๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๘

โครงการ ฝายบ้านวังสมบูรณ์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ตำบล เขาปูน อำเภอ ห้วยยอด จังหวัด ตรัง


ที่มาของการต่อยอดโครงการ :

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้มีหนังสือที่ นร ๑๑๐๘/๑๘๖๔ ลงวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๔๒ ขอให้กรมชลประทานพิจารณากรณีนายทวี สุระบาล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรัง ได้มีหนังสือที่ ท.๑๒๓/๒๕๔๒ ลงวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๔๒ ถึงสำนักราชเลขาธิการ ขอให้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระมหากรุณาให้ทางราชการก่อสร้างฝายเก็บน้ำและคลองส่งน้ำบ้านวังสมบูรณ์ หมู่ที่ ๔ ตำบลเขาปูน เพื่อส่งน้ำช่วยเหลือการเกษตรและอุปโภค-บริโภค

สำนักชลประทานที่ ๑๕ กรมชลประทาน ได้ตรวจสอบพื้นที่แล้ว ได้รายงานไปยังสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) เห็นควรก่อสร้างฝายบ้านวังสมบูรณ์ พร้อมระบบส่งน้ำ และสำนักงาน กปร. ได้ทำเรื่องรายงาน ไปยังสำนักราชเลขาธิการ ตามหนังสือที่ นร๑๑๐๘/๒๐๘๖ ลงวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๔๕ และสำนักราชเลขาธิการ ได้แจ้งกลับมายังสำนักงาน กปร. ตามหนังสือที่ รล ๐๐๐๕.๕/๓๖๔๖ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ ว่าได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว มีพระราชกระแสว่า ภูมิประเทศเป็นลักษณะมี Sink Hole สงสัยว่าหน้าแล้งเกือบจะไม่มีน้ำ จะต้องจุดที่มีน้ำพุ สำนักงาน กปร. จึงแจ้งมายังกรมชลประทานให้ดำเนินการตามที่มีพระราชกระแสต่อไป

ต่อมาสำนักชลประทานที่ ๑๕ ส่วนวิศวกรรมธรณี สำนักสำรวจด้านวิศวกรรม และธรณีวิทยา นายช่างใหญ่ฝ่ายกิจกรรมพิเศษ (นญพ.) และผู้อำนวยการกองประสานงานโครงการ ๔ สำนักงาน กปร. ได้ร่วมกันตรวจสอบและพิจารณาพื้นที่แล้ว เห็นควรปรับปรุงรายงานการพิจารณาเบื้องต้น และปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค มีลู่ทางช่วยเหลือได้โดยการก่อสร้างฝายทดน้ำบ้านวังสมบูรณ์ พร้อมระบบส่งน้ำ

ผลการดำเนินงาน : ดำเนินการในปีงบประมาณ ๒๕๔๘ แล้วเสร็จ ๑๐๐% 

ปี ๒๕๔๘ กรมชลประทานดำเนินการก่อสร้างฝายทดน้ำคอนกรีตเสริมเหล็ก สูง ๒.๐๐ เมตร ยาว ๑๕.๐๐ เมตร พร้อมระบบส่งน้ำ ๒ สาย ความยาวรวม ๘,๑๐๐ เมตร ซึ่งระบบส่งน้ำจะสามารถส่งน้ำให้กับราษฎรได้อย่างทั่วถึง โดยได้กำหนดจุดจ่ายน้ำจำนวน 50 แห่ง

ทั้งนี้ จะเกิดประโยชน์กับราษฎรในพื้นที่ จำนวน ๒ หมู่บ้าน ๓๐๐ ครัวเรือน ๑,๕๐๐ คน พื้นที่การเกษตร ๒๐๐ ไร่ ได้มีน้ำสำหรับการอุปโภค-บริโภค ปัจจุบันได้มีการจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำเป็นที่เรียบร้อย ชื่อกลุ่มโครงการฝายบ้านวังสมบูรณ์ เมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๔๘


ปัญหาและอุปสรรคแนวทางการแก้ไข
๑. ด้านโครงสร้างทั่วไป 
- มีตะกอนและซากพืชทับถมจำนวนมากทำให้คุณภาพเสีย ตะกอนเข้าระบบท่อส่งน้ำ 
- จุดจ่ายน้ำไม่เพียงพอ 
- ระบบท่อส่งน้ำชำรุด/แตกบ่อย 
- ระบบส่งน้ำยังไม่ครอบคลุมเต็มพื้นที่ 
- ขุดลอกตะกอนบริเวณหน้าฝาย (งบ ๒๕๐,๐๐๐) 
- พิจารณาเพิ่มจุดจ่ายน้ำตามความเหมาะสม (งบ ๕๐,๐๐๐) 
- ซ่อมแซม เปลี่ยนท่อ PE เป็น PVC (งบ ๒๐๐,๐๐๐) 
- ขยายระบบท่อส่งน้ำให้ครอบคลุมเต็มพื้นที่ (งบ ๑,๐๐๐,๐๐๐) 

๒. ด้านการมีส่วนร่วมในการบริหารการจัดการน้ำ 
- ชาวบ้านยังไม่เข้าใจถึงวัตถุประสงค์การใช้น้ำ 
- ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบถึงวัตถุประสงค์ของการใช้น้ำ
๓. ด้านการบริหารจัดการน้ำ 
- ขาดการประชุมกับชาวบ้าน 
- ไม่มีการบอกให้เข้าใจเรื่องใช้น้ำ 
- จัดประชุมให้บ่อยขึ้น 
- จัดประชุมเพื่อชี้แจง 


            บริเวณหัวงานที่จะก่อสร้างฝาย                             บ้านเรือนราษฎรที่จะได้รับประโยชน์จากโครงการ

ภาพแสดงพื้นที่การเกษตรที่ได้รับประโยชน์

 

ภาพแสดงผลประโยชน์ที่ราษฎรได้รับ

ประเภทโครงการ : โครงการพัฒนาด้านแหล่งน้ำ