๒๒ ธันวาคม ๒๕๖๗

โครงการ โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มขนาดเล็ก

ตำบล คีรีวง อำเภอ ปลายพระยา จังหวัด กระบี่


ที่มาของการต่อยอดโครงการ :

เมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๒๖ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ได้ทรงมีพระราชดำรัสแก่คณะข้าราชการที่ดำเนินการโครงการพัฒนาลุ่มน้ำคลองหอยโข่งและคลองจำไหร อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ จังหวัดนราธิวาส ให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ไปดำเนินการค้นคว้าวิจัยและพัฒนาโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มขนาดเล็กที่ใช้เงินลงทุนต่ำ เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรสวนปาล์มรายย่อยของประเทศไทยซึ่งขณะนั้นมีอยู่ประมาณ ๕,๐๐๐ ครอบครัว ได้มีโอกาสรวมกลุ่มกันสร้างโรงงานเพื่อสกัดน้ำมันปาล์มดิบจำหน่าย และนำผลพลอยได้ต่างๆ เช่น ทะลายเปล่า กากเส้นใย และกะลา มาใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น

เมื่อวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๒๘ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตรโรงงานสาธิตต้นแบบที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และในวันนั้นพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชได้ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้ทางโครงการฯ ไปพิจารณาเลือกกลุ่มเกษตรกรสวนปาล์มที่มีความพร้อมที่สุด และขอความร่วมมือให้จัดตั้งโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มขนาดเล็กเพื่อทำการทดสอบความเป็นไปได้ในเชิงพาณิชย์ว่า ควรจะมีขนาดกำลังผลิตเท่าไร คุณภาพน้ำมันเป็นอย่างไร และสามารถดำเนินการในเชิงธุรกิจให้มีกำไรได้หรือไม่ ทั้งนี้ให้จัดตั้งโรงงานทดสอบให้ได้ภายในปี พ.ศ. ๒๕๒๙

เมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จมาทอดพระเนตรโรงงานแห่งนี้และทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้สหกรณ์นิคมอ่าวลึก จำกัด นำกากปาล์มไปใช้เป็นอาหารสัตว์ในท้องถิ่นสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชด้วย

เมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๓๖ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จมาที่โรงงานแห่งนี้อีกครั้งหนึ่ง โดยได้ทรงนำคณะอาจารย์และนักเรียนจากโรงเรียน นายร้อยพระจุลจอมเกล้า มาทัศนศึกษาดูกระบวนการผลิตของโรงงานและทรงนำคณะอาจารย์และนักเรียนไปชมโรงงานกลั่นน้ำมันปาล์มที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง จังหวัดนราธิวาส หลังจากการเยี่ยมชมโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มที่อ่าวลึก

เมื่อวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๔๐ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จแปรพระราชฐานมาทรงตรวจเยี่ยมชมโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มชนิดแยกน้ำมันเปลือกและเครื่องแยกผลปาล์มออกจากทะลายที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ จังหวัดนราธิวาส และได้ทรงมีพระราชดำรัสรับสั่งถามถึงการดำเนินงานของโรงงานที่สหกรณ์นิคมอ่าวลึก จำกัด เมื่อได้ทรงทราบว่าโรงงานได้หยุดดำเนินการไป เนื่องจากประสบปัญหาเรื่องการบริหารจัดการและเครื่องจักรเสื่อมสภาพ จึงได้ทรงมีพระราชดำริให้สหกรณ์นิคมอ่าวลึก จำกัด ดำเนินการใหม่อีกครั้งโดยขอให้ทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ไปจัดการฝึกอบรมพนักงานของสหกรณ์นิคมอ่าวลึก จำกัด ด้านการบริหารจัดการ การซ่อมบำรุง การวิเคราะห์ต้นทุน และการควบคุมการผลิต ฯลฯ และให้สำนักงาน กปร. เดินทางไปตรวจสอบสภาพเครื่องจักรและโรงงานที่สหกรณ์นิคมอ่าวลึก จำกัด จังหวัดกระบี่

เมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จฯ มาทอดพระเนตรโรงงานฯ และทรงมีพระราชกระแสรับสั่งว่า พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชทรงเป็นห่วงโรงงานฯ สหกรณ์นิคมอ่าวลึก จำกัด มาก ทรงฝากความหวังไว้กับโรงงานนี้ เพื่อที่จะเป็นตัวอย่างในการผลิตพลังงานทดแทนให้ได้ในอนาคต

