๒๒ ธันวาคม ๒๕๖๗

โครงการ ปรับปรุงฝายทดน้ำคลองเขาสูงและระบบท่อส่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

จังหวัด ตรัง


ที่มาของการต่อยอดโครงการ :

ด้วยสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้มีหนังสือ กร. ๐๐๐๗.๔/๑๓๒๙ ลงวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๐ ขอให้กรมชลประทานพิจารณากรณีนายวิศาตร แสงศรีนายกองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำผุดและนายจวบ สุดกิจ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปากแจ่ม อำเภอเมือง จังหวัดตรัง ได้มีหนังสือ ตง ๗๕๘๐๑/๒๐๓ ลงวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ขอพระราชทานพระมหากรุณาในการก่อสร้างฝายทดน้ำคลองเขาสูงพร้อมระบบท่อส่งน้ำ หมู่ที่ ๗ ตำบลน้ำผุด เพื่อช่วยเหลือราษฎรหมู่ที่ ๑ , ๗ และ ๑๒ ตำบลน้ำผุด และหมู่ที่ ๒ ตำบลปากแจ่ม อำเภอห้วยยอด ซึ่งประสบปัญหาขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภค-บริโภคและทำการเกษตร ต่อมาสำนักชลประทานที่ ๑๖ ร่วมกับสำนักงาน กปร. กลุ่มกิจกรรมพิเศษ องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำผุดพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อน ได้ตรวจสอบสภาพพื้นที่และศึกษาข้อมูลต่าง ๆ แล้ว เห็นว่าลู่ทางที่จะได้ความช่วยเหลือได้ โดยการก่อสร้างฝายคลองเขาสูง พร้อมระบบท่อส่งน้ำ และได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุรีพระบาทแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับโครงการปรับปรุงฝายทดน้ำคลองเข้าสูงพร้อมระบบท่อส่งน้ำ ไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๕๑

ผลการดำเนินงาน : ดำเนินการในปีงบประมาณ ๒๕๕๓ แล้วเสร็จ ๑๐๐% 

กรมชลประทานได้ดำเนินการปรับปรุงฝายทดน้ำคลองเขาสูงที่มีอยู่เดิม ซึ่งก่อสร้างไว้เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๙ ตัวฝายยังใช้การได้ แต่ไม่มีประตูระบายน้ำ ทำให้ตะกอนทรายทับถมด้านหน้าฝายและไหลเข้าท่อส่งน้ำ นอกจากนี้ ได้ดำเนินการปรับปรุงระบบท่อส่งน้ำ โดยเปลี่ยนจากท่อซีเมนต์ใยหินเป็นท่อ PVC ความยาวรวม ๓,๔๐๐.๐๐ เมตร ในการนี้ ได้มีการจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำเรียบร้อยแล้ว โดยใช้ชื่อว่า กลุ่มบริหารการใช้น้ำโครงการฝายทดน้ำคลองเขาสูงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ทั้งนี้ เพื่อให้ราษฎรบริหารจัดการน้ำกันเองให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ทั้งนี้ เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ จะสามารถส่งน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และทำการเกษตรให้กับราษฎรจำนวน ๓ หมู่บ้าน จำนวน ๒๐๐ ครัวเรือน ประชากร ๘๐๐ คน และพื้นที่การเกษตรตามแนวท่อส่งน้ำ จำนวน ๑๕๐ ไร่ ได้อย่างเพียงพอ

ประโยชน์ที่ได้รับ/ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ : สามารถแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค - บริโภค และการเกษตรของราษฎรในพื้นตำบลน้ำผุด อำเภอเมือง จังหวัดตรัง ในช่วงฤดูแล้ง จำนวน ๓ หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ ๑, ๗ และ ๑๒ ตำบลน้ำผุด อำเภอเมือง จังหวัดตรัง จำนวน ๒๐๐ ครัวเรือน ประชากรประมาณ ๘๐๐ คน ได้มีน้ำใช้เพียงพอตลอดทั้งปี และสามารถส่งน้ำช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร ตามแนวท่อส่งน้ำ ได้ประมาณ ๑๕๐ ไร่มีน้ำใช้ได้ตลอดปี 

ปัญหาและอุปสรรค :

๑.ด้านโครงสร้างทั่วไป

- ระบบท่อส่งน้ำ ชำรุดเสียหายเนื่องจากใช้งานมาเป็นเวลานาน จำเป็นต้องได้รับการซ่อมแซมอย่างเร่งด่วน เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของราษฎร โดยขอรับการสนับสนุนเงินงบประมาณในการดำเนินการซ่อมแซมดังกล่าว เฉพาะในส่วนของค่าวัสดุเท่านั้น (ค่าเเรงงานในการดำเนินการ กลุ่มบริหารการใช้น้ำชลประทาน รับที่จะนำสมาชิกผู้ใช้น้ำเข้ามาร่วมดำเนินการทั้งหมด)

แนวทางการแก้ไข

- ดำเนินการซ่อมเเซมระบบส่งน้ำที่ได้รับความเสียหาย ให้สามารถใช้งานได้ดังเดิมได้ดีดังเดิม

งบประมาณ

- ๑๐๐,๐๐๐ บาท


ปัญหาอุปสรรค์แนวทางแก้ไข
๑. ปริมาณน้ำต้นทุนไม่เพียงพอ โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งอยากให้ชลประทานหาวิธีการเพื่อเพิ่มพื้นที่เก็บน้ำ
๒. ท่อ อุปกรณ์ต่างๆ อาคารชลประทานเก่า ชำรุดเสียหายให้ทางชลประทานจัดหางบประมาณเพื่อเข้าซ่อมแซมฝาย ท่อ และอาคารชลประทาน
๓. กลุ่มผู้ใช้น้ำขาดความเข้มแข็งการบริหารจัดการน้ำจึงดำเนินการได้ยากให้ทางชลประทานและองค์กรในท้องถิ่นร่วมจัดประชุมกลุ่มผู้ใช้น้ำ เพื่อทำความเข้าใจถึงวิธีการใช้น้ำที่ถูกวิธี
๔. ปัญหาตะกอนทรายหน้าฝาย ทำให้ตื้นเขิน และมีทรายหรือกรวดหิน เข้าไปในท่อส่งน้ำให้มีการขุดตะกอนทรายหน้าฝายบ่อยๆ
๕. คุณภาพน้ำที่ได้จากโครงการชลประทานไม่สะอาดพอให้ทางชลประทานจัดหาวิธีการ เพื่อทำให้น้ำที่ได้มีคุณภาพที่ดีขึ้น


การปรับปรุงฝายทดน้ำคลองเขาสูงที่มีอยู่เดิม

การปรับปรุงระบบท่อส่งน้ำ

ซึ่งก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๙

โดยเปลี่ยนจากท่อซีเมนต์ใยหิน เป็นท่อ PVC ความยาวรวม ๓,๔๐๐.๐๐ เมตร

บ้านเรือนราษฎรที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

พื้นที่การเกษตรที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

โครงการปรับปรุงฝายทดน้ำคลองเขาสูงและระบบท่อส่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ประเภทโครงการ : โครงการพัฒนาด้านแหล่งน้ำ