหารสัตว์ และขยายการเลี้ยงโค การทำปุ๋ยหมัก ปลูกพืชปุ๋ยสดเพื่อปรับปรุงบำรุงดิน
ศูนย์สาขา ๔
ศูนย์สาขาที่ ๑ โครงการสวนยางพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ ตั้งอยู่ในเขตพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ บ้านเขาตันหยง ต. เนื้อที่ ๑๕.๘ ไร่ สาธิตการปลูกยางพันธุ์ดี และการปลูกพืชแซมในสวนยาง
ศูนย์สาขาที่ ๒ โครงการพัฒนาหมู่บ้านปีแนมูดอ อยู่ที่บ้านปีแนมูดอ ต.บูกิจ อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส เนื้อที่ ๑๓๕ ไร่ สาธิตการจัดระบบการให้น้ำ การจัดการดินและการจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ
ศูนย์สาขาที่ ๓ โครงการหมู่บ้านปศุสัตว์-เกษตรมูโนะ ตั้งอยู่บ้านโคกไทร หมู่ที่ ๔ ต.โฆษิต อ.ตากใบ จ.นราธิวาส เนื้อที่ ๑,๕๐๐ ไร่ จัดแบ่งพื้นที่เป็นที่อาศัย และที่ทำกินแก่อาสาสมัครที่ปลดประจำการ และเกษตรกรที่ยากจนไม่มีที่ดินทำกิน ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งสิ้น ๓๗ ครอบครัว พื้นที่เป็นดินเปรี้ยวจัด พัฒนาด้านการปรับปรุงดิน การปลูกพืช การปลูกไม้ดอกไม้ประดับ เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงปลา และหัตถกรรม
ศูนย์สาขาที่ ๔ โครงการ พัฒนาพื้นที่บ้านโคกอิฐ-โคกในและยูโย อยู่ที่ ต.พร่อน และ ต.บางขุนทอง อ.ตากใบ จ.นราธิวาส เนื้อที่ ๓๐,๐๖๕ ไร่ การจัดการดินและน้ำในพื้นที่ดินเปรี้ยว เพื่อการเกษตรแบบผสมผสาน ตามแนวทฤษฎีใหม่ การขุดยกร่องเพื่อปลูกพืชไร่ ไม้ผล การปรับปรุงดินเพื่อปลูกข้าว
ผลการดำเนินงาน :
๑. งานศึกษา ทดลอง และวิจัย
ในช่วงที่ผ่านมาศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริได้ดำเนินงานในด้านต่าง ๆ หลายแขนง โดยใช้การพัฒนาในลักษณะบูรณการงานที่เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ และแบ่งการดำเนินงานออกเป็น ๓ ด้าน คือ
๑. ด้านการศึกษา ทดลอง วิจัย ในช่วงระยะที่ผ่านมาศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ได้มีการดำเนินงาน ศึกษา ทดลอง วิจัยตามแนวพระราชดำริที่พระราชทานไว้ในการดำเนินงานพัฒนาด้านต่างๆ ไว้เป็นจำนวนมาก จากข้อมูลการรวบรวมผลงานศึกษา ทดลอง วิจัยของศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ตั้งแต่เริ่มดำเนินการโครงการจนถึงปี ๒๕๕๖ พบว่า มีจำนวนทั้งสิ้น ๒๙๑ เรื่อง ประกอบด้วยงานศึกษาวิจัย ๙ ประเภท ได้แก่ การพัฒนา ปรับปรุงดิน การพัฒนาเกษตรกรรม(พืช) การพัฒนาปศุสัตว์และโคนม การพัฒนาประมงเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การพัฒนาและอนุรักษ์ สัตว์ป่า การพัฒนาป่าไม้ การพัฒนาแหล่งน้ำ การพัฒนาควบคุมโรคติดต่อ และ การพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยมุ่งเน้นการดำเนินการในเรื่องของงานศึกษา ทดลอง วิจัย ดังนี้
๑) รวบรวมผลการศึกษา ทดลอง วิจัย ตั้งแต่เริ่มดำเนินงานจนถึงปัจจุบัน โดย
- เน้นการตรวจสอบความครบถ้วนของกิจกรรมการดำเนินงานของศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ กับแนวพระราชดำริที่ได้พระราชทานไว้
- เน้นการศึกษา ทดลอง วิจัย ที่สามารถแก้ไขปัญหาของประชาชนในพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป
๒) แยกผลการศึกษา ทดลอง วิจัยที่ประสบความสำเร็จแล้ว และอยู่ระหว่างดำเนินการ
๓) คัดเลือกผลการศึกษา ทดลอง วิจัย ที่ประสบความสำเร็จแล้ว และพร้อมที่จะนำไปขยายผลสู่ประชาชน