การดำเนินการสนองพระราชดำริ : ปี พ.ศ. ๒๕๒๗ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้ดำเนินการสนองพระราชดำริ โดยจัดตั้งโครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มขนาดเล็กอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ผาสุข กุลละวณิชย์ เป็นหัวหน้าโครงการ และได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงาน กปร. จำนวน ๔๕๘,๘๐๐ บาท โดยการดำเนินงานแบ่งออกเป็น ๒ โครงการย่อย คือ

๑. สำรวจปัญหาความต้องการของเกษตรกรสวนปาล์มรายย่อยในจังหวัดสตูล ตรัง กระบี่ สุราษฎร์ธานี และชุมพร

๒. ทำการค้นคว้าวิจัยและพัฒนากระบวนการสกัดน้ำมันปาล์มที่เหมาะสมสำหรับโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มขนาดเล็ก และได้เลือกใช้ระบบทอดผลปาล์ม เนื่องจากทำได้ง่าย ลงทุนต่ำ และไม่มีน้ำเสียจากกระบวนการผลิต โดยได้จัดตั้งโรงงานสาธิตต้นแบบขึ้นที่บริเวณหลังโรงหล่อ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ต่อมาโครงการฯ ได้คัดเลือกกลุ่มเกษตรกรของสหกรณ์นิคมอ่าวลึก จำกัด จังหวัดกระบี่ โดยมีนายตอบ คงปาน เป็นประธานสหกรณ์ฯ และนายเพชร ศิรินุพงศ์ เป็นหัวหน้าหน่วยนิคมสหกรณ์อ่าวลึก มาบริหารโครงการฯ และได้จัดสร้างโรงงานทดสอบขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๙ ในช่วงแรกใช้ระบบทอดผลปาล์มในกระทะใบบัว และพัฒนาเป็นรางเกลียว การดำเนินงานในระยะปีแรกๆ ประสบกับการขาดทุน เนื่องจากกระบวนการผลิตโดยเฉพาะรางเกลียวควบคุมอุณหภูมิทอดได้ยาก ทำให้น้ำมันมีสีคล้ำ และเครื่องหีบมีประสิทธิภาพไม่สูงพอ

ในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ ทางโครงการฯ ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงาน กปร. จำนวน ๑๘๑,๔๐๐ บาท สมทบกับเงินกองทุนพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มขนาดเล็กอีก ๑๗๗,๒๐๐ บาท ปรับปรุงกระบวนการผลิตเป็นระบบการทอดภายใต้สภาพสุญญากาศขึ้นเป็นผลสำเร็จ และสามารถดำเนินการในเชิงพาณิชย์ได้ เนื่องจากคุณภาพของน้ำมันปาล์มได้มาตรฐาน สีไม่คล้ำ และกรดไม่สูง ประสิทธิภาพการหีบน้ำมันสูง เนื่องจากได้เปลี่ยนเครื่องหีบใหม่แต่น้ำมันปาล์มที่สกัดได้เป็นน้ำมันผสมระหว่างน้ำมันปาล์มกับน้ำมันเมล็ดในเรียกว่า น้ำมันผสมเกรดบี

ในปี พ.ศ.๒๕๓๗-๒๕๓๙ สหกรณ์นิคมอ่าวลึก จำกัด ได้ดำเนินการโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มขนาดเล็กนี้มาโดยตลอด แต่ประสบปัญหาคุณภาพน้ำมัน ปัญหาด้านการบริหารจัดการ และปัญหาด้านเทคนิค ซึ่งทางโครงการฯ ได้ส่งนายชิต ลิ่มวรพันธ์ ผู้เชี่ยวชาญประจำโครงการฯ มาช่วยให้คำปรึกษาแนะนำและแก้ปัญหาให้ ในปี พ.ศ.๒๕๓๙ สหกรณ์นิคมอ่าวลึก จำกัด ได้รับพระราชทานเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำจากมูลนิธิชัยพัฒนา จำนวน ๖๓๔,๐๐๐ บาท มาสร้างเครื่องแยกผลปาล์มออกจากทะลายปาล์มสด เพื่อจะใช้แยกผลปาล์มร่วงออกจากทะลายเพื่อให้คุณภาพของ ผลปาล์มดีขึ้น แต่ในที่สุดสหกรณ์ฯ ก็หยุดดำเนินการไปในช่วงปลายปี พ.ศ.๒๕๓๙ จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๔๐

