โครงการ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
อำเภอ ชะอำ จังหวัด เพชรบุรี
ที่มาของการต่อยอดโครงการ :
เมื่อวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๒๖ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช พระราชทานพระราชดำริ ให้พัฒนาพื้นที่เป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนาด้านการเกษตรกรรม โดยเน้น การปลูกป่าเพื่อฟื้นฟูสภาพป่าไม้ให้กลับอุดมสมบูรณ์ดังเดิม สามารถทำการปลูกพืช ชนิดต่าง ๆ ควบคู่ไปกับการปลูกป่า จัดหาแหล่งน้ำสนับสนุนการปลูกป่าและการเพาะปลูกพืช จัดระเบียบราษฎร ให้ราษฎรในพื้นที่โครงการให้เข้าอยู่อาศัย และทำกินอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการและสอดคล้องกับธรรมชาติ ให้ราษฎรเข้าร่วมดูแลรักษา ตลอดจนได้อาศัยผลผลิตจากป่าและเพาะปลูกพืชต่าง ๆ โดยไม่ต้องเข้าไปบุกรุกทำลายป่าไม้อีกต่อไป
ผลการดำเนินการ : ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีหน่วยงานต่างๆ ร่วมดำเนินงานสนองพระราชดำริในพื้นที่เป้าหมาย คือ หมู่บ้านรอบศูนย์ ฯ จำนวน ๒๙ หมู่บ้าน ครอบคลุมพื้นที่ ๔ ตำบล ของอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ได้แก่ ตำบล ไร่ใหม่พัฒนา ตำบลห้วยทรายเหนือ ตำบลชะอำและตำบลสามพระยาสรุปผล การดำเนินงาน ดังนี้
๑. ด้านการศึกษา วิจัย ทดลองตามแนวพระราชดำริ
มีการศึกษาวิจัยรวมทั้งสิ้น ๙๑ เรื่อง ดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน ๗๘ เรื่อง อยู่ระหว่างดำเนินการ ๑๓ เรื่อง ได้แก่ งานวิจัยด้านปศุสัตว์ จำนวน ๓ เรื่อง และงานวิจัยที่ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน ๑๐ เรื่อง ในจำนวนผลงานวิจัย ที่แล้วเสร็จ ๗๘ เรื่อง ได้นำไปขยายผลสู่เกษตรกรจำนวน ๓๔ เรื่อง และนำไปจัดทำเป็นหลักสูตรฝึกอบรม จำนวน ๘ หลักสูตร พร้อมทั้งจัดทำคู่มือเผยแพร่ จำนวน ๓๗ เรื่อง นอกจากนี้ ยังมีโครงการศึกษาทดลองสำคัญที่ดำเนินการต่อเนื่อง ได้แก่
โครงการปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์ไก่เขียวห้วยทราย เป็นการปรับปรุงพันธุ์ไก่พื้นเมือง (พันธุ์เขียวเพชรบุรีกับพันธุ์ประดู่หางดำ) เพื่อให้ได้พันธุ์ที่เป็นเอกลักษณ์ (ขนสีดำ-เขียว) โครงสร้างดี หน้าอกกว้าง น่องใหญ่ โตเร็ว ทนต่อโรคและสภาพแวดล้อม เกษตรกรทั่วไปสามารถเลี้ยงและขยายพันธุ์ได้ ไก่เขียวห้วยทราย ตัวผู้โตเต็มวัย น้ำหนัก ๓.๕ กิโลกรัมขึ้นไป ตัวเมียโตเต็มวัย น้ำหนัก ๒.๕ กิโลกรัมขึ้นไป ปัจจุบันราคาขายไก่พื้นเมืองในพื้นที่เพชรบุรี กิโลกรัมละ ๘๐ บาท
โครงการพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์แพะห้วยทราย เป็นการปรับปรุง พันธุ์แพะ โดยการผสมระหว่างพ่อแม่พันธุ์แพะพื้นเมือง (แพะเนื้อ) กับพ่อแม่พันธุ์แพะนม (พันธุ์ซาแนน) พันธุ์แพะที่ได้จะมีลักษณะทางพันธุกรรมเด่นทั้งเนื้อและนม คือให้เนื้อและ นมดี ทนต่อโรคและสภาพแวดล้อมในพื้นที่ สามารถกินอาหารในพื้นที่เพชรบุรีได้เป็นอย่างดี ราคาขายปัจจุบันกิโลกรัมละ ๑๕๐ บาท จะทำให้เกษตรกรมีรายได้จากการขายแพะ ห้วยทราย ตัวละประมาณ ๓,๐๐๐ - ๔,๕๐๐ บาท
๒.ด้านการขยายผลและถ่ายทอดเทคโนโลยีตามแนวพระราชดำริ มีการถ่ายทอดความรู้และขยายผลความสำเร็จสู่เกษตรกร ประชาชนทั่วไป และผู้ที่สนใจ ดังนี้
๒.๑ ขยายผลสำเร็จสู่เกษตรกร
จัดทีมเจ้าหน้าที่ขยายผลของศูนย์ ฯ ออกเยี่ยมเยียนและส่งเสริมเกษตรกรในพื้นที่หมู่บ้านรอบศูนย์ ฯ ในเรื่องต่าง ๆ อาทิ เกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรผสมผสาน การผลิตปุ๋ยหมัก การปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยพืชสด การเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น ในปี ๒๕๕๕ มีเกษตรกรที่นำความรู้ไปปรับใช้ในแปลงของตนเองจนประสบความสำเร็จสามารถเป็นเกษตรกรตัวอย่างได้ ๓ ราย คือ นางมาลี พลอยดีเลิศ นางเยื่อ มานพ และนายบุญธรรม มะกง รวมเป็นจำนวนเกษตรกรตัวอย่างของศูนย์ ฯ ทั้งหมด ๗๗ ราย
๒.๒ ฝึกอบรมเกษตรกร
จัดโครงการฝึกอบรม “หลักสูตรเกษตรทฤษฎีใหม่ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” จำนวน ๖ รุ่น รุ่นละ ๓๐ คน รวมเป็น ๑๘๐ คน และ “หลักสูตร การเพาะเห็ดนางฟ้า” ให้แก่นักเรียน ๒๓ โรงเรียน รวม ๕๒๐ คน พร้อมสนับสนุน ก้อนเชื้อเห็ด รวม ๑๒,๔๐๐ ก้อน และอบรมเกษตรกร ๒๒๕ ราย สนับสนุนก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้า ๕,๗๐๐ ก้อน นอกจากนี้ ยังมีโครงการฝึกอบรมหลักสูตรต่าง ๆ ตามแผนงานของหน่วยงานที่ร่วมดำเนินงานสนองพระราชดำริ เช่น การเลี้ยงปลานิลในบ่อดิน การเลี้ยงสัตว์ปีกในโรงเรียน การควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธี เทคนิคการขยายพันธุ์ไม้ผล การพัฒนาหมอดินอาสาประจำหมู่บ้าน การเลี้ยงแพะ การเลี้ยงโคขุน การใช้และบำรุงรักษาเครื่องยนต์เกษตร เป็นต้น รวมเป็นจำนวนผู้เข้ารับการอบรมในปี ๒๕๕๕ จำนวน ๒,๔๑๓ คน
๒.๓ สนับสนุนปัจจัยการผลิต
สนับสนุนพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ให้แก่เกษตรกรและประชาชนทั่วไป อาทิ พันธุ์ปลา จำนวน ๖๖๓,๐๐๐ ตัวพันธุ์ไก่พื้นเมือง จำนวน ๓๓๐ ตัว พันธุ์เป็ดเทศลูกผสม จำนวน ๒๘๐ ตัว พันธุ์ไก่งวง จำนวน ๔๐ ตัว สนับสนุนกล้าไม้ เช่น คูณ สะเดา ขี้เหล็ก พะยอม ตะแบก ฯลฯ จำนวน ๑,๘๕๓ ต้น และสนับสนุนกล้าหญ้าแฝก จำนวน ๑,๐๐๐,๐๐๐ กล้า
๒.๔ จัดพื้น
ที่สาธิตภายในศูนย์ ฯ
โดยจัดทำเป็นสถานีการเรียนรู้ในแต่ละเรื่อง เช่น สาธิตการใช้ หญ้าแฝกปรับปรุงดินที่แข็งเป็นดาน สาธิตกาพัฒนาที่ดิน สาธิตแปลงผักผสมผสาน สาธิตการเลี้ยงสัตว์ สาธิตการทำน้ำหมักชีวภาพ เป็นต้น
๒.๕ การขยายผลไปสู่เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย
ดำเนินการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในช่วงปลายปี ๒๕๕๔ โดยจัดทำเป็นโครงการ “ฟื้นฟูเกษตรกรหลังภาวะน้ำท่วมตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” เพื่อให้เกษตรกรที่ประสบอุทกภัย ได้เข้ารับการอบรมเพื่อฟื้นฟูอาชีพ โดยเน้นกิจกรรมที่สามารถทำได้ง่ายและฟื้นตัวได้เร็ว พร้อมทั้งสนับสนุนปัจจัยการผลิตแก่ผู้เข้าอบรม เช่น เป็ดรุ่นคละเพศพร้อมอาหารเป็ด และกล้าไม้ผลพันธุ์ดี รวมจำนวน ผู้เข้ารับการอบรมทั้งโครงการ จำนวน ๑๒ รุ่น ๔๗๘ คน