๔) นำผลงานศึกษา ทดลอง วิจัย ที่ได้รับมาคัดเลือกจัดทำเป็นบัญชีหลัก (MENU) ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ
5) จัดทำคู่มือในแต่ละเรื่องของบัญชีหลัก โดยระบุขั้นตอนการดำเนินการตั้งแต่ต้นจนถึงผลผลิตและรายได้ที่คาดว่าจะได้รับ
นอกจากนี้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ได้นำงานศึกษา ทดลอง วิจัยเด่น จัดทำเป็นหลักสูตรการฝึกอบรม จำนวน ๑๗ หลักสูตร ได้แก่
๑. แนวทางการฟื้นฟูป่าพรุ
๒. การปลูกและแปรรูปไม้เสม็ดขาวในพื้นที่พรุ
๓. การปลูกและแปรรูปปาล์มสาคู
๔. แกล้งดิน
๕. การปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดเพื่อปลูกข้าวหอมกระดังงา
๖. การปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดเพื่อปลูกผักกินฝัก กินผล
๗. การปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่พรุ
๘. การปลูกมะพร้าวน้ำหอมในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด
๙. การปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดเพื่อปลูกอ้อยคั้นน้ำ
๑๐. การทำการเกษตรทฤษฎีใหม่ในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด
๑๑. การเลี้ยงปลาดุกอุยเทศในพื้นที่ดินพรุ
๑๒. การปลูกสละแซมในสวนยางพารา
๑๓. การเพาะเห็ดฟางด้วยขี้เลื้อยไม้ยางพารา
๑๔. การเพาะเห็ดสกุลนางรมด้วยขี้เลื้อยไม้ยางพารา
๑๕. การผลิตอาหารข้นสำหรับไก่พื้นเมือง
๑๖. การใช้หญ้าแฝกพันธุ์สงขลา ๓ เพื่อขึ้นรูปผลิตภัณฑ์
๑๗. การทำผลิตภัณฑ์สมุนไพรไล่ยุงในพื้นที่พรุ
๒. งานขยายผล
๒.๑ งานสาธิต
ตลอดระยะเวลาการดำเนินงานศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ มีงานสาธิตข้อมูลงานวิจัยต่อเนื่องมาแล้วเป็นจำนวน ๑๕ เรื่อง ดังรายละเอียด ดังนี้
๑) สาธิตการปลูกปาล์มสาคูในดินอินทรีย์
๒) สาธิตการการปลูกสละในชุดดินมูโนะ ในศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ
๓) สาธิตการทำการเกษตรยั่งยืนตามแนวพระราชดำริทฤษฏีใหม่
๔) สาธิตการปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่ พื้นที่บ้านยูโย
๕) สาธิตการจัดการดินเปรี้ยวจัด เพื่อปลูกไม้ผลแบบผสมผสาน
๖) สาธิตการปรับปรุงดินชุดดินระแงะเพื่อปลูกส้มจุกส้มตรา
๗) สาธิตการปรับปรุงดินและน้ำเพื่อปลูกพืชน้ำในชุดดินระแงะ
๘) สาธิตการปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดเพื่อปลูกผักกูดเชิงเศรษฐกิจ
๙) สาธิตการใช้หินปูนฝุ่นปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดชุดดินระแงะเพื่อปลูกมะพร้าวน้ำหอม
๑๐) สาธิตการทำโครงการวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน 3โรงเรียน เรื่องการอนุรักษ์ดินและน้ำโดยใช้หญ้าแฝก
๑๑) สาธิตอิทธิพลของโดโลไมท์และโบรอนต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตปาล์มน้ำมันในชุดดินเชียรใหญ่
๑๒) สาธิตการปลูกตาลโตนดบนหัวไร่ปลายนา ในศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง
๑๓) สาธิตชนิดของปุ๋ยพืชสดในการเพิ่มผลผลิตข้าวในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดชุดดินมูโนะ
๑๔) สาธิตการจัดการดินเปรี้ยวจัดเพื่อปลูกผักเชิงการค้า ๔ ชนิด
๑๕) สาธิตการจัดการปุ๋ยเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพพริกไทย
๒.๒ งานพัฒนาพื้นที่
ปีงบประมาณ ๒๕๕๖
๒.๑ งานพัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุน
เป็นการดำเนินงานพัฒนาและแก้ไขสภาพพื้นที่ในบริเวณกลุ่มเป้าหมายให้สามารถใช้ประโยชน์ในพื้นที่เกษตรกรรมของตนเองได้อย่างสูงสุด อีกทั้ง ส่งเสริมการปลูกพืชที่เหมาะสม ในพื้นที่ดินเปรี้ยวที่ได้รับการพัฒนาและปรับปรุงดินแล้ว นอกจากนี้ ยังมีการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานต่างๆ ที่จะทำให้คุณภาพชีวิตของราษฎรในพื้นที่ดียิ่งขึ้น จำนวน ๑๗ โครงการ ซึ่งมีตัวอย่างของผลการดำเนินงานที่ดำเนินการแล้ว ดังนี้
การปรับปรุงและพัฒนาพื้นที่เพื่อการเพาะปลูก (ปรับรูปแปลงนาลักษณะที่ ๓ ) ขุดคู-ยกร่องให้กับราษฎรบ้านคีรี อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส
การปรับปรุงและพัฒนาพื้นที่เพื่อการเพาะปลูก (ปรับรูปแปลงนาลักษณะที่ ๒) (ขุดคูและยกระดับคันดินเพื่อปลูกพืช) บ้านโคกชุมบก อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ส่งเสริมการปลูกข้าว จำนวนทั้งสิ้น ๕๐๐ ไร่ ราษฎร ๘๐ ราย ดำเนินการในเขตพื้นที่ตำบลพร่อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส จำนวน ๒๕๐ ไร่ พื้นที่ตำบลบางขุนทอง อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส จำนวน ๑๕๐ ไร่ และพื้นที่ตำบลกะลุวอ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส จำนวน ๑๐๐ ไร่
ส่งเสริมการปลูกพืชไร่พืชผัก จำนวนทั้งสิ้น ๖๐ ไร่ ราษฎร ๕๐ ราย ดำเนินการในพื้นที่ตำบลโฆษิต อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาสและหมู่บ้านรอบศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯโดยสนับสนุนปุ๋ยขี้ไก่ จำนวน ๔๐๐ กระสอบ พร้อมพันธุ์ข้าวโพด จำนวน ๓๐ กิโลกรัม
ส่งเสริมการปลูกไม้ผลในดินเปรี้ยว จำนวนทั้งสิ้น ๑๐๐ ไร่ ราษฎร ๖๖ ราย ดำเนินการในพื้นที่ตำบลมะรือโบออก อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส พื้นที่ตำบลสุไหงบาดี อำเภอสุไหงบาดี จังหวัดนราธิวาส รวมทั้งพื้นที่ศูนย์สาขาและพื้นที่ที่มีพระราชดำริโดยสนับสนุนพันธุ์มะนาว จำนวน ๑,๖๐๐ ต้น และพันธุ์มะพร้าวน้ำหอม จำนวน ๖๐๐ ต้น
ส่งเสริมการเลี้ยงปลาดุกในบ่อคอนกรีตในโรงเรียนตามพระราชดำริ ดำเนินการในโรงเรียนในสังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๔๔ , สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดนราธิวาส และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต ๑ ๒ ๓ จำนวนรวมทั้งสิ้น ๒๘ แห่ง
โครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเกษตรกรในพื้นที่ดินพรุตามพระราชดำริ (กิจกรรมส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ปีก) ให้กับเกษตรกร จำนวน ๒๐ ราย
๒.๓ งานฝึกอบรม และถ่ายทอดเทคโนโลยี
ปีงบประมาณ ๒๕๕๖
เป็นการนำผลการศึกษาและการพัฒนาที่ได้ศึกษา ทดลอง และวิจัย จนได้เป็นผลสำเร็จ มาจัดทำเป็นกิจกรรมในแผนงานขยายผลของโครงการฯ เพื่อไปส่งเสริมสนับสนุน และให้ความรู้แก่เกษตรกรในพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาอาชีพและเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรมีจำนวน ๙ โครงการ มีรายละเอียด ดังนี้
๑. โครงการฝึกอบรมเกษตรกรภายใต้ผลสำเร็จของศูนย์ศึกษาฯ (ข้าว/ผัก/เห็ด/ปลา/ไก่) จำนวน ๒๕๐ ราย
๒. โครงการการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษ จำนวน ๑๕ ราย
๓. โครงการการเพาะเห็ดในถุงพลาสติก จำนวน ๓ ราย
๔. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพยางพารา จำนวน ๑๐ ราย
๕. โครงการการเพาะเห็ดในถุงพลาสติกในโรงเรียน จำนวน ๑๕ โรงเรียน
๖. โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันและอนุรักษ์พันธุ์บอนสี ในโรงเรียน จำนวน ๑๐ โรงเรียน
๗. โครงการพัฒนาส่งเสริมอาชีพนอกภาคเกษตร (หลักสูตรทอหญ้าแฝกและแปรรูป) จำนวน ๑๐ ราย
๘. โครงการพัฒนาส่งเสริมอาชีพนอกภาคเกษตร (หลักสูตรการตกแต่งผลิตภัณฑ์ด้วยวิธี Decoupag จำนวน ๑๕ ราย
๙. โครงการพัฒนาส่งเสริมอาชีพนอกภาคเกษตร (หลักสูตรการออกแบบบรรจุภัณฑ์และจัดทำต้นแบบ ฉลากสินค้า) จำนวน ๑๕ ราย
ซึ่งมีตัวอย่างของผลการดำเนินงานที่ดำเนินการแล้ว ดังนี้
โครงการฝึกอบรมเกษตรภายใต้ผลสำเร็จศูนย์ศึกษาฯ โดยมีผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรละ ๕๐ คน รวมทั้งหมด ๒๕๐ คน
การผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษพื้นที่ดำเนินการ ได้แก่ หมู่ที่ ๑, ๓ และ ๖ ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส จำนวน ๑๕ ราย พื้นที่ ๑๕ ไร่
การเพาะเห็ดในถุงพลาสติก พื้นที่ดำเนินการ ได้แก่ หมู่ที่ ๕ ตำบลกะลุวอ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส และหมู่ที่ ๒ ตำบลไพรวันอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส จำนวน ๓ ราย
การเพาะเห็ดในถุงพลาสติกในโรงเรียน ให้กับโรงเรียนเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน ในเขตพื้นที่พระราชดำริ จำนวนทั้งสิ้น ๑๕ โรงเรียน
การอบรมส่งเสริมและอนุรักษ์บอนสีในโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันของโรงเรียนประถมศึกษา โดยจัดอบรมนักเรียน ๙๐ คน ครู ๑๐ คน จำนวน ๑๐ โรงเรียน
โครงการพัฒนาส่งเสริมอาชีพนอกภาคเกษตร (หลักสูตรทอหญ้าแฝกและแปรรูป) จำนวน ๑๐ ราย
โครงการความร่วมมือกับกระทรวงมหาดไทยขยายผลสู่ประชาชน
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ได้จัดโครงการอบรมเกษตรกรภายใต้ผลสำเร็จของศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ขึ้น โดยใช้ความรู้ที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชได้พระราชทานแนวพระราชดำริไว้ มาถ่ายทอดแก่ราษฎรที่ประสบปัญหาด้านการประกอบอาชีพ ซึ่งมีหลากหลายอาชีพ อาทิ การปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ รวมทั้งการเพาะเห็ดด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่ทำได้ในพื้นที่ของตนเองและสามารถสร้างรายได้ ได้อย่างแท้จริงเป็นหลักสูตรพิเศษระยะสั้น ใช้เวลาเพียง ๓ วันให้เกษตรกรที่เข้ารับการอบรม ศึกษาเรียนรู้และปฏิบัติจริง จากผู้รู้และมีประสบการณ์จริงจากสาขาอาชีพนั้น ๆ และเพื่อเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าว และช่วยเหลือเกษตรกรให้สามารถทำการเกษตรบนพื้นที่ดินของตัวเองให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเกษตรกรสามารถนำความรู้ที่ได้ ไปใช้ประโยชน์และเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพต่อไป สรุปผลการดำเนินงาน ทำการคัดเลือกเกษตรกร จังหวัดละ ๑๐๐ คน ทั้งหมด ๖ จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส ,ปัตตานี ,ยะลา ,สตูล ,พัทลุง และตรัง เข้ารับการฝึกอบรมภายใต้ผลสำเร็จของศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กำหนดระยะเวลาฝึกอบรม ตั้งแต่วันที่ ๒๒ ตุลาคม - ๔ ธันวาคม ๒๕๕๖ โดยแบ่งเป็น ๖ รุ่น เกษตรกรที่เข้ารับการอบรมรวมทั้งหมดจำนวน ๔๘๑ คน โดยผลจากการเลือกเข้ารับการอบรมของเกษตรกร มีดังนี้