ในปี ๒๕๔๐ สำนักงาน กปร. ได้อนุมัติเงินสนับสนุนจำนวน ๕๓๑,๐๐๐ บาท เพื่อปรับปรุงเครื่องจักรอุปกรณ์ และสร้างถังเก็บน้ำมันขนาด ๓๐ ตัน ขึ้นเพื่อเพิ่มขนาดของถังเก็บ

๓. การดำเนินงานจัดสร้างโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มขนาด ๒ ตันทะลายต่อชั่วโมง ที่สหกรณ์นิคมอ่าวลึก จำกัด จังหวัดกระบี่

ในช่วงปลายปี พ.ศ.๒๕๔๓ คณะทำงานโครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มขนาดเล็กอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับอนุมัติงบประมาณสนับสนุนจากมูลนิธิชัยพัฒนา จำนวน ๗,๙๖๐,๐๐๐ บาท เพื่อจัดสร้างโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มขนาดกำลังผลิต ๒ ตันทะลายต่อชั่วโมง เพื่อบริโภคและใช้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงทดแทนน้ำมันดีเซล สนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช โดยได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เดือนมกราคม ๒๕๔๔ จนถึงปัจจุบัน สรุปได้ว่า ได้ทำการก่อสร้างและปรับปรุงอาคาร สร้างเครื่องจักร และติดตั้งเครื่องจักรอุปกรณ์ ทั้งเครื่องจักรใหม่และเครื่องจักรที่ย้ายมาจากโรงงานเก่า ติดตั้งถังเก็บน้ำมันปาล์ม เกลียวลำเลียง เดินท่อวาล์ว ติดตั้งปั๊ม และหุ้มฉนวน งานไฟฟ้าแรงสูง และระบบไฟฟ้าแสงสว่าง รวมใช้งบประมาณไปทั้งสิ้น ๑๑,๑๑๓,๗๔๗ บาท

สำหรับงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติมนั้น ประกอบด้วยเงินงบประมาณสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำนวน ๑,๔๔๑,๐๐๐ บาท รวมกับเงินกองทุนสนับสนุนโครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มขนาดเล็กอีก ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท สำหรับ สหกรณ์นิคมอ่าวลึก จำกัด มีมติให้การสนับสนุน ๒๐๐,๐๐๐ บาท และได้รับเงินบริจาคจากผู้มี จิตศรัทธา จำนวน ๗๐๐,๐๐๐ บาท

ปี พ.ศ. ๒๕๒๗ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้ดำเนินการสนองพระราชดำริ โดยจัดตั้งโครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มขนาดเล็กอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ผาสุข กุลละวณิชย์ เป็นหัวหน้าโครงการ และได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงาน กปร. จำนวน ๔๕๘,๘๐๐ บาท โดยการดำเนินงานแบ่งออกเป็น ๒ โครงการย่อย คือ

๑. สำรวจปัญหาความต้องการของเกษตรกรสวนปาล์มรายย่อยในจังหวัดสตูล ตรัง กระบี่ สุราษฎร์ธานี และชุมพร

๒. ทำการค้นคว้าวิจัยและพัฒนากระบวนการสกัดน้ำมันปาล์มที่เหมาะสมสำหรับโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มขนาดเล็ก และได้เลือกใช้ระบบทอดผลปาล์ม เนื่องจากทำได้ง่าย ลงทุนต่ำ และไม่มีน้ำเสียจากกระบวนการผลิต โดยได้จัดตั้งโรงงานสาธิตต้นแบบขึ้นที่บริเวณหลังโรงหล่อ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ต่อมาโครงการฯ ได้คัดเลือกกลุ่มเกษตรกรของสหกรณ์นิคมอ่าวลึก จำกัด จังหวัดกระบี่ โดยมีนายตอบ คงปาน เป็นประธานสหกรณ์ฯ และนายเพชร ศิรินุพงศ์ เป็นหัวหน้าหน่วยนิคมสหกรณ์อ่าวลึก มาบริหารโครงการฯ และได้จัดสร้างโรงงานทดสอบขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๙ ในช่วงแรกใช้ระบบทอดผลปาล์มในกระทะใบบัว และพัฒนาเป็นรางเกลียว การดำเนินงานในระยะปีแรกๆ ประสบกับการขาดทุน เนื่องจากกระบวนการผลิตโดยเฉพาะรางเกลียวควบคุมอุณหภูมิทอดได้ยาก ทำให้น้ำมันมีสีคล้ำ และเครื่องหีบมีประสิทธิภาพไม่สูงพอ

ในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ ทางโครงการฯ ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงาน กปร. จำนวน ๑๘๑,๔๐๐ บาท สมทบกับเงินกองทุนพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มขนาดเล็กอีก ๑๗๗,๒๐๐ บาท ปรับปรุงกระบวนการผลิตเป็นระบบการทอดภายใต้สภาพสุญญากาศขึ้นเป็นผลสำเร็จ และสามารถดำเนินการในเชิงพาณิชย์ได้ เนื่องจากคุณภาพของน้ำมันปาล์มได้มาตรฐาน สีไม่คล้ำ และกรดไม่สูง ประสิทธิภาพการหีบน้ำมันสูง เนื่องจากได้เปลี่ยนเครื่องหีบใหม่แต่น้ำมันปาล์มที่สกัดได้เป็นน้ำมันผสมระหว่างน้ำมันปาล์มกับน้ำมันเมล็ดในเรียกว่า น้ำมันผสมเกรดบี

ในปี พ.ศ.๒๕๓๗-๒๕๓๙ สหกรณ์นิคมอ่าวลึก จำกัด ได้ดำเนินการโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มขนาดเล็กนี้มาโดยตลอด แต่ประสบปัญหาคุณภาพน้ำมัน ปัญหาด้านการบริหารจัดการ และปัญหาด้านเทคนิค ซึ่งทางโครงการฯ ได้ส่งนายชิต ลิ่มวรพันธ์ ผู้เชี่ยวชาญประจำโครงการฯ มาช่วยให้คำปรึกษาแนะนำและแก้ปัญหาให้ ในปี พ.ศ.๒๕๓๙ สหกรณ์นิคมอ่าวลึก จำกัด ได้รับพระราชทานเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำจากมูลนิธิชัยพัฒนา จำนวน ๖๓๔,๐๐๐ บาท มาสร้างเครื่องแยกผลปาล์มออกจากทะลายปาล์มสด เพื่อจะใช้แยกผลปาล์มร่วงออกจากทะลายเพื่อให้คุณภาพของ ผลปาล์มดีขึ้น แต่ในที่สุดสหกรณ์ฯ ก็หยุดดำเนินการไปในช่วงปลายปี พ.ศ.๒๕๓๙ จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๔๐

ในปี ๒๕๔๐ สำนักงาน กปร. ได้อนุมัติเงินสนับสนุนจำนวน ๕๓๑,๐๐๐ บาท เพื่อปรับปรุงเครื่องจักรอุปกรณ์ และสร้างถังเก็บน้ำมันขนาด ๓๐ ตัน ขึ้นเพื่อเพิ่มขนาดของถังเก็บ

๓. การดำเนินงานจัดสร้างโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มขนาด ๒ ตันทะลายต่อชั่วโมง ที่สหกรณ์นิคมอ่าวลึก จำกัด จังหวัดกระบี่

ในช่วงปลายปี พ.ศ.๒๕๔๓ คณะทำงานโครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มขนาดเล็กอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับอนุมัติงบประมาณสนับสนุนจากมูลนิธิชัยพัฒนา จำนวน ๗,๙๖๐,๐๐๐ บาท เพื่อจัดสร้างโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มขนาดกำลังผลิต ๒ ตันทะลายต่อชั่วโมง เพื่อบริโภคและใช้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงทดแทนน้ำมันดีเซล สนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชโดยได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เดือนมกราคม ๒๕๔๔ จนถึงปัจจุบัน สรุปได้ว่า ได้ทำการก่อสร้างและปรับปรุงอาคาร สร้างเครื่องจักร และติดตั้งเครื่องจักรอุปกรณ์ ทั้งเครื่องจักรใหม่และเครื่องจักรที่ย้ายมาจากโรงงานเก่า ติดตั้งถังเก็บน้ำมันปาล์ม เกลียวลำเลียง เดินท่อวาล์ว ติดตั้งปั๊ม และหุ้มฉนวน งานไฟฟ้าแรงสูง และระบบไฟฟ้าแสงสว่าง รวมใช้งบประมาณไปทั้งสิ้น ๑๑,๑๑๓,๗๔๗ บาท

สำหรับงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติมนั้น ประกอบด้วยเงินงบประมาณสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำนวน ๑,๔๔๑,๐๐๐ บาท รวมกับเงินกองทุนสนับสนุนโครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มขนาดเล็กอีก ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท สำหรับ สหกรณ์นิคมอ่าวลึก จำกัด มีมติให้การสนับสนุน ๒๐๐,๐๐๐ บาท และได้รับเงินบริจาคจากผู้มี จิตศรัทธา จำนวน ๗๐๐,๐๐๐ บาท

๑. มูลนิธิชัยพัฒนา ๗,๙๖๐,๐๐๐ บาท

๒. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ๑,๔๔๑,๐๐๐ บาท

๓. กองทุนพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มขนาดเล็ก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท

๔. เงินบริจาคสมทบ ๗๐๐,๐๐๐ บาท

๕. เงินสนับสนุนจากสหกรณ์นิคมอ่าวลึก จำกัด ๒๐๐,๐๐๐ บาท

รวม ๑๑,๓๐๑,๐๐๐ บาท

เริ่มดำเนินการผลิตตั้งแต่ ปี ๒๕๔๖ เป็นต้นมา โดยในช่วงแรกทางโรงงานยังประสบปัญหาต่างๆ ทั้งเรื่องทางเทคนิค การบริหารจัดการ จึงได้มีการปรับปรุงแก้ไขปัญหาต่างๆ จนสามารถดำเนินการผลิตได้จนประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่ง

๔. การดำเนินการโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม

ในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ สหกรณ์นิคมอ่าวลึก จำกัด ได้สร้างโรงงานผลิตไบโอดีเซลขนาดกำลังผลิต ๔๐๐ ลิตรต่อวัน โดยใช้น้ำมันปาล์มดิบทอดซ้ำของโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มเป็นวัตถุดิบ จำหน่ายไบโอดีเซลให้กับสมาชิก

ปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้รับงบประมาณจากกรมส่งเสริมสหกรณ์ ๔ ล้านบาท ทำการปรับปรุงกระบวนการผลิต แยกเส้นใยไปทำเป็นเชื้อเพลิง และแยกเมล็ดปาล์มออกมาจำหน่ายเป็นผลิตผลพลอยได้ ทำให้ลดต้นทุนค่าเชื้อเพลิงและมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายเมล็ดปาล์ม

ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ได้รับงบประมาณ ๑.๗ ล้านบาท จากจังหวัดกระบี่ เพื่อขยายกำลังผลิตเพิ่มหม้อทอดผลปาล์มขนาด ๔ ตัน อีก ๑ ลูก ทำให้มีกำลังผลิตสูงขึ้นเป็น ๓ ตันทะลายต่อชั่วโมง

เพื่อให้สามารถดำเนินการตามโครงการได้ในเชิงพาณิชย์ จึงจำเป็นต้องพัฒนาระบบและกำลังผลิตให้เหมาะสมขึ้น จึงได้ทำการปรับปรุงกระบวนการผลิตเพิ่มเครื่องจักรชุดแยกเส้นใยและเมล็ด (เส้นใยใช้เป็นเชื้อเพลิงแทนไม้ฟืน , เมล็ดจำหน่าย) โดยได้รับงบประมาณเงินอุดหนุนจากกรมส่งเสริมสหกรณ์ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๔ จำนวน ๔ ล้านบาท และดำเนินการแล้วเสร็จ ในเดือนธันวาคม ๒๕๕๔ และเริ่มผลิตในเดือนมกราคม ๒๕๕๕


สภาพโรงงาน ณ ปัจจุบัน ซึ่งอยู่ระหว่างการพัฒนาดำเนินการใน ๒ โครงการย่อย ได้แก่

๑) โครงการแยกสกัดน้ำมันปาล์มดิบ และ ๒) โครงการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลเพื่อพลังงานทดแทน