๒๒ ธันวาคม ๒๕๖๗

โครงการ อ่างเก็บน้ำห้วยทอน(ตอนบน) พัฒนาลุ่มน้ำห้วยทอน(งานป่าไม้)

อำเภอ ศรีเชียงใหม่ จังหวัด หนองคาย


ที่มาของการต่อยอดโครงการ :

เมื่อวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๓๒ และ ๑ ธันวาคม ๒๕๓๕ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานพระราชดำริให้พิจารณาวางโครงการและก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ และเขื่อนทดน้ำที่ลำห้วยทอน และห้วยสาขาของห้วยทอน เพื่อจัดหาน้ำช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูก ในเขตตำบลต่างๆ ของอำเภอศรีเชียงใหม่ อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย และอำเภอน้ำโสม อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี และ ควรพิจารณาอนุรักษ์ป่าไม้ ต้นน้ำลำธารไว้ และจัดหาน้ำช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกของหมู่บ้าน จังหวัดหนองคาย และอุดรธานี และให้มีการจัดสร้าง “พุทธอุทยาน” ขึ้น เพื่อควบคุมดูแลรักษาป่าไม้ และสัตว์ป่าด้วย

ผลการดำเนินงาน ปี ๒๕๓๗  :

- งานป้องกันและรักษาป่า ๑๑๑,๑๕๐ ไร่

- งานปลูกป่า ๕๐๐ ไร่

- เพาะชำกล้าไม้ ๔๐๐,๐๐๐ ต้น

- อบรมอาสาสมัคร และเยาวชน ๔ รุ่น

- งานพัฒนาหมู่บ้านป่าไม้

ประโยชน์ของโครงการ : รักษาพื้นที่ต้นน้ำลำธารของอ่างเก็บน้ำ จำนวน ๕ อ่าง พื้นที่ประมาณ ๑๑๑,๒๕๐ ไร่ ราษฎรได้ประโยชน์ในเรื่องน้ำเพื่อการเพาะปลูก 

   

งานป้องกันรักษาป่าพื้นที่ จำนวน ๑๑๑,๒๕๐ ไร่ โดยจัดตั้งหน่วยรักษาป่าคอยดูแลป้องกันการตัดไม้ทำลายป่า และประชาสัมพันธ์ให้ราษฎรเข้าใจด้วย

   

พื้นที่ป่าไม้ที่ถูกบุกรุกทำลาย   แปลงสาธิตวนเกษตร โดยปลูกพืชไร่ผสมผสานกับการปลูกป่าไม้

ผลการดำเนินงาน ปี ๒๕๓๙  (พัฒนาอาชีพ) :

- ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงปลา

- ขุดสระน้ำในไร่นา ขนาดความจุ ๒,๕๐๐ ลูกบาศก์เมตร จำนวน ๒๓ บ่อ

- ปลูกหญ้าแฝก สาธิตการใช้ปุ๋ย

- ส่งเสริมการสร้างสวนผลไม้

- ส่งเสริมการเลี้ยงไก่

 - ฝึกอบรมการเกษตรตามรูปแบบทฤษฎีใหม่

ประโยชน์ของโครงการ :

๑. เกษตรกรที่ร่วมโครงการฯ จะมีการพัฒนาที่ดีขึ้น มีความเข้าใจ รู้จักคิด รู้จักทำการเกษตรในลักษณะผสมผสานตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่

๒. เพิ่มรายได้ และสภาพความเป็นอยู่ของราษำรในพื้นที่ที่ร่วมโครงการฯ

โครงการฝายห้วยทอน จังหวัดหนองคาย

ผลการดำเนินงาน ปี ๒๕๓๙ : ก่อสร้างฝายกั้นน้ำ ขนาดสูง ๗.๕ เมตร ยาว ๖๕ เมตร พร้อมท่อส่งน้ำ และอาคารประกอบ 

ประโยชน์ของโครงการ : ทำให้ราษฎร จำนวน ๖ หมู่บ้าน ๙๙๐ ครัวเรือน จำนวน ๔,๙๘๐ คน มีน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค และการเกษตรกรรมได้ตลอดปี 

   

ฝายคันกั้น ขนาดความสูง ๗.๕ เมตร ยาว ๖๕ เมตร

ผลการดำเนินงาน ปี ๒๕๔๐  : สำนักงาน กปร. ได้ประสานงานกับกรมชลประทานดำเนินการสำรวจสภาพพื้นที่และพิจารณาตามความเหมาะสมแล้ว เห็นควรดำเนินการพัฒนาลุ่มน้ำทอนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จำนวน ๖ โครงการ สามารถเก็บกักน้ำประมาณทั้งสิ้น จำนวน ๒๙.๔๐ ล้านลูกบาศก์เมตร และส่งน้ำสนับสนุนพื้นที่ที่ได้รับประโยชน์ จำนวน ๔๑,๒๐๐ ไร่ 

๑. ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยทอนตอนบน ซึ่งกรมชลประทานได้ดำเนินการก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๗ ต่อมาเมื่อวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๓๙ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้มีพระราชดำริเพิ่มเติมให้พิจารณาดำเนินการก่อสร้างระบบส่งน้ำของอ่างเก็บน้ำห้วยทอน บ้านทอนเหนือ ตำบลพระพุทธบาท อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย เพื่อส่งน้ำเพิ่มเติมให้แก่สระเก็บน้ำประจำไร่นาของราษฎรตามแนวทฤษฎีใหม่โ

