๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๗

โครงการ นำร่องบริหารจัดการและพัฒนาพื้นที่การเกษตรเป็นพื้นที่รับน้ำเพื่อบรรเทาอุทกภัยขนาดลางถึงขนาดใหญ่ของพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาฯ

อำเภอ บางบาล จังหวัด พระนครศรีอยุธยา


ที่มาของการต่อยอดโครงการ :

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) ได้มอบหมายให้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ดำเนินการศึกษาโครงการนำร่องการบริหารจัดการและพัฒนาพื้นที่การเกษตร ในพื้นที่ รับน้ำนอง เพื่อการบรรเทาอุทกภัยขนาดกลาง และขนาดใหญ่ของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตามแนวพระราชดำริ “แก้มลิงพื้นที่บางบาล (๑)” จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยขออนุมัติเงินการดำเนินงานครั้งที่ 1 ปี 2550 เมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๕๐ เป็นเงิน ๔,๐๐๐,๐๐๐ บาท และครั้งที่ ๒ ปีงบประมาณ ๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ เป็นเงิน ๙,๑๑๐,๐๐๐ บาท รวมทั้งสิ้น ๑๓,๑๑๐,๐๐๐ บาท มีระยะเวลาดำเนินการ ๑ ปี

วัตถุประสงค์ของโครงการ : เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้พื้นที่แก้มลิงบางบาลเป็นพื้นที่ชะลอน้ำ และหารูปแบบที่เหมาะสมในการจัดการพื้นที่แก้มลิง ตลอดจนผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนในพื้นที่ และแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว

ผลที่ได้จากการศึกษา

  • ด้านวิศวกรรม ได้ทำการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและได้จัดทำแบบจำลองเพื่อศึกษาพฤติกรรมของน้ำภายใต้สภาวการณ์ต่างๆ ซึ่งได้แนวทางในการออกแบบทางวิศวกรรม ดังนี้

                ๑. จัดทำคันกั้นน้ำล้อมพื้นที่เกษตรกรรม

                ๒. จัดทำประตูและสถานีสูบน้ำ

                ๓. จัดทำระบบป้องกันน้ำท่วมอาคาร ที่พักอาศัย โครงสร้างพื้นฐาน

                ๔. จัดทำระบบคลองส่งน้ำและกระจายน้ำ

                ๕. จัดทำระบบติดตามตรวจสอบสภาพคุณภาพน้ำในพื้นที่แก้มลิง

  • ด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และความอยู่ดี-มีสุขของราษฎร ศึกษาความต้องการของราษฎรในพื้นที่ เนื่องจากการนำน้ำเข้าไปเก็บกักในพื้นที่นั้น จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจกรรมต่างๆของเกษตรกรจึงได้พิจารณาหาแนวทางการการดำเนินชีวิตของเกษตรกรให้สอดคล้องกับการบริหารจัดการน้ำใน พื้นที่แก้มลิงทั้งในช่วงเวลาที่เก็บกักน้ำและในช่วงเวลาปกติ

                ๑. ปรับปรุงพื้นที่เกษตรกรรมบางส่วนให้เป็นไปตามแนวทางการพัฒนาอาชีพเกษตรทฤษฎีใหม่ และเศรษฐกิจพอเพียง

                ๒. ปรับเปลี่ยนรอบการเพาะปลูกในพื้นที่แก้มลิง โดยให้มีการทำนา ๓ ครั้ง

                            ครั้งที่ ๑ : ระหว่างเดือนธันวาคม - มีนาคม

                            ครั้งที่ ๒ : ระหว่างเดือนเมษายน - กรกฎาคม

                            ครั้งที่ ๓ : ระหว่างเดือนสิงหาคม - พฤศจิกายน

                ๓. ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และส่งเสริมการทำไร่นาสวนผสมระหว่างเดือนธันวาคม-สิงหาคม

                ๔. ประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อสร้างความเข้าใจแก่ประชาชน

  • ด้านกฎหมายและองค์กร เมื่อมีการผันน้ำเข้าสู่พื้นที่สภาพของพื้นที่จะกลายเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่ ทำให้เจ้าของพื้นที่ไม่สามารถจัดการพื้นที่ได้ ดังนั้นจึง ควรให้ผู้ที่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้ความยินยอมในการบริหารจัดการพื้นที่หลังจากมีการผันน้ำเข้าพื้นที่ โดยให้อยู่ในความรับผิดชอบกรมชลประทาน

   

เปรียบเทียบพื้นที่แก้มลิงบางบาลบริเวณโรงสูบที่ ๓ ก่อนและหลังรับน้ำเข้าพื้นที่

      

 เปรียบเทียบพื้นที่แก้มลิงบางบาลบริเวณโรงสูบที่ ๔ ก่อนและหลังรับน้ำเข้าพื้นที่

แผนที่แสดงบริเวณโครงการแก้มลิงบางบาล มาตราส่วน ๑ : ๕๐,๐๐๐

ประเภทโครงการ : โครงการพัฒนาด้านแหล่งน้ำ