๐๙ พฤษภาคม ๒๕๖๘

โครงการ อ่างเก็บน้ำคลองช่องกล่ำ (ตอนล่าง) ระบบส่งน้ำท้ายอ่างเก็บน้ำคลองช่องกล่ำล่าง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ตำบล โนนหมากเค็ง อำเภอ วัฒนานคร จังหวัด สระแก้ว


ที่มาของการต่อยอดโครงการ :

ผู้อำนวยการโครงการพัฒนาตามพระราชดำริ ( พลตรีนิพนธ์ ภารัญนิย์ ) ได้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ณ ศาลาดุสิตดาลัย เมื่อวันที่ ๒๓  สิงหาคม ๒๕๔๐  ผู้อำนวยการโครงการฯได้กราบบังคมทูลถวายรายงาน และขอให้ทรงมีพระราชวินิจฉัยเกี่ยวกับการพัฒนาหมู่บ้านคลองทราย ตำบลหนองตะเคียนบอน อำเภอวัฒนานคร และบ้านท่ากะบาก ตำบลท่าแยก อำเภอเมืองสระแก้ว ในโครงการพัฒนาพื้นที่ราบเชิงเขา จังหวัดสระแก้ว ตามพระราชดำริจะส่งเสริมการเลี้ยงโคนม ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้ดำเนินให้ดำเนินการได้ โดยจัดตั้งศูนย์รองรับเพื่อให้ความรู้และควบคุมการผลิตทรงให้ดูตัวอย่างที่จังหวัดสกลนคร ซึ่งได้จัดตั้งเป็นระบบสหกรณ์โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงดูแลอยู่ เพื่อผลิตน้ำนมได้แล้วศูนย์ที่ตั้งขึ้นมาจะรับมาทำพลาสเจอไรส์ทำนมให้มีคุณภาพดี บรรจุถุง หรือกระป๋องจำหน่าย มีการจัดระบบตลาดด้วยแต่ต้องเริ่มทำโครงการเล็ก ๆ ก่อนอย่าลงทุนมากในระยะเริ่มต้น

พื้นที่ราบเชิงเขาบรรทัด มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๔๐๗,๕๔๓ ไร่ หรือประมาณ ๖๕๒.๐๗  ตารางกิโลเมตร จำนวน ๑๑๑  หมู่บ้าน ๑๐,๑๕๔  ครัวเรือน จำนวนประชากร ๔๑,๑๗๙  คน พื้นที่ทั้งหมด ๙ พื้นที่ โดยหมู่บ้านในโครงการพระราชดำริอยู่ในพื้นที่พัฒนาที่ ๒ อำเภอวัฒนานคร และอำเภอเมืองสระแก้ว (จังหวัดสระแก้ว) พื้นที่โครงการประมาณ ๖๖,๕๓๐ ไร่ ๑๖ หมู่บ้าน ๘๑๓  ครัวเรือน ประชากร ๕,๕๗๑  คน ประกอบด้วย บ้านใหม่ไทยเจริญ บ้านโนนขี้เมา บ้านคลองทรายใต้ บ้านโนนน้ำแซบ บ้านหนองตะเคียนใหญ่ บ้านกองแก้วนพคุณ บ้านหนองตลาด บ้านซับขี้หนู บ้านวังรี บ้านโนนผาสุก บ้านหนองตะเคียนบอน บ้านคลองทราย บ้านทัพห้าบาท บ้านท่ากะบาก และบ้านคลองคันโท ( อ่างเก็บน้ำช่องกล่ำล่าง )

ที่ตั้งและลักษณะภูมิประเทศ : อ่างเก็บน้ำช่องกล่ำล่าง ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ บ้านหนองหมากฝ้าย ตำบลหนองตะเคียนบอน อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว

ลักษณะภูมิประเทศ : เป็นทุ่งและป่าโปร่ง 

วัตถุประสงค์ :