หลักสูตรที่เกษตรกรนิยมเลือกฝึกอบรม ๓ อันดับต้นๆ ดังนี้
๑. การผลิตอาหารข้นสำหรับไก่พื้นเมือง จำนวน ๑๑๑ คน
๒. การเพาะเห็ดฟางด้วยขี้เลื่อยไม้ยางพารา จำนวน ๘๙ คน
๓. การเพาะเห็ดสกุลนางรมด้วยขี้เลื่อยไม้ยางพารา จำนวน ๘๒ คน
หลักสูตรที่เกษตรกรไม่ได้รับการเลือก จำนวน ๖ หลักสูตร ดังนี้
๑. แนวทางการฟื้นฟูป่าพรุ
๒. การปลูกและแปรรูปปาล์มสาคู
๓. แกล้งดิน
๔. การปลูกมะพร้าวน้ำหอมในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด
๕. การปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดเพื่อปลูกอ้อยคั้นน้ำ
๖. การใช้หญ้าแฝกพันธุ์สงขลา ๓ เพื่อขึ้นรูปผลิตภัณฑ์
๒.๓ งานปรับปรุงภาวะโภชนาการของเด็กอายุ ๐-๗๒ เดือน
เป็นการให้โภชนาการศึกษา และสาธิตกระบวนการปรับปรุงภาวะโภชนาการของเด็กให้แก่ผู้ปกครองและบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยปีงบประมาณ ๒๕๕๖ ดำเนินกิจกรรมปรับปรุง ภาวะโภชนาการฯ จำนวน ๓ โครงการ ซึ่งมีตัวอย่างของผลการดำเนินงานที่ดำเนินการแล้ว ดังนี้
๑. โครงการติดตามเด็กขาดสารอาหารตามโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกเดือนๆ ละ ๑ ครั้ง ตั้งแต่งวด ๔ ปี ๒๕๕๕ – งวด ๓ ปี ๒๕๕๖ พบเด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ จำนวน ๓,๙๐๖ คน หลังดำเนินการ ๑๒ เดือน เด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ดีขึ้น จำนวน ๒,๕๗๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๖.๐๓
๒. โครงการให้โภชนาการศึกษาหญิงตั้งครรภ์ ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ๒,๒๖๐ คน จากกลุ่มเป้าหมายจำนวน ๒,๓๐๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๘.๒๖ ครอบคลุมสถานบริการ ๑๑๓ แห่งในจังหวัดนราธิวาส
๓. โครงการการให้โภชนาการแก่ผู้ปกครองเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งแต่งวด ๔ ปี ๒๕๕๕ – งวด ๓ ปี ๒๕๕๖ พบเด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ จำนวน ๑๑๘ คน หลังดำเนินการ ๑๒ เดือน เด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ดีขึ้น จำนวน ๔๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๑.๕๓ เด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ที่ยังคงต้องเฝ้าระวังจำนวน ๖๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๘.๔๗
๓) แผนงานฟื้นฟู อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เป็นการดำเนินงานเพื่อการฟื้นฟู และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในพื้นที่ โดยเฉพาะ “ป่าพรุ” ซึ่งถือเป็นผืนป่าขนาดใหญ่ในเขตพื้นที่ภาคใต้ที่มีความอุดมสมบูรณ์เป็นอย่างยิ่ง รวมทั้ง เป็นการดำเนินงานสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และบรมวงศานุวงศ์ เพื่อให้ราษฎรร่วมกันรักษาความสมดุลของธรรมชาติ อนุรักษ์ทรัพยากรเหล่านั้นให้คงอยู่ต่อไป ซึ่งมีตัวอย่างของผลการดำเนินงานที่ดำเนินการแล้ว ดังนี้
๓.๑ การเพาะชำกล้าไม้ป่ามีค่า จำนวน ๕๐,๐๐๐ กล้า พันธุ์ไม้ ๒๖ ชนิด เช่น ใบไม้สีทอง มะกอก น้ำเพกา ตำหยาว กฤษณา มะไฟ ส้มแขก เต่าร้าง และไม้ตระกูลปาล์มต่างๆ เป็นต้น เพื่อแจกจ่ายให้กับนักเรียน นักศึกษา และบุ