๒.๖ สนับสนุนเกษตรกร
ให้การสนับสนุนและช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่หมู่บ้านรอบศูนย์ฯ ที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งในช่วง ๒-๓ ปีที่ผ่านมา โดยในปี ๒๕๕๕ ได้ดำเนินการ ขุดสระน้ำใน พื้นที่นานอกเขตชลประทาน จำนวน ๒ สระ (งานพัฒนาที่ดิน) และขุดเจาะบ่อน้ำบาดาล ทั้งในพื้นที่ศูนย์ ฯ และพื้นที่บ้านเกษตรกร (กรมทรัพยากรน้ำบาดาล) จำนวนรวม ๑๗ บ่อ รวมถึงพัฒนาบ่อน้ำบาดาลเก่าของเกษตรกร ด้วยการเป่าล้างและกลบบ่อที่ใช้การไม่ได้ในพื้นที่ ๓ ตำบล จำนวนรวม ๕๐ บ่อ
๓. ด้านการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๓.๑ ส่งเสริมการอนุรักษ์ดินและน้ำตามแนวพระราชดำริ โดยในปี ๒๕๕๕ ผลิตกล้าหญ้าแฝกเพื่อแจกจ่ายเกษตรกรและประชาชนทั่วไป จำนวน ๔๖๒,๕๐๐ กล้า และเพื่อปลูกในพื้นที่ศูนย์ ฯ จำนวน ๑๔๐,๑๐๐ กล้า นอกจากนี้ ยังปลูกหญ้าแฝก รอบสระเก็บน้ำเพื่อป้องกันการพังทลายของหน้าดิน จำนวนรวมทั้งสิ้น ๓๒๒,๔๐๐ กล้า
๓.๒ ดำเนินการก่อสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้นในพื้นที่ศูนย์ ฯ โดยการสนับสนุนของบริษัทปูนซิเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) ตามโครงการอินทรีสร้างฝายถวายในหลวง ๘๔ ฝาย สำหรับปี ๒๕๕๕ ก่อสร้างฝายแล้วเสร็จ ๗ ฝาย สรุปรวมตั้งแต่เริ่มโครงการปี ๒๕๕๓ ถึงปัจจุบัน มีฝายที่สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว จำนวน ๓๗ ฝาย
๓.๓ ดำเนินการฟื้นฟูสภาพป่า โดยการปลูกสร้างเสริมป่าและปรับเปลี่ยน พันธุ์ไม้ในแปลงปลูกป่าเดิม บริเวณด้านตะวันออกของเขาทองและเขาบ่อขิง พื้นที่ประมาณ ๕๐๐ ไร่ และซ่อมแซมแนวป้องกันไฟป่า ระยะทาง ๓๐ กิโลเมตร รวมถึงเพาะพันธุ์กล้าไม้เพื่อแจกจ่าย รวม ๒๒ ชนิด จำนวน ๑๗๙,๔๐๓ กล้า
๓.๔ สร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้กับประชาชน โดยจัดพื้นที่รองรับกิจกรรมปลูกป่าบริเวณด้านทิศตะวันตกเขาทอง และบริเวณท้ายอ่างเก็บน้ำห้วยตะแปด มีหน่วยงานราชการและบริษัทเอกชนเข้าร่วมปลูกป่า จำนวนกว่า ๑,๐๐๐ ต้น
๓.๕ ดำเนินการอนุรักษ์สัตว์ป่า โดยการเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์ป่า จำนวน ๖๒ ชนิด รวมทั้งสิ้น ๑,๒๐๗ ตัว ในปี ๒๕๕๕ มีสัตว์ป๔.๒ จัดทำเอกสารเผยแพร่ผลการดำเนินงานและองค์ความรู้ต่าง ๆ เช่น รายงานประจำปี ๒๕๕๔ จำนวน ๓๐๐ เล่ม เอกสารองค์ความรู้ คู่มือการอบรม จำนวน ๑๒ ชนิด ๑๕๐ ตัว
๔. ด้านการประชาสัมพันธ์
ในปี ๒๕๕๕ มีผู้มาเยี่ยมชมและศึกษาดูงานทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ รวมทั้งสิ้น ๕๕,๖๒๓ คน (ข้อมูล ณ วันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๕) ซึ่งเป็นผลจาก การประชาสัมพันธ์ในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๔.๑ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านวิทยุชุมชน ความถี่ ๙๑.๗๕ MHz.ในรายการ “ศูนย์ ฯ ห้วยทราย ฯ ห่วงใยประชาชน” ทุกวันจันทร์ถึงวันศุกร์ เวลา ๑๕.๐๐ - ๑๗.๐๐ น.