          ๓.๑ เก็บกักน้ำไว้ใช้เพื่อการอุปโภค – บริโภค

          ๓.๒ ช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูก

          ๓.๓ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ

          ๓.๔ เป็นสถานที่ท่องเที่ยว พักผ่อน

ลักษณะโครงการ :

          ๔.๑ ทำนบดิน

                 ทำเลที่สร้างทำนบดิน แผนที่ระวาง ๕๔๓๖ I พิกัด ๔๘ PTA ๐๗๑๔๔๗

                 พื้นที่รับน้ำฝน ๑๘.๕๐ ตร.กม.

                 ปริมาณฝนตกเฉลี่ยทั้งปี ๑,๔๖๐.๐๐ มม.

                 ปริมาณน้ำทั้งปีที่ไหลลงอ่างเก็บน ๘.๑๐ ล้าน ลบ.ม.

                 ทำนบดิน สูง ๑๒.๕๐ ม.

                 ทำนบดิน ยาว ๑,๖๗๐.๐๐ ม.

                 ระดับสันทำนบ +๘๔.๕๐ ม. (รสม.)

                 ระดับน้ำสูงสุด +๘๔.๐๐ ม. (รสม.)

                 ระดับน้ำเก็บกัก +๘๓.๕๐ ม. (รสม.)

                 ความจุอ่างเก็บน้ำ ๒.๒๐ ล้าน ลบ.ม.

                 ความจุที่พักตะกอน ๐.๒๐ ล้าน ลบ.ม.

                 ความจุอ่างเก็บน้ำสำรองใช้งาน ๒.๐๐ ล้าน ลบ.ม.

                 พื้นที่ผิวน้ำที่ระดับน้ำสูงสุด (ประมาณ ๔๐๐ ไร่) ๐.๖๔ ตร.กม.

          ๔.๒ ระบบส่งน้ำและอาคารประกอบ

                 - พื้นที่โครงการ ๑,๐๐๐ ไร่

                 - คลองส่งน้ำฝั่งขวา ยาว ๔.๑๔๑ กม. พื้นที่ส่งน้ำฝั่งขวา ๗๐๐ ไร่

                 - คลองส่งน้ำฝั่งซ้าย ยาว ๒.๖๖๙  กม. พื้นที่ส่งน้ำฝั่งซ้าย ๒๓๐ ไร่

                 - เสริมพื้นที่ ๕๐๐ ไร่

          ๔.๓ ค่าลงทุน

                งานทำนบดินและอาคารประกอบ ๑๐,๑๖๐,๐๐๐ ล้านบาท

                งานระบบส่งน้ำและอาคารประกอบ ๑๐,๒๒๖,๘๐๐ ล้านบาท

                รวมค่าลงทุน ๒๐,๓๘๖,๘๐๐ ล้านบาท

ผลประโยชน์ที่ได้รับ :

                ๕.๑ เพื่อใช้ในการอุปโภค – บริโภค ของราษฎรในหมู่บ้านคลองทราย และหมู่บ้านคลองคันโท

          ๕.๒ ส่งน้ำให้กับพื้นที่เพาะปลูก ในบริเวณเหนือหมู่บ้านคลองทราย และหมู่บ้านคลองคันโท ประมาณ ๑,๐๐๐ ไร่

          ๕.๓ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืด

          ๕.๔ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจของชาวอำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว และเป็นการปฏิบัติการทางจิตวิทยาที่จะดึงประชาชนในเขตผู้ก่อการร้าย ซึ่งคอยยุแหย่ชักจูงให้หลงผิดได้กลับคืนมาเป็นฝ่ายรัฐบาล ซึ่งประโยชน์อันนี้ไม่สามารถจะประเมินค่าได้

   

ที่มา : สำนักประสานงานโครงการพื้นที่ ๑

ประเภทโครงการ : โครงการพัฒนาด้านแหล่งน้ำ