ผลการดำเนินงาน ปี ๒๕๔๐ ได้ดำเนินการก่อสร้างระบบชลประทานบ่อพักน้ำ บ่อคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาด ๕ X ๕ เมตร ลึก ๖ เมตร จำนวน ๑๐ บ่อ พร้อมอาคารสูบน้ำ ๑ แห่ง

ประโยชน์ของโครงการ : 

๑. ราษฎร ๕ หมู่บ้าน ๒ ตำบล ของอำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย จำนวน ๔๑๐ ครัวเรือน ๑,๑๔๕ คน มีน้ำใช้ในการเพาะปลูก

๒. ก่อให้เกิดประโยชน์โดยตรงแก่พื้นที่เพาะปลูก จำนวน ๒,๘๐๐ ไร่

   

ก่อสร้างบ่อพักน้ำคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาด ๕ X ๕ เมตร ลึก ๖ เมตร   อาคารสูบน้ำเพื่อนำน้ำไปช่วยเหลือเกษตรกรเติมสระเก็บน้ำ

๒. ก่อสร้างฝายห้วยทอน ซึ่งเมื่อปี ๒๕๓๙ ได้ดำเนินการก่อสร้างฝายกั้นน้ำ ขนาดสูง ๗.๕ เมตร ยาว ๖๕ เมตร พร้อมท่อส่งน้ำ และอาคารประกอบ

ทำให้ราษฎร จำนวน ๖ หมู่บ้าน ๙๙๐ ครัวเรือน จำนวน ๔,๙๘๐ คน มีน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค และการเกษตรกรรมได้ตลอดปี

๓. ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยหินแก้ว

ผลการดำเนินงาน ปี ๒๕๔๐ : ได้ดำเนินการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดความจุ ๔,๐๐๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร

ประโยชน์ของโครงการ :

๑. ราษฎร จำนวน ๕๔๕ ครัวเรือน จำนวน ๒,๗๒๕ คน ได้ใช้น้ำอุปโภค-บริโภค เลี้ยงสัตว์ การประมง การเพาะปลูก และสามารถป้องกันอุทกภัยได้ด้วย

๒. จะก่อให้เกิดประโยชน์โดยตรงแก่พื้นที่ จำนวน ๕,๕๐๐ ไร่

   

ก่อสร้างอ่างเก็บห้วยหินแก้ว น้ำขนาดความจุ ๔,๐๐๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร

   

บดอัดแน่นหินคลุกฐานบ่อพักน้ำ

   

เทคอนกรีตสันฝาย

   

งานปรับปรุงฐานรากเขื่อน

ผลการดำเนินงาน ปี ๒๕๕๕  : ปรับปรุงระบบนิเวศต้นน้ำโดยก่อสร้างฝายต้นน้ำแบบผสมผสาน จำนวน ๒๐๐ แห่ง จัดทำป่าเปียก ปลูกป่าทดแทนฟื้นฟูพื้นที่ป่าต้นน้ำ ปลูกหวายเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำ และจัดทำแนวกันไฟ  

ประโยชน์ของโครงการ : ทำให้พื้นที่ป่าต้นน้ำลำธารได้รับการอนุรักษ์และฟื้นฟูให้มีความอุดมสมบูรณ์ และเป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญที่ช่วยหล่อเลี้ยงอ่างเก็บน้ำในเขตโครงการพัฒนาลุ่มน้ำห้วยทอนฯ นอกจากนี้การดำเนินงานยังมีการจ้างแรงงานซึ่งช่วยสร้างงานสร้างรายได้ให้กับราษฎรในพื้นที่ด้วย 

   

ผลการดำเนินงาน ปี ๒๕๕๖  : จัดทำฝายต้นน้ำแบบผสมผสาน ๒๐๐ แห่ง จัดทำป่าเปียก ๒๐ ไร่ ปลูกป่าฟื้นฟูพื้นที่ป่าต้นน้ำ ๑๕๐ ไร่ ปลูกป่าปรับปรุงระบบนิเวศต้นน้ำ ๓๐๐ ไร่ ปลูกหวายเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำ ๑๐๐ ไร่ ปลูกป่า ๓ อย่าง ประโยชน์ ๔ อย่าง ๕๐ ไร่ เพาะชำกล้าไม้มีค่าเพื่อแจกจ่ายราษฎร ๑๐๐,๐๐๐ กล้า และจัดทำแนวกันไฟ ระยะทาง ๓๐ กิโลเมตร 

ประโยชน์ของโครงการ : ทำให้มีพื้นที่ป่าไม้เพิ่มขึ้น สร้างความชุ่มชื้นและมีระบบอนุรักษ์ดินและน้ำที่ดี มีแนวป้องกันไฟป่าเป็นการรักษาระบบนิเวศป่าต้นน้ำในระยะยาวและสร้างจิตสำนึกและเพิ่มเครือข่ายในการดูแลและอนุรักษ์ทรัพยากรด้านป่าไม้ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนทำให้คนอยู่กับป่าได้อย่างสมดุล 

   

   

ประเภทโครงการ : โครงการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม