๐๙ พฤษภาคม ๒๕๖๘

โครงการ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนพีระยานุเคราะห์ ๑ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ตำบล วังทอง อำเภอ วังสมบูรณ์ จังหวัด สระแก้ว


ที่มาของการต่อยอดโครงการ :

สังกัด กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๒ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว

สถานที่ตั้ง บ้านคลองชล หมู่ที่ ๑๑ เทศบาลตำบลวังทอง อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว พิกัดSV๘๐๖๗๔๗

ประวัติของโรงเรียน : โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนพีระยานุเคราะห์ฯ ๑ เดิมชื่อ “โรงเรียนบ้านคลองชล” จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๕ โดยประชาชนบ้านคลองชล และพระภิกษุสุวรรณ กิตติปัญโญ เจ้าอาวาสสำนักสงฆ์บ้านคลองชล ร่วมกันก่อตั้งเพื่อแก้ปัญหาการศึกษาของเด็ก เนื่องจากหมู่บ้านอยู่ห่างไกลจากโรงเรียนระดับประถมศึกษาของรัฐ เป็นระยะ ทาง ๖ กิโลเมตร คือโรงเรียนบ้านวังดารา ประกอบกับการคมนาคมไม่สะดวก โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน ถนนที่นักเรียนเดินไปโรงเรียนบ้านวังดารา มีน้ำท่วมขัง และมีลำคลองขวางกั้น ทำให้เด็กนักเรียนต้องหยุดเรียน และเรียนไม่ต่อเนื่อง ต่อมานายบรรจง คมขำ บริจาคที่ดินที่ใช้ในการประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม จำนวน ๕๐ ไร่ เป็นพื้นที่ตั้งโรงเรียน ประชาชน ร่วมกันสละทรัพย์และแรงงานก่อสร้าง อาคารเรียนแบบกึ่งถาวร ขนาดกว้าง ๖ เมตร ยาว ๓๒ เมตร หลังคามุงสังกะสี พื้นคอนกรีต คิดเป็นมูลค่า ๒๐๐,๐๐๐ บาท และจัดหาผู้ที่มีความรู้ความสามารถมาทำหน้าที่สอน และได้รับการสนับสนุนเครื่องเขียน แบบเรียน จากโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านคลองเจริญสุข,โรงเรียนบ้านวังดาราและการบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธา ให้การสนับสนุนในเบื้องต้น เมื่อปลายปี พ.ศ.๒๕๓๗ ประชาชนบ้านคลองชล ได้ประสานขอความอนุเคราะห์จาก กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๒ เพื่อสนับสนุนครูตำรวจตระเวนชายแดน ไปทำหน้าที่ครู และขอให้ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๒ รับโรงเรียนบ้านคลองชล เป็นโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๓๘ ซึ่งมีนักเรียนตั้งแตระดับปฐมวัยถึงระดับประถมศึกษาปีที่ ๖ จำนวน ๖๐ คน โดยมีดาบตำรวจ คำเลิศ แก้วรักษา ทำหน้าที่ครูใหญ่ ในปี พ.ศ.๒๕๓๘ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน มีความประสงค์จะจัดตั้งโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเฉลิมพระเกียรติขึ้น จำนวน ๔ โรงเรียน ในพื้นที่รับผิดชอบกองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาคละ ๑ โรงเรียน เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงครองราชสมบัติครบปีที่ ๕๐ ในโอกาสนี้ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายที่ ๑๒ ได้เสนอให้ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านคลองชล เป็นโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ (พีระยานุเคราะห์ มูลนิธิอุปถัมถ์) เมื่อวันที่ ๑ เดือน มิถุนายน ๒๕๓๘ มีชื่อเต็มว่า “โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนพีระยานุเคราะห์มูลนิธิอุปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในวโรกาสครองราชย์ปีที่ ๕๐”    

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมและติดตามผลการดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริ ฯ จำนวน ๒ ครั้ง

ครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม ๒๕๔๐

 ครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ๒๕๔๙

สรุปข้อมูลพื้นฐาน :

๑. โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนพีระยานุเคราะห์ ฯ ให้การบริการด้านการศึกษา ๑ หมู่บ้านได้แก่ บ้านคลองชล หมู่ ๑๑ ตำบลวังทอง อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว มีประชากร รวม ๖๗๘  คน แยกเป็น ๑๙๒ ครัวเรือน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรรม รายได้เฉลี่ยประมาณครัวเรือนละ ๒๐,๐๐๐ บาทต่อปี ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ โรงเรียนมัธยมที่อยู่ใกล้คือ โรงเรียนบ้านเขาแหลม ตั้งอยู่ หมู่ ๕ บ้านเขาแหลม เทศบาลตำบลวังทอง อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว ระยะทาง ๑๕ กิโลเมตร สาธารณสุขที่ใกล้ที่สุด คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนบ้านคลองเจริญสุข ระยะทาง ๖ กิโลเมตร และโรงพยาบาลวังน้ำเย็น ระยะทาง ๓๗ กิโลเมตร

๒. โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนพีระยานุเคราะห์ ฯ เปิดทำการเรียนการสอนมาตั้งแต่ ปีการศึกษา ๒๕๓๕ โดยเปิดทำการสอน ๒ ระดับ คือ ระดับปฐมวัย และ ระดับประถมศึกษาภาคการศึกษาที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๓๕

๒.๑ กลุ่มเป้าหมายของการพัฒนา

- มีจำนวนเด็กก่อนประถมศึกษาในชุมชน จำนวน ๑๕ คน

- จำนวนเด็กก่อนประถมศึกษาที่เข้าเรียนขั้นอนุบาล จำนวน ๒๕ คน

๒.๒ ข้อมูลนักเรียนประจำภาคการศึกษาที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๓๓

โรงเรียน มี เด็กปฐมวัย จำนวน ๔๑ คน , ระดับประถมศึกษา จำนวน ๓๙ คน รวมทั้งหมด ๘๐ คน

๒.๓ คณะกรรมการศึกษาในโรงเรียน จำนวน ๙ คน

๒.๔ ข้อมูลครูภาคการศึกษาที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๓๓ มี ครู ตชด.ทั้งหมด ๗ นาย

-ปริญญาตรี ๔ นาย ,ม.๖ ๑ นาย ม.๓ / ปวช. ๒ นาย

-ครูอัตราจ้างโดย อบจ.สระแก้ว สสน.งบประมาณ จำนวน 1 คน

-มีผู้ดูแลเด็กเล็กก่อนวัยเรียน จำนวน ๒ คน

โรงเรียนดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร มีผลการดำเนินงาน ดังนี้

วัตถุประสงค์ที่ ๑ ส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยของเด็กและเยาวชนเริ่มตั้งแต่ในครรภ์มารดา

- เด็กแรกเกิดถึง ๐ - ๓ ปี พื้นที่หมู่บ้านเขตบริการ เด็กรับการตรวจ ๘ คน

ตัวชี้วัดที่๑ – ๔ ไม่พบปัญหา

- ภาวะโภชนาการภาคการศึกษาที่ ๑ ปีการศึกษา ๑๕๕๓ ระดับปฐมวัย รับการตรวจ ๔๑ คน

ตัวชี้วัดที่ ๖ ร้อยละของเด็กปฐมวัยที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์อายุพบ ๑ คนคิดเป็นร้อยละ ๐.๔๑

ตัวชี้วัดที่ ๗ ร้อยละของภาวะเตี้ยในเด็กปฐมวัย พบ ๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๑.๖๔  เด็กประถมพบ ๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๑.๙๕

แนวทางแก้ไข ได้ปรึกษา จนท.อนามัยเพื่อร่วมแก้ไข ให้คำแนะนำกับผู้ปกครอง , การจัดอาหารเพิ่มด้วยคุณค่ามากกว่าปกติ และแจกจ่ายนมผงให้กับครอบครัว

