โครงการ อ่างยะลูตง ๒
ตำบล กาเยาะมาตี อำเภอ บาเจาะ จังหวัด นราธิวาส
ที่มาของการต่อยอดโครงการ :
เนื่องด้วยวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๒๐ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชได้เสด็จพระราชดำเนิน ทอดพระเนตรโครงการระบายน้ำยี่งอ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส โครงการระบายน้ำไม้แก่น กิ่งอำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี และพื้นที่ในเขตโครงการระบายน้ำบาเจาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส ได้มีพระราชดำริ "ควรพิจารณาวางโครงการและก่อสร้างอ่างเก็บน้ำในลำน้ำต่างๆบริเวณเทือกเขาบูโด ด้านทะเลและก่อสร้างระบบส่งน้ำจากอ่างเก็บน้ำ เพื่อส่งน้ำให้แก่พื้นที่นาบริเวณเชิงเทือกเขาบูโดจนจดขอบพรุบาเจาะ ตามความเหมาะสม ซึ่งจะเป็นการเชื่อมโยงกับโครงการระบายน้ำพรุบาเจาะ ทำให้สามารถส่งน้ำ ระบายน้ำและบรรเทาอุทกภัยให้แก่พื้นที่นาตั้งแต่บริเวณเชิงเทือกเขาบูโดจนจดพรุบาเจาะได้อย่างสมบูรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอ่างเก็บน้ำห้วยหินอาบ ที่หมู่บ้านยะลูตง อำเภอบาเจาะ ทำเลที่สร้างอ่างเก็บน้ำมีความเหมาะสมมากสมควรพิจารณาวางโครงการเป็นอันดับแรกโดยเร่งด่วน เนื่องจากราษฎรได้สร้างระบบเก็บน้ำท้ายอ่างเก็บน้ำไว้แล้ว แต่ปัจจุบันฝายทดน้ำของราษฎรชำรุด ควรพิจารณาปรับปรุงฝายแห่งนี้พร้อมทั้งสร้างอาคารบังคับน้ำปากคลองส่งน้ำให้ถาวรต่อไป "
เมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๓๐ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรโครงการฝายทดน้ำบ้านปาแดกือแย ตำบลปะลุกาสาเมาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาสได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับงานชลประทาน ดังต่อไปนี้ "ควรพิจารณาวางโครงการและก่อสร้าง อ่างเก็บน้ำบ้านยะลูตง ๒ ตำบลกาเยาะมาตี อำเภอบาเจาะ และโครงการอื่นๆ เพื่อช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกในเขตอำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส "
วัตถุประสงค์ของโครงการ
- อุปโภค-บริโภค ๓ หมู่บ้าน ๖๕๐ ครัวเรือน
- การเกษตร ๔๐๐ ไร่
- การใช้ประโยชน์จากโครงการปัจจุบัน
- อุปโภค-บริโภค ๓ หมู่บ้าน ๖๕๐ ครัวเรือน
- การเกษตร ๔๐๐ ไร่
ลักษณะโครงการ
ข้อมูลอุทกวิทยา
พื้นที่รับน้ำเหนืออ่างเก็บน้ำ ๓ ตารางกิโลเมตร
ก่อสร้างปี ๒๕๓๑ งบประมาณ ๙,๙๘๒,๐๐๐ บาท
ทำนบดินกว้าง ๖.๐๐ เมตร ยาว ๔๒๖.๐๐ เมตร สูง ๑๒.๐๐ เมตร จำนวน ๑ แห่ง
ทางระบายน้ำล้นขนาดกว้าง ๓.๐๐ ยาว ๑๒๖.๒๕ เมตร สูง ๔.๐๐ เมตร จำนวน ๑ แห่ง
ท่อระบายน้ำ ขนาด ๑ ø ๐.๓๐ เมตร ยาว ๗๐ เมตร จำนวน ๑ แห่ง
ท่อระบบส่งน้ำ ขนาด ๑ ø ๐.๓๐ เมตร , ๐.๑๕ เมตร ยาว ๒+๘๖๐ กิโลเมตร
ถังกรองน้ำและถังเก็บน้ำขนาด ๑๐ ลูกบาศก์เมตร จำนวน ๓ แห่ง
การบริหารจัดการน้ำ
ได้ดำเนินการประชุมชี้แจงทำความเข้าใจรูปแบบของโครงการพร้อมรับฟังความคิดเห็นด้านต่างๆ จากราษฎรที่ได้รับประโยชน์จากโครงการที่จะดำเนินการ (Public Hearing) แล้วจัดตั้งเมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๓๕
ประเภทโครงการ : โครงการพัฒนาด้านแหล่งน้ำ