โครงการ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
๑๓๓๐๐ ไร่ ตำบล ห้วยยาง อำเภอ เมืองสกลนคร จังหวัด สกลนคร
ที่มาของการต่อยอดโครงการ :
เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๒๕ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานพระราชดำริกับหม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ และอธิบดีกรมชลประทาน พร้อมด้วย นายเล็ก จินดาสงวน ให้พิจารณาวางโครงการจัดหาน้ำสนับสนุนโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน โดยมุ่งเน้นให้เป็นศูนย์กลางในการศึกษา ทดลองการเกษตรในด้านต่างๆ ตลอดจนการอบรม และเผยแพร่ไปสู่ราษฎรในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๒๕ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานพระราชดำริให้พิจารณาวางโครงการจัดหาน้ำสนับสนุนโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร โดยมุ่งเน้นให้เป็นศูนย์กลางของการศึกษา ทดลองงานที่พัฒนาแบบเบ็ดเสร็จและมีรูปแบบการพัฒนาที่เหมาะสมกับสภาพภูมิสังคมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับเป็นตัวอย่างให้ราษฎรนำไปปฏิบัติในพื้นที่ของตนเองได้ อันจะนำไปสู่ความสามารถในการพึ่งตนเองต่อไป และได้พระราชทานพระราชดำริให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ เป็นศูนย์ให้บริการในด้านเทคนิคและวิชาการที่ครบวงจร เพื่อให้ราษฎรเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งอยู่ที่บ้านนานก-เค้า ตำบลห้วยยาง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร มีพื้นที่โครงการฯ ประมาณ ๒,๑๐๐ ไร่ และมีเขตปริมณฑลเพื่อการพัฒนาป่าไม้ประมาณ ๑๑,๐๐๐ ไร่ ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๒๗ โดยมีกรมชลประทานเป็นหน่วยงานหลักและมีหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องทุก ๆ ส่วน เข้าร่วมในการดำเนินงาน โดยมุ่งเน้นที่จะให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนา ภูพานฯ เป็นศูนย์กลางในการศึกษา ทดลองการเกษตรในด้านต่างๆ ตลอดจนการอบรมและเผยแพร่ไปสู่ข้าราชการ และเกษตรกรในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้ยังเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารและพัฒนาหมู่บ้านให้เป็นหมู่บ้านตัวอย่างในรูปแบบหมู่บ้านสหกรณ์ต่อไป
เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๓๓ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พร้อมด้วยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งจากพระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร ไปทอดพระเนตรการดำเนินงานของศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ในการนี้ได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับงานพัฒนาในด้านต่างๆ พอสรุปได้ดังนี้ “การทำอุตสาหกรรมในครัวเรือนใช้ไม้ไผ่จำนวนมากในศูนย์ศึกษานี้ ควรรวบรวมพันธุ์ไผ่และปลูกไผ่ในสภาพพื้นที่ต่างๆ กัน ถ้าเลือกเฉพาะสภาพพื้นที่ที่เหมาะสมปลูกแล้ว ที่อื่นๆ ไม่ทราบ ลองปลูกดูว่าจะได้ผลในสภาพใดบ้าง ต้องพยายามปลูกไม้ต่างๆ ในสภาพพื้นที่ต่างๆ ปลูกทุกลักษณะเดิม ปลูกเป็นส่วนๆ ควรปลูกในที่อื่นด้วย เพื่อเป็นตัวอย่าง”
กิจกรรมการพัฒนาที่ดิน ควรพิจารณาแก้ไขปัญหาดินลูกรังโดยเร็ว โดยพิจารณานำเครื่องจักร เครื่องมือ มากระทุ้งชั้นดิน ลูกรัง แล้วนำดินลูกรังชั้นล่างขึ้นมาผสมกบดินลูกรังชั้นบน แล้วไถกลบเชื่อว่าภายใน ๒ ปี สามารถปลูกพืชได้ และที่สำคัญในบริเวณที่ไม่ดี แต่สามารถทำให้ปลูกพืชได้ เมื่อชาวบ้านมาดู มาเห็น ทำได้ ก็จะนำไปเป็นตัวอย่างและทดลองทำในพื้นที่ของตนต่อไป
