๒๒ ธันวาคม ๒๕๖๗

โครงการ พัฒนาที่ดินมูลนิธิชัยพัฒนา (สวนผลไม้ สวนปาล์ม ป่าชุมชน)

ตำบล คลองปูน อำเภอ แกลง จังหวัด ระยอง


ที่มาของการต่อยอดโครงการ :

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รับที่ดินที่นางสุชาดา ฉายาชวลิตน้อมเกล้าฯ ถวาย จำนวน ๔ แปลง รวมพื้นที่ประมาณ ๓๒ ไร่ แปลงที่ ๑ พื้นที่ประมาณ ๑๓ไร่ เดิมเป็นแปลงไม้ผลเก่าที่ขาดการดูแล

รักษาทำให้ต้นไม้ผลมีสภาพต้นที่ทรุดโทรม จำเป็นต้องเร่งปรับปรุงและฟื้นฟูสภาพสวนให้มีความอุดมสมบูรณ์ ประกอบด้วยไม้ผล หลายชนิด เช่น ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง แปลงที่ ๒ พื้นที่ประมาณ ๑๐ ไร่ เป็นแปลงยางพาราเก่าที่หมดสภาพการกรีด ดำเนินการปรับเปลี่ยนพื้นที่เป็นแปลงทดสอบปาล์มน้ำมัน แปลงที่ ๓ มีพื้นที่ประมาณ ๙ ไร่ เป็นแปลงยางพาราเก่าที่หมดสภาพ การกรีด สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ ๖ ได้ร่วมกับงานวิชาการป่าไม้ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจาก พระราชดำริและชุมชนดำเนินการปลูกป่าชุมชนแปลงที่ ๔ พื้นที่ประมาณ ๑๐๐ ตารางเมตร เป็นบ่อเก็บน้ำที่อยู่ติดกับคลองสาธารณะ

แนวพระราชดำริ

              ๑. มอบที่ดินให้สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรที่ ๖ จัดทำแปลงสาธิตสวนผลไม้แบบก้าวหน้า

โดยได้เริ่มดำเนินการในปี ๒๕๔๕

              ๒. หาที่ดินเพื่อจัดทำแปลงศึกษา และทดสอบพันธุ์ปาล์มน้ำมัน

              ๓. จัดให้ทำแปลงไม้ป่าชุมชน ให้ประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงเข้ามาใช้ประโยชน์ และศึกษา

พืชท้องถิ่นในชุมชน

วัตถุประสงค์ :

              ๑. ปรับปรุงและฟื้นฟูสภาพสวนไม้ผลให้มีความอุดมสมบูรณ์ โดยใช้เทคโนโลยีการผลิตพืชที่ถูกต้อง เหมาะสม

              ๒. จัดทำแปลงศึกษาทดสอบพันธุ์ปาล์มน้ำมัน

              ๓. ปลูกสร้างป่าชุมชนโดยร่วมมือกับส่วนราชการ และชุมชนในพื้นที

กิจกรรม

              ๑. แปลงต้นแบบการผลิตไม้ผลที่ถูกต้องเหมาะสม

              ๒. แปลงศึกษาทดสอบพันธุ์ปาล์มน้ำมัน

              ๓. แปลงป่าชุมชนเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ และประโยชน์ใช้สอยของชุมชน

หน่วยงานรับผิดชอบ

              - มูลนิธิชัยพัฒนา

              - สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ ๖ กรมวิชาการเกษตร

              - ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรระยอง

การดำเนินงานที่ผ่านมา

                    ๑. สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมวิชาการเกษตร โดยจัดแบ่งพื้นที่ออกได้ดังนี้

                   ๑.๑ พื้นที่จำนวนประมาณ ๑๓ ไร่ เป็นแปลงไม้ผลเก่า ได้มอบหมายให้สำนักวิจัยและ พัฒนาการเกษตรเขตที่ ๖ จังหวัดจันทบุรี (กรมวิชาการเกษตร) ดำเนินการปรับปรุงและจัดทำโครงการแปลงสาธิตสวนไม้ผลแบบก้าวหน้า (เกษตรผสมผสาน) เพื่อใช้เป็นแหล่งสาธิตการผลิตไม้ผลพันธุ์ดี

                   ๑.๒ พื้นที่จำนวนประมาณ ๑๐ ไร่ เป็นแปลงยางพาราเก่าที่หมดสภาพการกรีด ได้มอบหมายให้สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ ๖ จังหวัดจันทบุรี (กรมวิชาการเกษตร) ดำเนินการจัดทำแปลงศึกษาและทดสอบพันธุ์ปาล์มน้ำมัน

