โครงการ อุทยานการอาชีพชัยพัฒนาจังหวัดนครปฐม
๓๕ ไร่ ๒ งาน ๑ ตารางวา ตำบล บ่อพลับ อำเภอ เมืองนครปฐม จังหวัด นครปฐม
ที่มาของการต่อยอดโครงการ :
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราชดำริให้สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา ดำเนินการรับโอนที่ดินซึ่งนางสาวคมคาย นิลประภัสสร ขอพระราชทานน้อมเกล้าฯ ถวายที่ดิน ตำบลบ่อพลับ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม จำนวน ๓๕ ไร่ ๒ งาน ๑ ตารางวา เมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๔ เพื่อใช้ประโยชน์ในกิจกรรมของมูลนิธิชัยพัฒนา
พระราชดำริ : คณะกรรมการมูลนิธิชัยพัฒนาได้มีมติในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๔๘ อนุมัติในหลักการ แนวทางการดำเนินงาน และการบริหารจัดการ
โครงการอุทยานการอาชีพในที่ดินมูลนิธิชัยพัฒนา ตำบลบ่อพลับ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐมเพื่อให้วิทยาการและบริการวิชาการ โดยเฉพาะด้านการอาชีพใน
หลากหลายรูปแบบแก่เยาวชน และประชาชนผู้สนใจ พร้อมทั้งให้บริการทางสังคมแก่ท้องถิ่น เพื่อให้สามารถดำเนินการตามแนวพระราชดำริในการส่งเสริมให้เป็น
ศูนย์วิชาการ และศูนย์ข้อมูลทางด้านการพัฒนาอาชีพ ตลอดจนเป็นแหล่งฝึกอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาว
วัตถุประสงค์ :
๑. เพื่อเป็นแหล่งวิชาการและแหล่งข้อมูลด้านการพัฒนาอาชีพ ตลอดจนเป็นแหล่งฝึกอาชีพภายในพื้นที่ เพื่อเปิดโอกาสทางการศึกษาให้กับเยาวชนและประชาชนผู้สนใจทั่วไปโดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา รวมทั้งเป็นต้นแบบของแหล่งการเรียนรู้ในด้านการอาชีพ และการให้บริการทางวิชาการที่หลากหลายครบวงจร
๒. เพื่อปลูกฝังและเผยแพร่ปรัชญาตามแนวพระราชดำริให้กับผู้เข้ารับการอบรม และขยายผลไปสู่ท้องถิ่นและชุมชน เพื่อเพิ่มศักยภาพ และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน รวมทั้งอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้สามารถใช้ประโยชน์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นในการพัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่นและชุมชนอย่างยั่งยืน
๓. เพื่อพัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งธุรกิจท้องถิ่น แหล่งท่องเที่ยว และแหล่งบริการทางสังคมแก่เยาวชน และประชาชนทั่วไป
แนวทางการดำเนินงาน : กิจกรรมของโครงการแบ่งเป็น ๒ ส่วน ประกอบด้วย
๑. ด้านบริการวิชาการ จัดกิจกรรมด้านวิชาการเพื่อเสริมสร้างให้ประชาชนสามารถประกอบอาชีพ และพัฒนาตนเองให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย
- การจัดอบรมวิชาชีพต่างๆ ให้เยาวชน ประชาชนในจังหวัดนครปฐม และจังหวัดใกล้เคียง โดยเฉพาะบุคคลที่ขาดโอกาสทางด้านการศึกษาในระบบ โดยเนื้อหา
วิชาชีพจะต้องเหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจ สังคม และสอดคล้องกับความจำเป็นและความต้องการของท้องถิ่น เพื่อให้สามารถนำความรู้ความสามารถไปประกอบอาชีพ และพัฒนาตนเองให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ห้องสมุดประชาชนสมัยใหม่ มีระบบจัดเก็บ รวบรวม และรักษาหนังสือ วารสาร จุลสารและเอกสารตีพิมพ์ที่หลากหลาย เพื่อให้สามารถค้นคว้าความรู้ และเรียนรู้
วิชาการต่างๆ โดยเน้นข้อมูลด้านการอาชีพ จากห้องสมุดที่ทันสมัยได้มาตรฐานสากล รวมทั้งให้บริการสืบค้นทางสารสนเทศ บริการยืม – คืน หนังสืออัตโนมัติ
และบริการ Edutainment
- ห้องปฏิบัติการทางภาษา และคอมพิวเตอร์
๒.ด้านบริการสังคม เป็นการจัดกิจกรรมในโครงการเพื่อให้บริการแก่ชุมชน รวมถึงกิจกรรมเชิงธุรกิจนำรายได้มาสนับสนุนการดำเนินงานด้านวิชาการ เพื่อให้โครงการสามารถพึ่งตนเองได้ โดยกิจกรรมต่างๆ จะประกอบด้วย
- ห้องสัมมนาจัดเลี้ยงที่ทันสมัย ขนาดความจุโต๊ะจีนได้ ๔๕ โต๊ะ ทั้งนี้ สามารถกั้นเป็นห้องเล็กได้ ๓ ห้อง รวมทั้ง พื้นที่กลางแจ้งสำหรับให้บริการจัดเลี้ยง
- ร้านจำหน่ายสินค้า ประกอบด้วย ร้านค้า ซึ่งจะจัดทำเป็นมินิมาร์เก็ตขายสินค้าสุขภาพที่ผลิตจากท้องถิ่น และร้านค้าย่อย ๗ ร้าน จำหน่ายผลิตภัณฑ์/บริการหลาก
หลายรูปแบบ เช่น สินค้าภายใต้โครงการในพระราชดำริ สินค้าจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ร้านอาหารยอดนิยม ร้านหนังสือ ร้านนวดเพื่อสุขภาพ ตลอดจนร้านขายสินค้า
จากผลิตผลของผู้เข้ารับการฝึกอาชีพ ฯลฯ
http://www.chaipatpark.com/
ประเภทโครงการ : โครงการพัฒนาด้านการส่งเสริมอาชีพ