๒๒ ธันวาคม ๒๕๖๗

โครงการ อ่างเก็บน้ำคลองดินแดงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ตำบล เขาพระ อำเภอ พิปูน จังหวัด นครศรีธรรมราช


ที่มาของการต่อยอดโครงการ :

สืบเนื่องมาจากเมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน ๒๕๓๑ ได้เกิดอุทกภัยในเขตจังหวัดภาคใต้ของประเทศไทยบริเวณอำเภอฉวาง

อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช และอำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิต ทรัพย์สิน

และที่ทำกินของราษฎรในบริเวณนั้นเป็นจำนวนมาก จากสาเหตุดังกล่าว พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชจึงทรงมีพระราชดำริ

ให้กรมชลประทานหาทางป้องกันและบรรเทาอุทกภัยในเขตพื้นที่ของแม่น้ำตาปีตอนล่าง ดังนั้นโครงการอ่างเก็บน้ำเขื่อนคลองดินแดง

อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช จึงเป็นโครงการหนึ่งที่เกิดขึ้นเพื่อสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช

วัตถุประสงค์ของโครงการ

การก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำเขื่อนคลองดินแดงนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการบรรเทาอุทกภัยในเขตพื้นที่ของลุ่มแม่น้ำตาปีตอนล่าง

และเพื่อการเกษตรในพื้นที่ชลประทาน ๙,๙๐๐ ไร่ นอกจากนั้นพื้นที่น้ำในอ่างเหนือเขื่อนยังใช้เป็นแหล่งพันธุ์ปลาน้ำจืดและใช้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดได้อีก

กรมชลประทาน เริ่มดำเนินการก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำคลองดินแดง เมื่อปีงบประมาณ 2539 แล้วเสร็จในปีงบประมาณ ๒๕๔๖

ที่ตั้งโครงการ

โครงการเขื่อนคลองดินแดง ตั้งอยู่บริเวณบ้านทุ่งร่อน ตำบลเขาพระ อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช

ที่พิกัด Latitude ๘ องศา - ๓๕ ลิปดา - ๔๒ พิลิปดา เหนือ Longitude ๙๙ องศา - ๓๖ ลิปดา - ๐๐ พิลิปดาตะวันออก

องค์ประกอบต่าง ๆ ของโครงการ

งานก่อสร้างเขื่อนหัวงานและอาคารประกอบเขื่อนคลองดินแดงประกอบไปด้วย

๑.งานปรับปรุงฐานราก (Foundation Treatment)

๒. เขื่อนดิน (Main Dam)

๓. เขื่อนดินปิดช่องเขาต่ำ (Saddle Dam)

๔. อาคารท่อส่งน้ำ (River Outlet)

๕. อาคารระบายน้ำล้น (Spillway)

๖. อาคารที่ทำการและบ้านพักถาวร

รายละเอียดของหัวงานต่าง ๆ ของงานก่อสร้าง

งานก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำเขื่อนคลองดินแดง ประกอบด้วย

๑. งานปรับปรุงฐานรากเขื่อน

- Soil Bentonite Cut-off wall ๒,๑๑๐.๐๐ เมตร

- Concrete Cut-off wall ยาว ๓๘๐.๐๐ เมตร

๒. เขื่อนดิน (Main Dam)

เขื่อนดินประเภท Homogeneous Type มีรายละเอียดดังนี้

- เขื่อนดินยาว ๒,๒๖๐ เมตร

- เขื่อนดินสูง ๒๔.๐๐ เมตร

- ระดับสันเขื่อน +๘๒.๐๐๐ ม.รทก.

- ระดับน้ำเก็บกักสูงสุด +๗๙.๐๐๐ ม.รทก.

- ระดับน้ำต่ำสุด +๖๙.๐๐๐ ม.รทก.

- ระดับท้องคลอง (โดยประมาณ) +๕๘.๐๐๐ ม.รทก.

- ความจุของอ่างฯ ที่ระดับน้ำเก็บกักสูงสุด ๖๐.๐๐ ล้าน ลบ.ม.

- ความจุของอ่างฯ ที่ระดับน้ำเก็บกักปกติ ๖๐.๐๐ ล้าน ลบ.ม.

- ปริมาณน้ำนองสะสมในอ่างฯ ๔๐.๐๐ ล้าน ลบ.ม.

(Flood Control Space Volume) - ความจุของอ่างที่ระดับน้ำต่ำสุด ๒๓.๐๐ ล้าน ลบ.ม.

- พื้นที่อ่างฯ ที่ระดับน้ำเก็บกักสูงสุด ๓,๖๐๐ ไร่

- พื้นที่รับน้ำฝน ๑๒๒.๐๐ ตร.กม.

๓. เขื่อนดินปิดช่องเขาต่ำ (Saddle Dam)

เขื่อนดินปิดช่องเขาต่ำมีระดับดังนี้

- เขื่อนดินยาว ๖๕.๐๐ เมตร

- เขื่อนดินสูง ๓.๕๐ เมตร

- ระดับสันเขื่อน +๘๒.๐๐๐ ม. รทก.

๔. อาคารท่อส่งน้ำ (River Outlet)

อาคารท่อส่งน้ำเป็นท่อคอนกรีตเสริมเหล็ก (Concrete Conduit With Steel Liner) ด้านท้าย

ท่อมี High Pressure Gate จำนวน ๒ บาน พร้อม

อาคารควบคุมต่อจากนั้นจะเป็น Transition

Chute มีรายละเอียดดังนี้

- เส้นผ่านศูนย์กลางท่อระบายน้ำ ๑.๘๐ เมตร

- ความยาวท่อระบายน้ำ ๒๓๘.๐๐ เมตร

- ระดับธรณีท่อ (Invert Elevation) +๖๙.๐๐๐ ม.รทก.

- อัตราการไหลปกติผ่านท่อระบายน้ำ ๑๐.๐๐ ลบ.ม./วินาที

- อัตราการไหลสูงสุดผ่านท่อระบายน้ำ ๒๐.๐๐ ลบ.ม./วินาที

๕. อาคารระบายน้ำล้น (Spillway)

อาคาระบายน้ำล้น เป็นแบบ Side Channcl Spillway

รับน้ำทางเดียว ลักษณะการรับน้ำเป็น Ogee Weir Crcst

มีรายละเอียดดังนี้

- ระดับสัน Spillway +๗๙.๐๐ ม.รทก.

- ความยาวสัน Spillway ๔๐.๐๐ เมตร

- อัตราการไหลสูงสุดผ่าน ๗๕.๓๒ ลบ.ม./วินาที - ระบายน้ำล้นสูงสุดที่ระดับ +๗๙.๙๒๔ เมตร

การจัดการน้ำ

เก็บกักน้ำและพร่องน้ำเพื่อป้องกันบรรเทาอุทกภัย และเลี้ยงลำน้ำธรรมชาติด้านท้ายอ่างด้วย

ระยะที่ ๑ ม.ค. – พ.ค. +๗๗.๐๐๐ ม.รทก.

ระยะที่ ๒ มิ.ย. – ก.ย. +๗๔.๐๐๐ ม.รทก.

ระยะที่ ๓ ต.ค. – ธ.ค. +๗๒.๕๐๐ ม.รทก.

ประเภทโครงการ : โครงการพัฒนาด้านแหล่งน้ำ