                   ๑.๓ พื้นที่จำนวนประมาณ ๙ ไร่ เป็นแปลงสวนยางพาราเก่าที่หมดสภาพการกรีด ได้มอบหมายให้สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ ๖ จังหวัดจันทบุรี (กรมวิชาการเกษตร) และศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ดำเนินการปรับปรุงและพัฒนาพื้นที่เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ได้ในอนาเขตพื้นที่จำนวนประมาณ ๑๐๐ ตารางเมตร เป็นบ่อเก็บน้ำที่อยู่ติดกับคลองสาธารณะ

ผลการดำเนินงาน :

แปลงต้นแบบการผลิตไม้ผลที่ถูกต้องเหมาะสม พื้นที่ ๑๓ ไร่ ทำการปรับปรุงและฟื้นฟูแปลงไม้ผลตามแนวทางเกษตรดีที่เหมาะสม ประกอบด้วยไม้ผลหลายชนิดได้แก่

              - ทุเรียนพันธุ์ต่างๆ เช่น หมอนทอง ชะนี กระดุม พวงมณี จำนวน ๖๙ ต้น ให้ผลผลิตแล้วจำนวน ๓๖ ต้น อยู่ในระยะเจริญเติบโต จำนวน ๓๓ ต้น

              - มังคุดทั้งหมดจำนวน ๒๐๔ ต้น ให้ผลผลิตแล้ว จำนวน ๑๑๘ ต้น อยู่ในระยะการเจริญเติบโต จำนวน ๘๖ ต้น

              - ลองกองทั้งหมดจำนวน ๑๓๑ ต้น ให้ผลผลิตแล้ว จำนวน ๓๗ ต้น อยู่ในระยะการเจริญเติบโต จำนวน ๙๔ ต้น

              - เงาะทั้งหมดจำนวน ๒๑ ต้น พันธุ์โรงเรียนจำนวน ๑๒ ต้น (ให้ผลผลิตแล้ว) พันธุ์สีชมพูจำนวน ๙ ต้น (ให้ผลผลิตแล้ว)

              - มะพร้าวน้ำหอม จำนวน ๔๘ ต้น เริ่มให้ผลผลิตบ้างแล้ว

              - ชมพู่พันธุ์ทับทิมจันท์ จำนวน ๑๒ ต้น (ให้ผลผลิตแล้ว)

              - ขนุนพันธุ์ทองประเสริฐ จำนวน ๒๔ ต้น (อยู่ในระยะการเจริญเติบโต)

              - ลำไยพันธุ์อีดอ จำนวน ๑๒ ต้น (อยู่ในระยะการเจริญเติบโต)

              - มะนาวพันธุ์พิจิตร๑ จำนวน ๓๒ ต้น (อยู่ในระยะการเจริญเติบโต)

              - พืชแซม กล้วยไข่ กล้วยหอม ส้มมะปี๊ด ชะอม กระวาน เร่วหอม

              แปลงศึกษาทดสอบพันธุ์ปาล์มน้ำมันพื้นที่ประมาณ ๑๐ ไร่ ปลูกพันธุ์ปาล์มน้ำมัน ระยะปลูก ๙x๙ เมตร จำนวน ๒๓๙ ต้น

              - พันธุ์สุราษฎร์ธานี ๒ อายุ ๔ ปี จำนวน ๖๙ ต้น

              - พันธุ์สุราษฎร์ธานี ๓ อายุ ๓ ปี จำนวน ๖๔ ต้น

              - พันธุ์พันธุ์คอมแพค อายุ ๓ ปี จำนวน ๖๐ ต้น

              - พืชแซม กล้วยไข่ ชะอม มะพร้าว

             แปลงป่าชุมชนพื้นที่ประมาณ ๙ ไร่

              - ต้นยางพาราเก่าหมดสภาพกรีดจำนวน ๔๗๐ ต้น

              - ต้นไม้ที่ดำเนินการปลูกเพิ่มให้เป็นป่าชุมชนจำนวน ๗๒๐ ต้น ได้แก่ เสม็ดแดง คูน เหียง สำรอง สำโรง ชะมวง ชะมาง ประดู่ ตะเคียนทอง ยางนา กระท้อนป่า สะเดา สะตอ มะขามป้อม มะรุม ลูกเนียง หย่อง มะกอก ปีบ หลาวชะโอน ลำดวน หมาก ตะลิงปลิง ปอทะเล มะพลับ ทองหลาง

   

ประเภทโครงการ : โครงการพัฒนาแบบบูรณาการ และโครงการพัฒนาด้านอื่น ๆ