๒๒ ธันวาคม ๒๕๖๗

โครงการ พัฒนาพื้นที่พรุบาเจาะ - ไม้แก่นอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (ประตูระบายน้ำปากคลองบาเจาะ-ไม้แก่น)

ตำบลบาเระใต้ ตำบล บาเระใต้ อำเภอ บาเจาะ จังหวัด นราธิวาส


ที่มาของการต่อยอดโครงการ :

ในการเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปประทับแรม ณ พระตำหนักทักษิฯราชนิเวศน์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๗ เพื่อทรงเยี่ยมราษฎรในจังหวัดนราธิวาส และจังหวัดใกล้เคียง พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชทรงทราบว่า พื้นที่บริเวณพรุบาเจาะเป็นหนองน้ำ (พรุ) ไร้ประโยชน์ และราษฎรที่อาศัยอยู่ในบริเวณขอบพรุในเขตอำเภอบาเจอะ อำเภอยี่งอ และอำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส และกิ่งอำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี ประสบปัญหาน้ำท่วมเนื่องจากน้ำป่าจากภูเขาไปลงสู่พรุ จึงพระราชทานพระราชดำริกับอธิบดีกรมชลประทานได้พิจารณาหาทางแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ ดังกล่าว

อนึ่งใน พ.ศ. ๒๕๑๙ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎร ณ หมู่บ้านลูโบะดาโต๊ะ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส ได้พระราชทานพระราชดำริกับอธิบดีกรมชลประทานเพิ่มเติมว่า นอกจากการระบายน้ำโดยคลองระบายน้ำของโครงการพรุบาเจาะแล้ว สำหรับพื้นที่ขอบพรุด้านก่ิงอำเภอไม้แก่น ซึ่งมีลำน้ำธรรมชาติไหลลงสู่ทะเลทางลำน้ำกอตออีกทางหนึ่ง หากทำการขุดลอกคลองธรรมชาติและขุดลอกคลองระบายน้ำเพิ่มเติมตามความจำเป็นพร้อมทั้งสร้างอาคารบังคับน้ำ เพื่อการระบายในฤดูฝนและเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งก็จะช่วยพื้นที่นาในเขตกิ่งอำเภอไม้แก่นได้อีกไม่น้อยกว่า ๓๐,๐๐๐ ไร่ จึงพระราชทานพระราชดำริให้กรมชลประทานพิจารณาโครงการ เพื่อช่วยเหลือพื้นที่นาในบริเวณเหล่านี้ด้วย

วัตถุประสงค์ของโครงการ : เพื่อระบายน้ำออกจากพรุลงสู่ทะเลให้เร็วขึ้น อันเป็นการบรรเทาอุทกภัยให้แก่พื้นที่ตามขอบพรุในช่วงฤดูฝน และเก็บกักน้ำไว้ใช้เพื่อการเพาะปลูกได้ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชได้พระราชทานพระราชดำริ ให้มีการปรับปรุงพื้นที่เหล่านั้นแล้วจัดสรรให้ราษฎรเข้าทำกินและทำประโยชน์โดยจัดตั้งในรูปของสหกรณ์ต่อไป 

การใช้ประโยชน์จากโครงการในปัจจุบัน : เพื่อการระบายน้ำออกจากพรุลงสู่ทะเลให้เร็วขึ้น อันเป็นการบรรเทาปัญหาอุทกภัย ให้แก่พื้นที่ตามขอบพรุในช่วงฤดูฝน และเก็บกักน้ำไว้เพื่อการเพาะปลูกในฤดูแล้ง สำหรับพื้นที่ใหม่ซึ่งบุกเบิกแล้วนำมาใช้เพาะปลูกได้ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชได้พระราชทานพระราชดำริ ให้มีการปรับปรุงพื้นที่เหล่านั้นแล้วจัดสรรให้ราษฎรเข้าทำกันและทำประโยชน์โดยจัดตั้งในรูปของสหกรณ์ต่อไป ประมาณ ๙๔,๐๐๐ ไร่ 

ลักษณะโครงการ สร้างปี พ.ศ. ๒๕๓๑

ประตูระบายน้ำปากคลองบาเจาะ ขนาดช่องระบายน้ำกว้าง ๔.๐๐ เมตร จำนวน ๒ ช่อง และติดตั้งบานประตูแบบเลื่อนตรงและติดตั้งเครื่องสูบน้ำขนาดกำลังสูบ ๐.๒๕ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที 

ลักษณะเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาดช่องระบายน้ำกว้าง ๔ เมตร จำนวน ๒ ช่อง ติดตั้งบานประตูแบบตรงและติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ขนาดกำลังสูบ ๐.๒๕ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ช่วยสูบน้ำเสริมในขณะที่ระดับน้ำในคลองลดลง) สร้างคันคลองระบายน้ำบาเจาะ กิโลเมตรที่ ๐+๔๐๐ เพื่อควบคุมระดับน้ำในคลองระบายน้ำบาเจาะให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมรวมถึงระดับน้ำใต้ดินบริเวณสองฝั่งคลองระบายน้ำบาเจาะ ป้องกันปัญหาดินเปรี้ยวและเพื่อการอุปโภคบริโภค ในบริเวณกรมทหารราบที่ ๕ รักษาพระองค์ค่ายจุฬาภรณ์อีกด้วย (งานปรับปรุงโครงการปี ๒๕๓๑)

การบริหารจัดการน้ำ

มีการเปิด-ปิดประตูระบายน้ำเพื่อเก็บกักระดับน้ำในช่วงฤดูแล้ง และระบายน้ำท่วมในช่วงฤดูฝน

ปัญหาและอุปสรรค

     - ด้านโครงสร้าง (ไม่มี)

     - ด้านการบริหารจัดการ (ไม่มี)

     - ด้านการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำ (ไม่มี)

แนวทางการพิจารณาแก้ไขปัญหา

    - ด้านโครงสร้าง (ไม่มี)

    - ด้านการบริหารจัดการ (ไม่มี)

    - ด้านการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำ (ไม่มี)

ข้อมูลการเสด็จพระราชดำเนิน (ไม่มี)

ประเภทโครงการ : โครงการพัฒนาด้านแหล่งน้ำ