๒๒ ธันวาคม ๒๕๖๗

โครงการ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

จังหวัด จันทบุรี


ที่มาของการต่อยอดโครงการ :

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ ได้ก่อตั้งขึ้นตามพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชในวโรกาสที่เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่จังหวัดจันทบุรี เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๒๔ โดยมีพระราชดำริแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี ดังนี้“ให้พิจารณาพื้นที่ที่เหมาะสมจัดทำโครงการพัฒนาด้านอาชีพการประมงและการเกษตร ในเขตพื้นที่ดินชายฝั่งทะเลจังหวัดจันทบุรี” และได้พระราชทานเงินที่ราษฎรจังหวัดจันทบุรีได้ร่วมทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายโดยเสด็จพระราชกุศลในโอกาสดังกล่าวเป็นทุนริเริ่มดำเนินการ ต่อมาเมื่อวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๒๔ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชได้มีพระราชดำริเพิ่มเติม ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน สาระโดยสรุปว่า 

“ให้พิจารณาจัดหาพื้นที่ป่าสงวนเสื่อมโทรมหรือพื้นที่สาธารณประโยชน์ เพื่อจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาเช่นเดียวกับโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนฯ ให้เป็นศูนย์ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาในเขตที่ดินชายทะเล” 

วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์หลัก วัตถุประสงค์ และกลุ่มเป้าหมายของศูนย์ศึกษา การพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ มีดังต่อไปนี้

วิสัยทัศน์ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ เป็นพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิตชั้นนำ ด้านการอนุรักษ์ พัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่หลากหลายบริเวณชายฝั่ง โดยบูรณาการกับการพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิต ให้สมดุลแลยั่งยืนตามแนวพระราชดำริ 

พันธกิจ

1. ศึกษา วิจัย และพัฒนาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่หลากหลายบริเวณชายฝั่ง การพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิต

2. ขยายผลความสำเร็จในการดำเนินงานศูนย์ฯ ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิต สู่สาธารณชน ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

3. บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการพัฒนาอาชีพและ

ยกระดับคุณภาพชีวิตในพื้นที่เป้าหมายอย่างสมดุล และยั่งยืนตามแนวพระราชดำริ

4. พัฒนาพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ

5. พัฒนาองค์การ บุคลากร และเครือข่าย สู่ความเป็นศูนย์ศึกษาฯ ชั้นนำ

เป้าประสงค์หลัก

เพื่อเป็นพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิตชั้นนำด้านการอนุรักษ์ พัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบริเวณชายฝั่ง เพื่อพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิตให้ยั่งยืนตามแนวพระราชดำริ

วัตถุประสงค์

1. เพื่อสนองพระราชดำริอย่างต่อเนื่องและครบถ้วนสมบูรณ์ มีคุณภาพและประสิทธิผล

2. เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ ทุกมิติอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การศึกษาทดลอง วิจัย ทดสอบ สาธิต ขยายผล และการบริหารจัดการ

3. มุ่งเน้นการขยายผลการพัฒนาสู่ประชาชนในหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ และประชาชนทั่วไปตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

4. พัฒนา อนุรักษ์ ฟื้นฟู และการจัดการทรัพยากรชายฝั่งทะเลบริเวณพื้นที่อ่าวคุ้งกระเบนและพื้นที่ใกล้เคียงให้เกิดความสมดุลในระบบนิเวศและการใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนา

5. พัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมายต่างๆ เพื่อสร้างงาน สร้างรายได้ ให้กับประชาชนในพื้นที่โครงการฯ เพิ่มขึ้น

กลุ่มเป้าหมาย เพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์หลัก จึงกำหนดกลุ่มเป้าหมายการดำเนินงานให้ครอบคลุมทุกมิติของยุทธศาสตร์ โดยมีกลุ่มเป้าหมายในเรื่องพื้นที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และผู้รับบริการ ดังนี้ 

พื้นที่เป้าหมาย

1. พื้นที่ดำเนินการของโครงการฯ เป็นพื้นที่ชายฝั่งทะเลและพื้นที่ใกล้เคียง โดยมีพื้นที่เป้าหมาย ดังนี้

