โครงการ อ่างเก็บน้ำห้วยชันอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ตำบล ช่องกุ่ม อำเภอ วัฒนานคร จังหวัด สระแก้ว
ที่มาของการต่อยอดโครงการ :
ตามที่กรมชลประทานได้พิจารณาวางโครงการฝายทดน้ำชั่วคราวห้วยพระปรง โดยอาศัยแผนที่มาตราส่วน ๑ : ๕๐,๐๐๐ และจะดำเนินการก่อสร้างในปี พ.ศ.๒๕๓๑ และเสร็จในปีเดียวกันเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเกี่ยวกับการขาดแคลนน้ำของหมู่บ้านห้วยชัน หมู่บ้านระเบาะหูกวาง และบ้านห้วย ตามพระราชดำริเมื่อวันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๒๑ จากผลการสำรวจสภาพภูมิประเทศจริงปรากฏว่าพื้นดินมีระดับต่ำกว่าในแผนที่ท้องแม่น้ำลึกมาก ต้องสร้างตัวฝายสูงราคาค่าก่อสร้างฝายจะสูงกว่าราคาที่ประเมินไว้ และระดับน้ำเหนือฝายจะท่วมขึ้นไปตามลำห้วยพระปรง จนถึงบริเวณที่จะสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำห้วยพระปรง ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการก่อสร้างเขื่อนในระยะต่อไป กรมชลประทานจึงได้วางโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยชันขึ้นแทนโครงการฝายทดน้ำชั่วคราวห้วยพระปรง เพื่อสนองพระราชดำริต่อไป
ที่ตั้งและลักษณะภูมิประเทศ :
- อ่างเก็บน้ำห้วยชัน ตั้งอยู่หมู่ที่ ๙ บ้านห้วยชัน ตำบลช่องกุ่ม อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว
- ลักษณะภูมิประเทศ เป็นทุ่งและป่าโปร่ง
วัตถุประสงค์ :
- เก็บกักน้ำไว้ใช้เพื่อการอุปโภค – บริโภค
- ช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูก
- เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ
ลักษณะโครงการ :
ทำนบดิน
ทำเลที่สร้างทำนบดิน แผนที่ระวาง ๕๔๓๖ I พิกัด ๔๘ PTA ๒๔๙๔๗๒
พื้นที่รับน้ำฝน ๔๓.๕๐ ตร.กม.
ปริมาณฝนตกเฉลี่ยทั้งปี ๑,๔๖๐.๐๐ มม.
ปริมาณน้ำทั้งปีที่ไหลลงอ่างเก็บน้ำ ๑๙.๐๐ ล้าน ลบ.ม.
ทำนบดิน สูง ๑๔.๕๐ ม.
ทำนบดิน ยาว ๑,๖๓๕.๐๐ ม.
ระดับสันทำนบ +๘๗.๕๐ ม. (รทก.)
ระดับน้ำสูงสุด +๘๗.๐๐ ม. (รทก.)
ระดับน้ำเก็บกัก +๘๖.๐๐ ม. (รทก.)
ความจุอ่างเก็บน้ำ ๔.๐๐ ล้าน ลบ.ม.
ความจุอ่างเก็บน้ำที่ระดับต่ำสุด ( +๗๙.๕๐ ) ๐.๘๖ ล้าน ลบ.ม.
ความจุอ่างเก็บน้ำสำรองใช้งาน ๓.๔๔ ล้าน ลบ.ม.
พื้นที่ผิวน้ำที่ระดับน้ำสูงสุด (ประมาณ ๗๘๑.๒๕ ไร่) ๑.๒๕ ตร.กม.
ระบบส่งน้ำและอาคารประกอบ
- คลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งซ้าย ยาว ๓.๔๔๕ กม. พร้อมอาคารประกอบ
- คลองส่งน้ำฝั่งขวา ยาว ๒.๒๓๔ กม. พร้อมอาคารประกอบ พ.ท. ๑,๘๒๕ ไร่
๘๐% = ๑,๔๖๐ ไร่
- คลองส่งน้ำสายซอย ๑ สาย ยาว ๒.๑๔ กม. พร้อมอาคารประกอบ
- คลองระบายน้ำ ๑ สาย ยาว ๘.๖๐๐ กม.
- ทางระบายน้ำล้น กม. ๐ + ๕๖๕ ยาว ๔๔.๕๐ ม. Qmax ๘๑.๘๘ ลบ.ม./วินาที
ค่าลงทุน
งานเขื่อนและอาคารประกอบ ๒.๖๓ ล้านบาท
งานระบบส่งน้ำและอาคารประกอบ ๓.๔๐ ล้านบาท
งานเบื้องต้น งานถนนเข้าหัวงาน และงานเบ็ดเตล็ด ๐.๓๐ ล้านบาท
รวมค่าลงทุน ๖.๓๓ ล้านบาท
ผลประโยชน์ที่ได้รับ :
- ส่งน้ำให้กับพื้นที่เพาะปลูกในเขตหมู่บ้านห้วยชัน บ้านระเบาะหูกวาง และบ้านห้วย ทำการเพาะปลูกในฤดูฝนได้ประมาณ ๔,๐๐๐ ไร่ และในฤดูแล้งได้ประมาณ ๑,๐๐๐ ไร่
- ช่วยบรรเทาอุทกภัย สำหรับพื้นที่เพาะปลูกตามริมแม่น้ำห้วยชันท้ายเขื่อน
- อ่างเก็บน้ำห้วยชัน จะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดได้เป็นอย่างดี
เนื่องจากโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยชัน เป็นโครงการเร่งด่วนมากซึ่งจะต้องดำเนินการก่อสร้างให้เสร็จภายในปี พ.ศ.๒๕๒๑ เพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเกี่ยวกับการขาดแคลนน้ำในหมู่บ้านดังกล่าว ดังนั้น การพิจารณาวางโครงการเป็นประเภทอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กเพื่อให้สอดคล้องกับพระราชดำริ
ประเภทโครงการ : โครงการพัฒนาด้านแหล่งน้ำ