กิจกรรมการศึกษาและพัฒนาปศุสัตว์ ควรส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ที่จะให้ราษฎรสามารถปฏิบัติได้ง่ายๆ ไม่ใช้เทคโนโลยีสูงเพราะจะต้องใช้เงินลงทุนสูงตามไปด้วย ให้ค่อยๆ เพิ่มความรู้ให้ชาวบ้านทีละเล็กละน้อย ค่อยๆ เพิ่มขึ้น ส่วนการเลี้ยงไก่นั้น ราษฎรมักประสบปัญหาการตายของไก่เป็นจำนวนมาก ลองศึกษาว่าควรจะส่งเสริมให้ชาวบ้านเลี้ยงสัตว์อะไรที่ทนทานกว่าไก่ เช่น การเลี้ยงเป็ด เพราะแข็งแรง อดทนดีกว่า และไม่ต้องลงทุนสูง ส่วนวัวที่จะไปส่งเสริมให้มีการเลี้ยง ก็ควรเป็นพันธุ์ที่แข็งแรง และเป็นลูกผสม เพราะวัวพันธุ์แท้เวลานำมาเลี้ยงจะตายหมด ส่วนการเลี้ยงสุกรนั้น จะต้องนำปลาทะเลมาทำเป็นปลาป่น ซึ่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ห่างไกลจากทะเลมากก็น่าจะทดลองเลี้ยงปลาหมอเทศ และนำมาเป็นอาหารสุกรบ้าง เพราะปลาหมอเทศเลี้ยงง่าย เจริญเติบโตเร็ว ขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว แต่จะต้องประสานงานกับกรมประมงดูว่าจะเลี้ยงได้ไหม เพราะปลาหมอเทศเป็นปลานิสัยดุ หากหลุดออกไปแพร่พันธุ์ในที่ที่ไม่ต้องการจะไปทำลายปลาอื่นๆ ด้วย
ควรขยายพันธุ์สุกรเหมยชานให้มากขึ้น โดยให้คัดเลือกพันธุ์ที่เหมาะสม ลูกดก เพื่อที่จะได้ส่งเสริมให้ราษฎรได้เลี้ยงให้มากขึ้น และให้เจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ดำเนินการดูแล วัวจำนวน ๓๕ ตัว ที่มีผู้น้อมเกล้าฯ ถวาย โดยดำเนินการผสมเทียม และดูแลเรื่องสุขภาพด้วย
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งอยู่ที่บ้านนานกเค้า ตำบลห้วยยาง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร มีพื้นที่โครงการ ๑๓,๓๐๐ ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่กิจกรรมต่างๆ ๒,๓๐๐ ไร่ และมีเขตพื้นที่อนุรักษ์ฟื้นฟูป่าต้นน้ำลำธาร ๑๑,๐๐๐ ไร่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ จนถึงปัจจุบัน ได้มีการดำเนินงานในด้านต่างๆ ได้แก่งานศึกษาทดลองและวิจัย และงานด้านการขยายผลการดำเนินงานที่ประสบผลสำเร็จเป็นรูปธรรมแล้ว ซึ่งมีผลการดำเนินงานก้าวหน้าเป็นที่พอใจตามลำดับสรุปได้ดังนี้
ผลการดำเนินงาน ปี ๒๕๓๒ : งานฝึกอบรมและเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการและประชาสัมพันธ์ โดยจัดหาวัสดุครุภัณฑ์ ๔ ประเภท จำนวน ๒๔ รายการ
ประโยชน์ของโครงการ : ช่วยให้ราษฎรในเขตหมู่บ้านบริวาร จำนวน ๑๔ หมู่บ้าน และหมู่บ้านอื่นๆ ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สามารถเรียนรู้ และเข้าใจความรู้ทางวิชาการและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ได้ง่ายขึ้น และมีความสำนึกและตื่นตัวในการพัฒนาอาชีพทางด้านเกษตรกรรมมากขึ้น เพื่อจะนำไปปรับปรุงแก้ไขการทำมาหากินให้ได้ผลมากยิ่งขึ้น ในระยะยาวต่อไป
ผลการดำเนินงาน ปี ๒๕๓๓ : ในปีงบประมาณ ๒๕๓๓ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ ได้มีผลการดำเนินงาน
๑ งานชลประทาน ได้ดำเนินการบำรุงดูแล รักษาอ่างเก็บน้ำ ระบบส่งน้ำ ฝายขนาดเล็ก (Check Dam) และการส่งน้ำให้กับกิจกรรมการพัฒนาต่างๆ และดำเนินการก่อสร้างคูส่งน้ำและอาคารประกอบ ยาว ๓๘๐ เมตร พร้อมทั้งปรับปรุงอาคารบ้านพัก
๒ งานหมู่บ้านพัฒนาตัวอย่าง ได้ดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาบ้านพัฒนาตัวอย่างและขยายการส่งเสริมและพัฒนาไปยังหมู่บ้านบริวารของศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ โดยมีกิจกรรมที่สำคัญ คือ การบริหารและจัดการเกี่ยวกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ร้านค้าหมู่บ้าน ธนาคารข้าว ประปาหมู่บ้าน และการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
๓ งานศึกษาและพัฒนาเกษตรกรรม แยกเป็นกิจกรรมต่างๆ ได้ดังนี้
- กิจกรรมข้าว ได้ดำเนินการทดสอบพันธุ์ข้าว และวิธีการเพิ่มผลผลิตที่เหมาะสมต่อสภาพพื้นที่
- กิจกรรมพืชไร่ ทำการศึกษาพืชไร่เศรษฐกิจต่างๆ เพื่อที่จะหาพันธุ์และวิธีการปฏิบัติรักษาที่เหมาะสมและถูกต้องสำหรับแนะนำให้เกษตรกร