๑.๑ พื้นที่ศูนย์กลาง ได้แก่ อ่าวคุ้งกระเบนและพื้นที่รอบอ่าวคุ้งกระเบน ตั้งอยู่ในพื้นที่

หมู่ที่ ๓ ๔ ๗ ๙ และ ๑๐ ตำบลคลองขุด อำเภอท่าใหม่ และหมู่ที่ ๗ ตำบลสนามไชย อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี มีพื้นที่ประมาณ ๔,๐๐๐ ไร่

๑.๒ พื้นที่หมู่บ้านรอบศูนย์ฯ ได้แก่ พื้นที่ในเขตตำบลคลองขุด ตำบลสนามไชย ตำบลรำพัน ตำบลกระแจะ และพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งเป็นเขตเกษตรกรรมและเขตหมู่บ้านประมงตามแนวชายฝั่งทะเล

มีขอบเขตพื้นที่ประมาณ ๕๗,๐๒๕ ไร่ รวม ๒๓ หมู่บ้าน

๑.๓ พื้นที่ขยายผลการดำเนินงาน พื้นที่ดำเนินการที่อยู่นอกหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ จำนวน ๑๓ หมู่บ้าน อยู่ในตำบลรำพัน ตำบลโขมง และตำบลทุ่งเบญจา อำเภอท่าใหม่ และตำบลสนามไชย อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี มีพื้นที่ประมาณ ๓๕,๗๔๐ ไร่ รวมทั้งจังหวัดข้างเคียง ได้แก่ จังหวัดตราด และจังหวัดระยอง

ผลการดำเนินงานปีงบประมาณ ๒๕๕๕

ตามแผนแม่บทของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ ฉบับที่ ๖ (ปี ๒๕๕๕ – ๒๕๕๙)ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนารวม ๓ ยุทธศาสตร์ โดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานพอสังเขป ดังนี้

- ยุทธศาสตร์ที่ ๑ ศึกษา วิจัย และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่หลากหลายบริเวณชายฝั่ง

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ ได้ดำเนินการศึกษาวิจัยทั้งในด้านการเกษตรการประมง และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง รวมถึงการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันมีงานศึกษาวิจัยรวม ๑๕๑ เรื่อง โดยอยู่ระหว่างดำเนินการ ๘ เรื่อง และงานศึกษาวิจัยที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในปี ๒๕๕๖ จำนวน ๓ เรื่อง

- ยุทธศาสตร์ที่ ๒ ขยายผลการดำเนินงานของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การพัฒนาอาชีพ และคุณภาพชีวิตสู่สาธารณชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

๒.๑ ด้านประมง

ด้านการส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ ได้ส่งเสริมให้เกษตรกรเพาะเลี้ยง

สัตว์น้ำชายฝั่ง อาทิ กุ้งกุลาดำ กุ้งขาวแวนาไม ปลากะพงขาว และ ปูม้า เป็นต้น ซึ่งได้มีการดำเนินการส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง โดยในปี ๒๕๕๕ ได้จัดทำโครงการส่งเสริมและฟื้นฟูอาชีพการเลี้ยงสัตว์น้ำให้กับสมาชิกสหกรณ์ประมงคุ้งกระเบนและสหกรณ์การเกษตรแหลมสิงห์ มีการอบรมเกษตรกร จำนวนรวม ๑๐๑ คน เกี่ยวกับเทคนิคการเลี้ยงกุ้งขาว และช่องทางการตลาด เพื่อช่วยให้เกษตรกรประสบความสำเร็จในการเพาะเลี้ยงและลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรค

หน่วยสาธิตการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกะชังและสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำเฉลิมพระเกียรติ

ในปี ๒๕๕๕ การดำเนินงานของหน่วยสาธิตการเลี้ยงสัตว์น้ำในกะชัง มีผู้สนใจเข้าเยี่ยมชมเป็นจำนวนรวม ๑๘,๑๔๔ คน หรือเฉลี่ย ๑,๕๑๒ คนต่อเดือน สำหรับสถานแสดงพันธ์สัตว์น้ำเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ครบ ๖๐ พรรษา ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๔ โดยมีการจัดหาและรวบรวมพันธุ์สัตว์น้ำทะเลที่น่าสนใจในท้องถิ่นและพื้นที่ใกล้เคียงมาจัดแสดง ในปี ๒๕๕๕ มีจำนวนผู้เข้าชม ๔๙๑,๔๕๒ คน หรือเฉลี่ย ๔๐,๙๕๔ คนต่อเดือน