ตัวชี้วัดที่ ๑๐-๑๒ ไม่พบปัญหา

วัตถุประสงค์ที่ ๒  ส่งเสริมและสนับสนุนการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชน

- ตัวชี้วัดที่ ๑๕ ร้อยละของเด็กปฐมวัย ที่ได้เข้าเรียนชั้นก่อนประถมศึกษา ปีที่ ๑ จำนวน ๑๕ คน เข้าเรียน ๑๕ คน คิดเป็น ๑๐๐

- ตัวชี้วัดที่ ๑๖ ร้อยละของเด็กนักเรียนที่ได้เรียนต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ ๑ จำนวน ๕ คน เข้าเรียน ๔ คน คิดเป็น ๑๐๐.๐๐

ข้อมูลนักเรียนในพระราชานุเคราะห์ฯตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๓๔-๒๕๕๓  มีนักเรียนในพระราชา นุเคราะห์ ฯ จำนวน ๑๙ คน

- จบการศึกษาและมีงานทำ จำนวน ๗ คน

- ออกกลางคัน ๒ คน สาเหตุที่ออก ความประพฤติไม่เหมาะสม ปัจจุบันประกอบอาชีพส่วนตัว

- กำลังศึกษา จำนวน ๑๐ คน แยกเป็นปริญญาตรี ๓ คน ,มัธยมปลาย ๑ คน มัธยมต้น ๖ คน

วัตถุประสงค์ที่ ๓ เสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนในการเรียนรู้ทางวิชาการ

ผลการประเมินคุณภาพนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ( NT) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ ๓ ปีการศึกษา ๒๕๕๒

คะแนนเฉลี่ย ภาษาไทย,คณิตศาสตร์,วิทยาศาสตร์ อยู่ในเกณฑ์ดี

ผลการประเมินคุณภาพนักเรียนระดับชาติขั้นพื้นฐาน O-net ของนักเรียน ชั้น ป.๖ ปีการศึกษา ๒๕๕๒

คะแนนเฉลี่ยรายวิชาทั้ง ๔ วิชา สูงกว่าระดับเขต และระดับประเทศ

ปัจจุบันโรงเรียน มีการจัดหาแหล่งเรียนรู้วิชาการทั้งในโรงเรียน กลุ่มเครือข่าย และในท้องถิ่นเพื่อให้นักเรียนได้รับการเรียนรู้ที่หลากหลาย และเรียนรู้โดยตรง

วัตถุประสงค์ที่ ๔ เสริมสร้างและพัฒนาทักษะเด็กและเยาวชนทางการอาชีพ

๑. การเสริมสร้างและพัฒนาทักษะของเด็กและเยาวชนด้านการเกษตรยั่งยืน

-ร.ร. ได้จัดให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นการศึกษาของเด็ก และประชาชนในพื้นที่

ผลผลิตทางการเกษตร : ภาคการศึกษาที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๓ โรงเรียนมีผลผลิตประเภทเนื้อสัตว์เพียงพอ ส่วนถั่วเมล็ดแห้ง ผลไม้และผัก ผลผลิตไม่เพียงพอเล็กน้อย เนื่องจากในระหว่างเทอมโรงเรียนได้ปรับพื้นที่ใหม่เพื่อให้เหมาะสมทุกฤดู และมีจำนวนเพียงพอกับความกับการผลิต แนวทางแก้ไข ร.ร.จัดซื้อเพิ่มเติมจากเงินโครงการอาหารกลางวัน และสามารถประกอบเลี้ยงได้เพียงพอต่อความต้องการของนักเรียนทุกคน 

การเสริมสร้างและพัฒนาทักษะของเด็กและเยาวชนด้านอาชีพที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น : 