๔.๒ จัดทำเอกสารเผยแพร่ผลการดำเนินงานและองค์ความรู้ต่าง ๆ เช่น รายงานประจำปี ๒๕๕๔ จำนวน ๓๐๐ เล่ม เอกสารองค์ความรู้ คู่มือการอบรม จำนวน ๔ เรื่อง รวม ๔,๔๐๐ เล่ม และแผ่นพับสำหรับแจกจ่ายให้กับผู้ที่เข้ามาศึกษาดูงาน จำนวน ๔๐,๐๐๐ แผ่น
๔.๓ ร่วมจัดนิทรรศการเผยแพร่โครงการพระราชดำริตามหน่วยงานต่างๆ จำนวน ๑๒ ครั้ง เช่น งานพระนครคีรีเมืองเพชร งานของดีอำเภอท่ายาง งานชุมนุมลูกเสือชาวบ้าน
๔.๔ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ศูนย์ ฯ ผ่านเว็บไซต์www.huaysaicenter.org ซึ่งมีผู้เข้าเยี่ยมชม ๑๑,๘๖๕ ราย
๔.๕ ออกแบบ จัดทำ และปรับปรุงป้ายสื่อความหมาย ป้ายกิจกรรมต่างๆ ภายในศูนย์ ฯ และป้ายบอกเส้นทางไปศูนย์เรียนรู้เกษตรกรตัวอย่าง
๕. ด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ดำเนินการขุดเจาะบ่อน้ำบาดาบพร้อมเครื่องสูบน้ำ จำนวน ๒ บ่อ สร้างระบบประปา ๑ ระบบ และปรับปรุงเครื่องสูบน้ำ จำนวน ๒ บ่อ สร้างระบบประปา ๑ ระบบ และปรับปรุงระบบประปาบาดาลและอื่น ๆ จำนวน ๑ ระบบ
ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น : การดำเนินงานของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในปี ๒๕๕๕ มีประชาชนในพื้นที่เป้าหมายได้รับประโยชน์โดยตรง จำนวน ๒๙ หมู่บ้าน ๔,๗๑๙ ครัวเรือน ในการดำเนินงานจะมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการเป็นต้นแบบการพัฒนา เป็นแหล่งถ่ายทอดเทคโนโลยี และส่งเสริมอาชีพที่เหมาะสมให้กับเกษตรกรและประชาชนที่สนใจ นอกจากนี้ ยังทำหน้าที่เป็นแหล่งอนุรักษ์และฟื้นฟู สภาพป่าไม้ สัตว์ป่า และแหล่งเรียนรู้ศึกษาธรรมชาติให้กับนักเรียน นักศึกษา เยาวชน และบุคคลทั่วไปอีกด้วย ซึ่งผลสำเร็จของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย ฯ ที่เป็นรูปธรรมชัดเจน คือ จำนวนเกษตรกรที่สามารถนำความรู้และปัจจัยการผลิตไปใช้ในการดำเนินชีวิต จนสามารถพึ่งตนเองได้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกปี
ประเภทโครงการ : โครงการพัฒนาแบบบูรณาการ และโครงการพัฒนาด้านอื่น ๆ