งานบริการด้านคลินิกสัตว์น้ำ

ได้มีการตรวจวิเคราะห์โรคสัตว์น้ำเบื้องต้น โดยสังเกตจากลักษณะอาการภายนอก และใช้กล้องจุลทรรศน์กำลังขยายสูงในการตรวจวิเคราะห์โปรโตซัวและปรสิตภายนอก สำหรับแบคทีเรียรวมและวิบริโอใช้วิธีการเพาะเลี้ยงเชื้อในอาหารเลี้ยงเชื้อ ๑,๑๔๐ ตัวอย่าง โดยแบ่งเป็นกุ้งทะเล จำนวน ๙๗๐ ตัวอย่าง และปลาทะเล จำนวน ๑๗๐ ตัวอย่าง

ในปี ๒๕๕๕ การตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำของหน่วยตรวจสอบซึ่งได้ให้บริการแก่เกษตรกรรวม ๒,๔๓๙ ราย จำนวน ๔,๙๔๔ ตัวอย่าง พบคุณภาพน้ำมีปัญหา จำนวน ๑,๙๒๔ ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ ๓๘.๙๒

๒.๒ ด้านการส่งเสริมการเกษตร

(๑) จัดทำแปลงต้นแบบ

- การผลิตพืชระบบการผลิตพืชผสมผสานและเกษตรทฤษฎีใหม่ ได้ปลูกผักชนิดต่างๆ หมุนเวียนไปตามฤดูกาล

- การปลูกไม้ผลปลอดภัยสารพิษตามแนวทางเกษตรดีที่เหมาะสม อาทิ แก้วมังกร ชมพู่ทับทิมจันทร์ มะกอกฝรั่ง และน้อยหน่าพันธุ์เพชรปากช่อง เป็นต้น

- แปลงพืชไร่หมุนเวียนและไม้ดอกไม้ประดับ อาทิ ปลูกข้าวโพดหวานและแก่นตะวัน

1. จัดตั้งกลุ่มเกษตรกรซึ่งได้รับการถ่ายทอดความรู้และเทคนิคด้านการเกษตร

- ส่งเสริมการใช้วัตถุปลอดภัยเพื่อกำจัดแมลงศัตรูพืช เช่น จัดตั้งกลุ่มเกษตรกรผู้ใช้ Pheromone กำจัดแมลงวันผลไม้ จำนวน ๓ กลุ่ม รวม ๔๐ คน ทำให้สามารถกำจัดและควบคุมจำนวนประชากรแมลงวันผลไม้ออกจากพื้นที่ปลูกลองกองไม่น้อยกว่า ๑,๐๐๐,๐๐๐ ตัว ส่งผลให้เกษตรกรผู้ผลิตลองกองได้รับผลผลิตเพิ่มขึ้น

- ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีการเพาะขยายจุลินทรีย์ไตรโคเดอร์ม่าแก่เกษตรกร จำนวน ๑๐๐ คน เพื่อช่วยป้องกันโรครากเน่า โคนเน่าในต้นทุเรียนและพริกไทย

- สาธิตการปลูกข้าวโดยวิธีการโยนกล้าเปรียบเทียบกับเทคนิควิธีการปลูกข้าวโดยวิธีการหว่านน้ำตมและปักดำโดยใช้แรงงานคน มีเกษตรกรจำนวน ๕ ราย เข้าร่วม ในพื้นที่รวม ๙ ไร่ ซึ่งผลการทดสอบพบว่า เกษตรกรให้การยอมรับวิธีการปลูกข้าวโดยการโยนกล้า เนื่องจากมีมีข้อดี คือ ต้นข้าวสามารถตั้งต้นได้เร็ว ไม่หยุดชะงักการเจริญเติบโต และแตกกอได้ดี

- ส่งเสริมการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี ได้แนะนำเกษตรกรถึงการเตรียมดิน คัดเลือกพันธุ์ การตัดพันธุ์ปน มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการจำนวน ๕ ราย มีพื้นที่รวม ๑๕ ไร่

- ส่งเสริมการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเพื่อการถนอมอาหารและเพิ่มมูลค่าของผลผลิต อาทิ ผลิตแก่นตะวันเชื่อมอบแห้ง ชาแก่นตะวัน ข้าวเกรียบเห็ดนางฟ้า ข้าวเกรียบผักหวาน ข้าวกล้องงอกแดง ไอศกรีมแก้วมังกร และน้ำว่านกาบหอยแครง เป็นต้น

- การผลิตปุ๋ยหมักจากดินเลนนากุ้ง

ในปี ๒๕๕๕ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ สามารถผลิตปุ๋ยหมักจากดินเลนนากุ้งได้รวม ๓๐,๐๐๐ กิโลกรัม ซึ่งได้นำไปใช้ในแปลงสาธิตปลูกไม้ผลและแปลงพืชผัก แจกจ่ายในโอกาสต่างๆ รวมทั้งนำไปจัดแสดงในงานนิทรรศการร่วมกับจังหวัดจันทบุรีด้วย

(๗) การถ่ายทอดความรู้ด้านการเกษตร มีการจัดฝึกอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่เกษตรกรและผู้สนใจ โดยจัดอบรมรวม ๗ หลักสูตร ดังนี้

การเพาะเห็ดเศรษฐกิจระบบถุง จำนวน ๖ รุ่น จำนวน ๒๙๖ คน

การเพาะเห็ดเศรษฐกิจเสริมรายได้ จำนวน ๒ รุ่น จำนวน ๒๘ คน

การปลูกผักปลอดภัยสารพิษ จำนวน ๓ รุ่น จำนวน ๑๘๐ คน

การแปรรูปผลผลิตจากเห็ด จำนวน ๒ รุ่น จำนวน ๔๘ คน

การผลิตข้าวและการดูแลรักษา จำนวน ๓๑ คน

การบริหารจัดการกลุ่ม จำนวน ๓๐ คน

การผลิตข้าวพันธุ์ดีตามหลักเกณฑ์ดีที่เหมาะสม จำนวน ๓๗ คน หลักสูตรการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี จำนวน ๓๑ คน และ หลักสูตรการจัดทำแปลงขยายพันธุ์ข้าวและการผลิตข้าวคุณภาพดี จำนวน ๓๐ คน

(๘) สาธิตการผลิตและใช้ไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชใช้แล้ว และจำหน่าย ๗๐ ลิตร

(๙) สาธิตการผลิตน้ำส้มควันไม้ ได้น้ำส้มควันไม้ จำนวน ๕๓ ลิตร และได้ถ่าน จำนวน ๒๖๗ กิโลกรัม

(๑๐) การถ่ายทอดความรู้สู่เยาวชนและประชาชนในพื้นที่รอบศูนย์ศึกษาฯ

ดำเนิน “โครงการส่งเสริมความผูกพันครอบครัวด้วยบัญชี” จำนวน ๒๐ ครอบครัว รวม ๔๓ ราย แบ่งเป็น ผู้ปกครองจำนวน ๑๔ คน และ นักเรียนจำนวน ๒๓ คน ในระหว่างวันที่ ๑๘ - ๑๙ มิถุนายนเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการควบคุมรายจ่ายและจัดหารายได้

ดำเนิน “โครงการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดทำบัญชีแก่เกษตรกร

ในหมู่บ้านต้นแบบ” มีผู้เข้ารับการอบรมจำนวน ๓๖ คน

ดำเนิน “โครงการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์งานสหกรณ์แก่เยาวชน

ในโรงเรียนพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ” โดยจัดการฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับระบบสหกรณ์แก่นักเรียนโรงเรียนมัธยมท่าแคลง จำนวน ๑๐๕ คน เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๕

ดำเนินโครงการต่างๆ ร่วมกับสถาบันการศึกษาในพื้นที่ เพื่อให้เยาวชนได้เรียนรู้และเข้าใจในแนวพระราชดำริของพระบาทพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง อาทิ ดำเนินโครงการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนร่วมกับโรงเรียนมัธยมท่าแคลงและโรงเรียนวัดคลองขุด และโครงการเกษตรผสมผสานร่วมกับโรงเรียนวัดท่าศาลา โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันร่วมกับโรงเรียนวัดหมูดุด และ ดำเนินโครงการสวนผักเพื่ออาหารกลางวันโรงเรียนวัดวังเวียน

- ยุทธศาสตร์ที่ ๓ บริหารจัดการองค์การ ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการพัฒนาอาชีพ และยกระดับคุณภาพชีวิตในพื้นที่เป้าหมายตามแนวพระราชดำริ

 ๓.๑ ด้านการส่งเสริมอาชีพ

 ฟื้นฟูอาชีพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำด้วยระบบชลประทานน้ำเค็ม มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ ทั้งหมด ๒๐ ราย และมีผลผลิตเป็นกุ้งขาว ๗๒,๗๖๕.๖๒ กิโลกรัม และผลผลิตการจับกุ้งดำ ๓,๔๕๑ กิโลกรัม

กลุ่มเพาะเห็ดเศรษฐกิจครบวงจรระบบถุง

มีจำนวนสมาชิก ๑๓ ครอบครัว ผลิตก้อนเชื้อเห็ด เช่น เห็ดโคนญี่ปุ่น เห็ดนางฟ้า และเห็ดขอนดำ ก้อนเชื้อเห็ดที่ผลิตได้บางส่วนจำหน่ายแก่เกษตรรายอื่นๆ และนำดอกเห็ด ที่เหลือจากการจำหน่ายสดมาแปรรูป เช่น เห็ดสามรส เห็ดโคนญี่ปุ่นดองในน้ำซีอิ้ว เป็นต้น ส่งผลต่อ การที่เกษตรกรมีรายได้เสริมเฉลี่ย ๖๐,๐๐๐ บาท/คน/ปี

โครงการพัฒนาอาชีพกลุ่มเพาะเห็ดเศรษฐกิจครบวงจรระบบถุง

กลุ่มผลิตข้าวพันธุ์ดีครบวงจรและโรงสีข้าวชุมชน

การดำเนินงานของกลุ่มแบ่งออกเป็น ๒ กิจกรรม ดังนี้

- กลุ่มผลิตข้าวพันธุ์ดี มีสมาชิก ๕ คน ได้ผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ ๑๐๕ เฉลี่ย ๕๕๐ กิโลกรัม/ไร่

- กลุ่มโรงสีข้าวชุมชนมีสมาชิก ๑๓๒ คน มีหุ้นจำนวน ๖๗๑ หุ้น หุ้นละ ๑๐๐ บาท รวมเป็นเงิน ๖๗,๑๐๐ บาท ซึ่งใช้เป็นกองทุนหมุนเวียนสำหรับรับซื้อข้าวเปลือก มาแปรรูปเป็นข้าวกล้องจำหน่าย โดยในปี ๒๕๕๕ สามารถปันผลกำไรแก่ผู้ถือหุ้นได้หุ้นละ ๑๒ บาท

กลุ่มผลิตผักอนามัยปลอดภัยสารพิษ

กลุ่มมีสมาชิกจำนวน ๑๐ คน ปลูกผักชนิดต่างๆ โดยมีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนการใช้พื้นที่เพาะปลูกของสมาชิก คราวละ ๑ ไร่/ราย อาทิ ปลูกแตงกวา ถั่วฝักยาว ฟักทอง ข้าวโพดหวาน พริก และถั่วลิสง พบว่าเกษตรกรมีรายได้เสริมเฉลี่ย ๒๕,๐๐๐ บาท/คน/ปี

กลุ่มผลิตพืชหลังนา

กลุ่มมีสมาชิก จำนวน ๒๕ คน ปลูกถั่วลิสงพันธุ์กาฬสินธุ์ ๑ ในพื้นที่ หมู่ ๔ ต. รำพัน ในเนื้อที่ ๕๐ ไร่ เมื่อเก็บผลผลิตจำหน่ายฝักสดในราคากิโลกรัมละ ๒๐ บาท สร้างรายได้ ให้กับครอบครัวได้ถึงรายละประมาณ ๓๐,๐๐๐ บาท/ปี และยังช่วยปรับปรุงบำรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้นอีกด้วย

ส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงชันโรงเพื่อการเกษตรและแปรรูป

ส่งเสริมให้แก่เกษตรกรประกอบอาชีพด้วยการเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์ชันโรงโดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีเกษตรกรกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการฝึกอบรมจำนวน ๓๐ รายนอกจากนี้ ยังส่งเสริมอาชีพการแปรรูปผลิตภัณฑ์ผึ้งและชันโรง (สบู่เหลว ยาหม่อง โลชั่นบำรุงผิว และแคปซูลนมผึ้งชันโรง ฯลฯ) แก่เกษตรกรหมู่ที่ ๘ ต. กระแจะ จำนวน ๒๐ คน

๓.๒ ด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรประมง

(๑) การตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำในอ่าวคุ้งกระเบนรวม ๒๓ จุด พบว่า มีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งชี้ให้เห็นว่าน้ำทิ้งจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำยังไม่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ในอ่าวคุ้งกระเบน และน้ำในอ่าวคุ้งกระเบนมีคุณภาพที่จะใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้

(๒) การดำเนินโครงการธนาคารปูไข่โดยกลุ่มชาวประมงพื้นบ้านบริเวณหาดเจ้าหลาว อ. ท่าใหม่ จ. จันทบุรี และหมู่ ๗ ต. สนามชัย อ. นายายอาม ส่งผลให้ปัจจุบันมีจำนวนปูม้าเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังได้มีการขยายผลการดำเนินงานธนาคารปูม้าไปยังจังหวัดตราดอีกด้วย ซึ่งในปี ๒๕๕๕ ได้ผลิตพันธุ์ปูม้าระยะ young crab นำไปปล่อยสู่ธรรมชาติเป็นจำนวนทั้งสิ้น ๑๐๐,๐๐๐ ตัว

(๓) ผลิตและปล่อยสัตว์น้ำชายฝั่งเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช  สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงและพระบรมวงศานุวงศ์

ในปี ๒๕๕๕ ฝ่ายผลิตพันธุ์สัตว์น้ำ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ ได้ผลิตและปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำชายฝั่งเพื่อเฉลิมพระเกียรติ และถวายเป็นพระราชกุศลในวันคล้ายวันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงและพระบรมวงศานุวงศ์ ดังนี้ ผลิตพันธุ์กุ้งแชบ๊วย จำนวน ๕,๔๐๐,๐๐๐ ตัว พันธุ์หอยหวาน จำนวน ๑๔๕,๐๐๐ ตัว และพันธุ์ปลากะพงขาว จำนวน ๒๕,๐๐๐ ตัว นำไปปล่อยลงสู่ชายหาดแหลมเสด็จและพื้นที่ใกล้เคียง

(๔) การถ่ายทอดความรู้ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง

ดำเนินโครงการค่ายวิทยาศาสตร์ทางทะเล เยาวชนรักษ์คุ้งกระเบน ซึ่งนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายในเขตพื้นที่จังหวัดจันทบุรี และใกล้เคียง จำนวน ๔๙ คน จาก ๑๖ โรงเรียน เข้าร่วมในระหว่างวันที่ ๒๓ - ๒๗ เมษายน ๒๕๕๕

การจัดหลักสูตร “การจัดการประมงทะเลชายฝั่งร่วมกับชุมชน” ในระหว่างวันที่ ๑๑ – ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๕ มีชาวประมงพื้นบ้าน/ประมงชายฝั่ง จำนวน ๓๐ คน เข้าร่วม เพื่อให้ชาวประมงพื้นบ้านมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งของท้องถิ่น

โครงการฝึกอบรมยุวประมงที่ดำเนินการให้กับนักเรียนโรงเรียนมัธยม ท่าแคลง ต. สนามไชย อ. นายายอาม จำนวน ๑๐๔ คน ระหว่างวันที่ ๒๗ - ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๕

โครงการฝึกอบรมค่ายยุวชนรุ่นใหม่หัวใจเกษตรรุ่นที่ ๑ ดำเนินการระหว่างวันที่ ๒๓ - ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๕ โดยมีนักเรียนจาก ๗ โรงเรียนรอบศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ จำนวนรวม ๔๕ คน เข้าร่วม