  • การถนอมอาหาร ผลงานของนักเรียน กบทอดพีระยา,กล้วยฉาบพีระยา
  • การจักสานตะกร้าจากก้านมะพร้าว ผลงานของนักเรียน ตะกร้าสานใยรัก

การเสริมสร้างและพัฒนาทักษะของเด็กและเยาวชนด้านอาชีพที่จำเป็นสำหรับชีวิตประจำวัน :

  • การซ่อมรถจักรยาน ผลงานของนักเรียน สามารถซ่อมจักรยานได้
  • ตัดผม ผลงานของนักเรียน สามารถตัดผมให้นักเรียนใน ร.ร.ได้

การเสริมสร้างและพัฒนาทักษะและพฤติกรรมของเด็กและเยาวชนด้านสหกรณ์ :

  • ส่งเสริมการศึกษาวิชาสหกรณ์ ผลงานของนักเรียน ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ การบันทึกรายงานการประชุมและได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ การประกวดบันทึกบัญชีสหกรณ์   
  • สหกรณ์ร้านค้า
  • สหกรณ์ออมทรัพย์ ผลงานของนักเรียน นักเรียนออมทรัพย์ทุกคน

วัตถุประสงค์ที่ ๕ ปลูกฝังจิตสำนึกและพัฒนาศักยภาพของเด็กและเยาวชนในการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ข้อมูลกิจกรรมให้นักเรียนปฏิบัติ ปีการศึกษา ๒๕๕๓  :

งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน :

- จัดทำป้ายพันธุ์ไม้

- จัดกิจกรรมปลูกป่าในโรงเรียน

- ศึกษาข้อมูลด้านต่าง ๆ ของพันธุ์ไม้แต่ละชนิด

- การนำไปใช้ประโยชน์

ผลงานของโรงเรียน :

- จัดทำทะเบียนพันธุ์ไม้และทำป้าย จำนวน ๒๔๕ ป้าย

- ปลูกต้นไม้เพิ่มเติม จำนวน ๖ ชนิด รวม ๕๑๐ ต้น

การพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝก : 

- ปลูกเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำ จำนวน ๑๐,๓๕๐ ต้น

- ปลูกเพื่อป้องกันการพังทลายของดิน จำนวน ๓๕,๒๐๐  ต้น

- ปลูกเพื่อขยายพันธุ์ จำนวน ๑ งาน

- ปลูกในพื้นที่เป้าหมาย ๓ หมู่บ้าน จำนวน ๒ ไร่

วัตถุประสงค์ที่ ๖ เสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนใน การอนุรักษ์และสืบทอดวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

ข้อมูลกิจกรรมการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา ๒๕๕๓

กิจกรรมการเรียนรู้

๑.บุญเข้าพรรษา/ออกพรรษา

๒.ประเพณีลอยกระทง

๓.นักเรียนเข้าค่ายคุณธรรมจริยธรรม

ผลงานของนักเรียน :

๑.นักเรียนได้เรียนรู้จากการ ลงมือปฏิบัติ โดยตรง

๒.นักเรียนได้ร่วมกิจกรรมกับ ครอบครัว และชุมชน

๓.เสริมสร้างสัมพันธภาพความผูกพันระหว่างโรงเรียนกับชุมชน

๔.นักเรียนได้สืบสานประเพณีที่ดีงามของท้องถิ่น

๕.นักเรียนได้รับความชื่นชมจากชุมชน

๖.นักเรียนได้รับปลูกฝังความมีจิตใจที่อ่อนโยน

๗.นักเรียนมีความสนุก และมีความสุขจากการเรียนรู้โดยตรง

ความภาคภูมิใจของโรงเรียน :

๑. ปีการศึกษา ๒๕๕๒

๑.๑ ร.ร.ผ่านการประเมินและรับรองคุณภาพการศึกษาจาก สมศ.

๑.๒ ร.ร.ได้รับเป็นโรงเรียนส่งเสริคุณภาพระดับทอง จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระแก้ว

๑.๓ ร.ร.ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ การประกวดบันทึกการประชุมในสหกรณ์นักเรียนจาก สำนักงานส่งเสริมสหกรณ์ จังหวัดสระแก้ว

๒. ปีการศึกษา ๒๕๕๓

๒.๑. ส.ต.อ.หญิงเสาวนีย์ กอบสุข ได้รับรางวัลครูดีเด่น จากการคัดเลือกครูดีเด่นระดับ บช.ตชด.

๒.๒.ส.ต.อ.หญิงเสาวนีย์ กอบสุข ได้รับรางวัลครูต้นแบบข้าราชการต้นแบบของมูลนิธิบุญยะจินดา

๑. ชื่อหมู่บ้าน

บ้านคลองชล ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑๑ เทศบาลตำบลวังทอง อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว

๒. อาณาเขตของหมู่บ้าน

ทิศเหนือ ติดกับบ้านวังดารา หมู่ที่ ๕ เทศบาลตำบลวังทอง อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว ระยะทาง ๕ กิโลเมตร

ทิศใต้ ติดกับบ้านวังไผ่ หมู่ที่ ๙ เทศบาลตำบลวังทอง อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว ระยะทาง ๖ กิโลเมตร

ทิศตะวันออก ติดกับบ้านคลองเจริญสุข หมู่ที่ ๒ เทศบาลตำบลวังทอง อำเภอ วังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว ระยะทาง ๖ กิโลเมตร

ทิศตะวันตก ติดกับบ้านคลองอุดม หมู่ที่ ๖ เทศบาลตำบลวังทอง อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว ระยะทาง ๕ กิโลเมตร

๓. การคมนาคม

ระยะทางจากหมู่บ้านถึงศาลากลางจังหวัดสระแก้ว ระยะทาง ๙๕ กิโลเมตร เป็นถนนลาดยาง ๙๕ กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทาง ๒ ชั่วโมง

ระยะทางจากหมู่บ้านถึงอำเภอวังสมบูรณ์ ระยะทาง ๒๕ กิโลเมตร เป็นถนนลาดยาง ๒๕  กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทาง ๓๐ นาที

๔. จำนวนประชากร / ครัวเรือน

มีประชากร ๖๗๘ คน เป็นชาย ๓๔๑ คน หญิง ๓๓๗ คน แยกเป็น ๑๙๒ ครัวเรือน

๕. ศาสนา / ภาษาที่ใช้

ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน คือภาษาไทย,ภาษาอีสาน

๖. การประกอบอาชีพ / รายได้เฉลี่ย

ประชากรประกอบอาชีพเกษตรกรรม รายได้เฉลี่ยประมาณครัวเรือนละ ๒๐,๐๐๐ บาท/ปี

๗. การบริการของรัฐ

สถานบริการสาธารณสุขที่ใกล้ที่สุด คือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนบ้านคลองเจริญสุข ระยะทาง ๖ กิโลเมตร และโรงพยาบาลวังน้ำเย็น ระยะทาง ๓๗ กิโลเมตร

โรงเรียนมัธยมที่ใกล้เคียง คือ โรงเรียนบ้านเขาแหลม ตั้งอยู่ หมู่ ๕ บ้านเขาแหลม เทศบาลตำบลวังทอง อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว ระยะทาง ๑๕ กิโลเมตร

๘. สาธารณูปโภคที่มีอยู่ในหมู่บ้าน

มีระบบไฟฟ้าใช้ครบทุกหลังคาเรือน และการใช้น้ำระบบประปาหมู่บ้าน บ่อ สระขุดกักเก็บน้ำ

๙. การปกครอง

- นายสำรวย จันทร์มงคล กำนันตำบลวังทอง

- นายบุญยัง สุขแจ่ม ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๑๑ บ้านคลองชล


ประเภทโครงการ : โครงการพัฒนาด้านสวัสดิการสังคม/การศึกษา