โครงการ อ่างเก็บน้ำห้วยหิน
ตำบล เขาแหลม อำเภอ ชัยบาดาล จังหวัด ลพบุรี
ที่มาของการต่อยอดโครงการ :
พระราชดำริ :
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงรับโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยหินไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตามหนังสือสำนักราชเลขาธิการ เลขที่ รล ๐๐๐๕/๙๔๙๗๗ ลงวันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๓๘ ตามที่นายสมนึก จักษ์ชมภู ราษฎรตำบลห้วยหิน จังหวัดลพบุรี ขอพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเรื่องขาดแคลนน้ำในการอุปโภค – บริโภค และทำการเกษตร
วัตถุประสงค์ :
- เพื่อเป็นแหล่งเก็บกักน้ำสำหรับการอุปโภค – บริโภค และประกอบอาชีพเกษตรกรรมของราษฎร
- เป็นแหล่งน้ำต้นทุนให้กับฝายห้วยหิน ซึ่งเป็นโครงการชลประทานขนาดเล็กด้านท้ายน้ำ
- ช่วยบรรเทาอุทกภัย และช่วยแก้ปัญหาภัยแล้ง
แผน/ผลการดำเนินงาน :
ในปีงบประมาณ ๒๕๔๗ กรมชลประทานได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) เพื่อเริ่มดำเนินโครงการในการขุดเปิดร่องแกนตัวเขื่อนดิน และเป็นการเตรียมการเบื้องต้น คาดว่าการดำเนินโครงการจะแล้วเสร็จในปี ๒๕๕๐ ซึ่งเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จจะสามารถช่วยเหลือพื้นที่ทำการเกษตรให้แก่ราษฎรบ้านห้วยหินจำนวน ๕๘ครัวเรือน และบ้านเนินทองพัฒนาจำนวน ๘๒ ครัวเรือน พื้นที่ประมาณ ๑,๔๐๐ ไร่ รวมทั้งช่วยให้ราษฎรมีน้ำใช้ในการอุปโภค – บริโภค อย่างเพียงพอ
ชื่อโครงการ อ่างเก็บน้ำห้วยหิน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
พระราชดำริเมื่อ ๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๖
สถานที่ตั้ง บ้านห้วยหิน หมู่ที่ ๑ ตำบลเขาแหลม อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี พิกัด ๔๗ PQS ๑๐๒-๖๙๗ ระวาง ๕๑๓๙ II จุดที่ตั้งโครงการ อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดลพบุรี ใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๕ ประมาณกิโลเมตร ที่ ๒๑๕ แยกซ้ายเข้าสู่ที่ตั้งโครงการ ระยะทาง ๒ กิโลเมตร
วัตถุประสงค์ของโครงการ : เพื่อเป็นแหล่งเก็บกักน้ำใช้ในการเพาะปลูก การอุปโภค-บริโภค ช่วยบรรเทาอุทกภัย และช่วยแก้ปัญหาภัยแล้ง และเป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาแหล่งน้ำเหนือเขื่อนป่าสักฯ ในระยะเร่งด่วน ตามแนว พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานพระราชดำริ เมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ และ วันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๔๘ สรุปความว่า “ควรพิจารณาวางโครงการเก็บกักน้ำตอนบนของลำน้ำสาขาแม่น้ำ ป่าสักไว้ให้มาก เพื่อใช้ด้านการเกษตรและป้องกันอุทกภัย เนื่องจากน้ำเหนือเขื่อนป่าสักมีมาก ให้พิจารณา จัดเก็บกักให้เหมาะสม”
หินเรียงด้านหน้าอ่าง คลองส่งน้ำสายใหญ่
สภาพทั่วไป พื้นที่เป็นภูเขาที่ราบสูงสลับกัน มีป่าปกคลุม และเป็นที่ราบ สำหรับทำการเกษตร
ระยะเวลาก่อสร้าง ๓ ปี (ปี ๒๕๔๗ ถึงปี ๒๕๔๙)
รายละเอียดโครงการ
พื้นที่รับน้ำลงอ่าง ๒๐ ตาราง กม.
ฝนตกเฉลี่ยทั้งปี ๑,๑๗๐ มม.
จำนวนวันที่ฝนตกเฉลี่ยทั้งปี ๘๐ วัน
ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ ในเกณฑ์เฉลี่ย ๒.๖๕ ล้าน ลบ.ม./ปี
ความจุของอ่างฯ ที่ระดับ Dead Storage ๐.๒๐ ล้าน ลบ.ม.
ความจุอ่างฯ ที่ระดับเก็บกัก ๒.๒๕ ล้าน ลบ.ม.
ระดับท้องน้ำ +๘๓.๐๐๐ ม.(รทก.)
ระดับธรณี ทรบ. +๙๐.๐๐๐ ม.(รทก.)
ระดับเก็บกัก +๑๐๔.๕๐๐ ม.(รทก.)
ระดับน้ำนองสูงสุด +๑๐๖.๐๐๐ ม.(รทก.)
ระดับสันทำนบ +๑๐๘.๐๐๐ ม.(รทก.)
พื้นที่ผิวอ่างที่ระดับ Dead Storage ๑๙ ไร่
พื้นที่ผิวอ่างที่ระดับเก็บกัก ๑๓๘ ไร่
พื้นที่ผิวอ่างที่ระดับน้ำนองสูงสุด ๑๔๑ ไร่
ส่งน้ำช่วยการเพาะปลูกในฤดูฝนได้ประมาณ ๑,๔๐๐ ไร่
ส่งน้ำช่วยการเพาะปลูกในฤดูแล้งได้ประมาณ ๑๕๐ ไร่
น้ำเพื่อการบริโภค-อุปโภค เดือนละ ๐.๑๐ ล้าน ลบ.ม.
อาคารหัวงาน
โครงการอ่างฯ ห้วยหินมีอาคารหัวงานเป็นทำนบดิน ประกอบด้วย ลักษณะงานส่วนสำคัญ ดังต่อไปนี้
เขื่อนดินแบบ ZONE TYPE
ระดับสันทำนบดิน +๑๐๘.๐๐๐ ม.(รทก.)
ความกว้างสันทำนบดิน ๘ ม.
ความยาวสันทำนบดิน ๒๖๐ ม.
ส่วนสูงที่สุด ๒๐ ม.
ลาดทำนบดิน : ด้านเหนือน้ำ ๑:๓
: ด้านท้ายน้ำ ๑:๒.๕
ส่วนกว้างที่สุดของฐาน ๑๑๘ ม.
BEDDING หนา ๐.๓๐ ม.
RIPRAP หนา ๑.๐๐ ม.
ปริมาณดินถมตัวทำนบดินประมาณ ๐.๒๖๗ ล้าน ลบ.ม.
อาคารประกอบหัวงาน
SERVICE SPILLWAY
ที่ตั้ง อยู่ทางฝั่งซ้ายของเขื่อนดิน
ชนิด SIDE CHANNEL
สันฝายยาว ๒๕ ม.
ระดับสันฝาย +๑๐๔.๕๐๐ ม.(รทก.)
ระดับน้ำนองสูงสุด +๑๐๖.๐๐๐ ม.(รทก.)
ระบายน้ำได้สูงสุดประมาณ ๗๐ ลบ.ม./วินาที
RIVER OUTLET
ชนิด Concrete Steel Liner
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑.๐๐ ม.
ระดับธรณีท่อ +๙๐.๐๐๐ ม.(รทก.)
ระบายน้ำได้สูงสุด (ร.น.ส.) ๕.๖ ลบ.ม./วินาที
ส่งน้ำช่วยการเพาะปลูกได้ประมาณ ๗.๘๐ ลบ.ม./วินาที
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ :
๑. เพื่อใช้เป็นแหล่งน้ำต้นทุนให้กับฝายห้วยหิน ซึ่งเป็นโครงการชลประทานขนาดเล็ก ซึ่งสร้างอยู่ทางด้านท้ายน้ำประมาณ ๓.๕ กม.
๒. เพื่อเป็นแหล่งเก็บกักน้ำสำหรับการอุปโภค-บริโภค ของราษฎร โดยจะเน้นการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง
๓. เพื่อใช้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำให้ราษฎรใช้บริโภค และมีรายได้จากการประมงเพิ่มเติมจากการเกษตรกรรม
๔. เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ ของราษฎรในบริเวณใกล้เคียง และสามารถช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกได้ ๑,๔๐๐ ไร่
อ่างเก็บน้ำห้วยหิน พิกัด ๔๗ PQS ๑๐๒ - ๖๙๗ ระวาง ๕๑๓๙ II
ประเภทโครงการ : โครงการพัฒนาด้านแหล่งน้ำ