๓.๓ ด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้

การจัดทำแปลงรวบรวมและอนุรักษ์พืชสมุนไพร

ได้จัดทำแปลงรวบรวมและอนุรักษ์พืชสมุนไพร ในพื้นที่ ๔ ไร่ ซึ่งปลูกพืชสมุนไพรรวม ๑๕๐ ชนิด และจัดทำแปลงผักพื้นบ้านภาคตะวันออกที่รวบรวมผักพื้นบ้านภาคตะวันออกไว้กว่า ๘๐ ชนิดพืช เพื่อให้เกษตรกรและผู้สนใจได้มีแหล่งเรียนรู้ รวมถึงอนุรักษ์พันธุ์ผักพื้นบ้านอีกด้วย

การเพาะชำกล้าไม้ป่าชายเลน ไม้ยืนต้น และไม้ประดับ

ในปีงบประมาณ ๒๕๕๕ งานป่าไม้ได้เพาะชำกล้าไม้ป่าชายเลนจำนวน ๕๐,๓๔๓ กล้า เพาะชำกล้าไม้ยืนต้นและไม้ประดับจำนวน ๑๐๔,๙๒๐ กล้า เพื่อส่งเสริมการปลูกต้นไม้แก่ผู้สนใจ ซึ่งในปี ๒๕๕๕ มีผู้ขอรับกล้าไม้ป่าชายเลนจำนวน ๖๐ ราย และผู้ขอรับกล้าไม้ยืนต้นและไม้ประดับจำนวน ๓๒๖ ราย

การจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ด้านการอนุรักษ์ระบบนิเวศป่าชายเลน

งานป่าไม้ได้พัฒนาศูนย์เรียนรู้ด้านการอนุรักษ์ระบบนิเวศป่าชายเลนแหลมแม่นกแก้ว โดยการสร้างแนวกันคลื่นจากไม้ไผ่ ปักเป็นแนวยาวขนานไปกับชายฝั่งทะเล ระยะทางประมาณ ๑๔๐ เมตร เพื่อให้สภาพแวดล้อมเหมาะสมต่อการเติบโตของกล้าไม้ป่าชายเลน

การสร้างจิตสำนึกอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ งานป่าไม้ได้ดำเนินกิจกรรมฝึกอบรมเยาวชน ดังนี้

โครงการค่ายเยาวชนอนุรักษ์สัตว์ป่าและสิ่งแวดล้อม จำนวน ๑๑๕ คน

โครงการค่ายเยาวชนอนุรักษ์ป่าชายเลน รุ่นที่ ๓ จำนวน ๕๐ คน

โครงการค่ายอนุรักษ์สัตว์ป่าและสิ่งแวดล้อม จำนวน ๒ รุ่น รวม ๑๔๐ คน

พื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าคุ้งกระเบนฯ ได้เพิ่มศักยภาพการป้องกันรักษาพื้นที่ป่าไม้และสัตว์ป่า โดยทำการปักหลักหมายแนวเขตห้ามล่าสัตว์ป่า ครอบคลุมพื้นที่ ๑๑,๓๗๐ ไร่ และได้ปักหลักหมายแนวเขตพื้นที่ป่าตามมติคณะรัฐมนตรี ๓๐ มิ.ย.๔๑ พื้นที่รวม ๓๕๖ ไร่ ในปี ๒๕๕๕ ได้มีการฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ โดยปลูกหวายเสริมตาม

ลำห้วยเพิ่มเติมขึ้นอีกราว ๑๒,๐๐๐ ต้น และมีการการขุดสระขนาดใหญ่ จำนวน ๒ แห่ง รวมทั้งได้สำรวจและซ่อมแซมฝาย รวม ๑๓๐ แห่ง

๓.๔ งานพัฒนาสุขภาพอนามัยของประชาชน

(๑) โครงการการแพทย์วิถีธรรม สุขภาพดี ตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ ที่เข้ารับการอบรม จำนวน ๖๐ คน

ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลรักษาสุขภาพตามแนวทางการแพทย์ทางเลือก อาทิ การรับประทานอาหารตามธาตุเจ้าเรือน การออกกำลังกายด้วยฤษีดัดตนและการบริหารร่างกายอย่างถูกวิธี เป็นต้น

การตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือดของเกษตรกรและประชาชนในพื้นที่ตำบลกระแจะ จำนวน ๒๑๘ คน ผลการตรวจพบว่ามีความเสี่ยง จำนวน ๖๖ คน ซึ่งได้รับการแนะนำให้รับประทานสมุนไพรรางจืดในรูปแคปซูล เพื่อลดสารพิษในเลือด รวมถึงส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรผู้ใช้สมุนไพรทดแทนสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

๓. ประโยชน์ของโครงการ

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดจันทบุรี ได้ดำเนินงานสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ในการทำให้ประชาชนในพื้นที่โดยรอบศูนย์ศึกษาฯ และประชาชนทั่วไปที่ได้มาศึกษาเยี่ยมชมได้รับความรู้อันเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตรวมถึงสามารถสร้างอาชีพที่มั่นคง อาทิ เผยแพร่ความรูเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง (กุ้งขาว ปูม้า และปลากะพง) ที่ไม่ส่งผลต่อการทำลายคุณภาพทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แต่ยังคงสามารถเอื้อประโยชน์อย่างยั่งยืน การส่งเสริมการแปรรูปผลผลิตการเกษตรที่มีในท้องถิ่น

(การทำปลาหวานจากปลาหลังเขียว การผลิตกะปิและน้ำปลาคุณภาพดี การผลิตคุกกี้และข้าวเกรียบหอยนางรม ฯลฯ) อีกทั้งได้ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพที่มีความเข้มแข็ง (กลุ่มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

ด้วยระบบชลประทานน้ำเค็ม กลุ่มเพาะเห็ดเศรษฐกิจครบวงจร กลุ่มผลิตพืชผักและไม้ผลปลอดสารพิษ) รวมถึงได้มีการให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมและรักษาสุขภาพอนามัยของประชาชน โดยการส่งเสริมการแพทย์ทางเลือกให้แก่ประชาชน (การใช้สมุนไพรรางจืดลดสารพิษในเลือดของเกษตรกร)

ทั้งนี้ หน่วยงานต่างๆ อาทิ หน่วยงานวิจัยด้านประมงชายฝั่ง วิชาการเกษตร ส่งเสริมการเกษตร ปศุสัตว์ รวมถึงหน่วยงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มีบทบาทเป็นหน่วยงานร่วมภายใต้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ ในการปฏิบัติภารกิจหลักที่เกี่ยวข้อง

กับการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และนำผลการศึกษาวิจัยที่เป็นผลสำเร็จเผยแพร่ไปสู่เกษตรกรและประชาชนผู้สนใจ เพื่อให้ประชาชนได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ที่ผ่านมาศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ ยังได้มีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทั้งป่าชายเลนและป่าบกในพื้นที่โดยรอบอ่าวคุ้งกระเบนฯ ที่เกิดความ

เสื่อมโทรมจากกิจกรรมสำคัญๆ อาทิ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ให้สามารถพลิกฟื้นกลับมามีสภาพ

ที่อุดมสมบูรณ์และสวยงามเช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการเพิ่มขึ้นของความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตนานาชนิดในพื้นที่ป่าชายเลนและป่าบก ผลสำเร็จของการพัฒนาจึงนำมาซึ่งความผาสุกอย่างยั่งยืนของประชาชน ข้อมูลในปี ๒๕๕๕ พบว่า มีผู้สนใจมาศึกษาเยี่ยมชม

ผลการดำเนินงานของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ เป็นจำนวนสูงถึง ๗๑๓,๗๓๑ คน

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดจันทบุรี

ได้ดำเนินงานสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ในการฟื้นฟูธรรมชาติสิ่งแวดล้อมซึ่งจากการตรวจสอบคุณภาพน้ำพบว่าน้ำมีคุณภาพได้มาตรฐาน รวมทั้งเป็นแหล่งสาธิตพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต สำหรับเกษตรกรและประชาชนทั่วไปที่ได้มาศึกษาเยี่ยมชม โดยในปี ๒๕๕๕ มีผู้สนใจมาศึกษาเยี่ยมชมถึง ๗๑๓,๗๓๑ คน

ในปี ๒๕๕๕ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนได้จัดการอบรมด้านการเกษตร ๑๕ หลักสูตร เกษตรกรกว่า ๑,๐๐๐ ราย มีการอบรมด้านอาชีพ ๗๐