- กิจกรรมพืชสวน ทำการทดสอบพืชสวนที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ รวบรวมศึกษาและคัดพันธุ์และทำการเกษตรกรรม เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพผลผลิตที่ดี
- กิจกรรมหม่อนไหม การดำเนินงานที่สำคัญของกิจกรรมสรุปได้ คือการเปรียบเทียบผลผลิตหม่อนสายพันธุ์แก้วชนบท กับ หม่อนลูกผสมสายพันธุ์แก้วชนบท NO ๒๐, การศึกษาการปลูกหม่อนแบบแปลงผัก, การศึกษาวิธีการเก็บเกี่ยวใบหม่อนที่เหมาะสมกับการเลี้ยงไหมไทยของเกษตรกร, การทดสอบการเลี้ยงไหมสภาพโรงเลี้ยงแบบต่างๆ ที่เกษตรกรสร้างเอง เปรียบเทียบกับโรงไหมมาตรฐาน
- กิจกรรมเพาะเห็ด เพื่อนำเอาวัสดุเหลือใช้มาทดสอบและพัฒนาการเพาะเห็ด ศึกษาค้นคว้าหาวิธีการที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในสภาพพื้นที่ สรุปได้คือ การทดสอบศึกษาการเลี้ยงเชื้อเห็ดที่เหมาะสมให้อาหารเหลว, การทดสอบการทำเชื้อเห็ดชนิดต่างๆ จากวัสดุต่างๆ ที่หาได้ในท้องถิ่น, การทดสอบหาวัสดุที่เหมาะสมในการเพาะเห็ดในถุงพลาสติก, การทดสอบการเพาะเห็ดหอม โดยใช้ขี้เรื่อยไม้เบญจพรรณในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม, การทดสอบวิธีการเปิดดอกเห็ดตีนแรดที่เหมาะสม, การถ่ายทอดเทคโนโลยีได้ทำการฝึกอบรมเกษตรกร ๖๔ รุ่น
- กิจกรรมยางพารา ดำเนินการปลูกยางพารา ๓ พันธุ์ คือ RRIM ๖๐๐. GT ๑ และ PR ๒๕๕ พบว่า พืชแซมและพืชคลุมดินมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของยางอย่างเห็นได้ชัด
- กิจกรรมแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร ได้ดำเนินการศึกษาและพัฒนารูปแบบของการถนอมอาหารและแปรรูปอาหารจากผลิตผลทางการเกษตรให้มีอายุอายุยืนยาวและคุณภาพดี โดยนำผลผลิตทางการเกษตรมาแปรรูป คือ การศึกษาการทำวุ้นเส้นจากถั่วเขียว, การศึกษาการทำแป้งจากผลิตผลทางการเกษตร, การศึกษาการทำข้าวเกรียบจากผลิตผลทางการเกษตร, การศึกษาการทำผลิตภัณฑ์จากสับปะรด, การศึกษาการทำผลิตภัณฑ์จากกล้วย นอกจากนี้ยังได้ทำการศึกษาการแปรรูปและการถนอมอาหารจากผลผลิตทางการเกษตรอื่นๆ เช่น ไวน์กระเจี๊ยบ หน่อไม้บรรจุขวด กาแฟตากแห้ง น้ำเสาวรส มะละกอแก้ว ถั่วเคลือบ เห็ดตากแห้งและถั่วทอด
- กิจกรรมระบบการทำฟาร์ม ได้จัดทำฟาร์มสาธิตตัวอย่างระบบฟาร์มผสมผสานในเขตปริมณฑลของศูนย์ฯ โดยการปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ควบคู่กับการเลี้ยงปลา
๔ งานสาธิต ส่งเสริม และพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการประมง
- กิจกรรมสาธิตการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดโดยสาธิตการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ในรูปแบบต่างๆ กัน ได้แก่ สาธิตการเลี้ยงปลาในบ่อ ในนาข้าว ในกระชัง ในบ่อซีเมนต์ และบ่อในครัวเรือน และสาธิตการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในบ่อดิน
- กิจกรรมสาธิตการบริหารแหล่งน้ำเพื่อการประมง โดยสาธิตการบริหารอ่างเก็บน้ำชลประทานขนาดเล็กปล่อยปลาไปทั้งหมด ๑๑๕,๐๐๐ และชี้แจงให้ราษฎรบริเวณรอบๆ อ่างช่วยกันดูแลและรักษาป่า
- กิจกรรมส่งเสริมและบริการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อ เลี้ยงสัตว์น้ำในนา
๕ งานส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัว โดยการฝึกอบรมอาชีพ ๘ กิจกรรม คือ การทำผลิตภัณฑ์จากผักตบชวาและจากใบเตย ช่างซ่อมจักรยานยนต์ การฟอกย้อมสีฝ้าย การตีเหล็ก การทอผ้า การตัดเย็บเสื้อผ้า และการทำผลิตภัณฑ์จากผ้าและวัสดุอื่น มีราษฎรผ่านการฝึกอบรม จำนวน ๑๙๐ คน
๖ งานศึกษาและพัฒนาด้านปศุสัตว์
- งานศึกษาวิจัย ศึกษาปัญหาการเลี้ยงสุกรเหมยซาน การให้อาหารพลังงานและโปรตีนระดับต่ำ สำหรับสุกรแม่พันธุ์ ดูร็อก – เหมยซาน
- งานสาธิตเพื่อการพัฒนาปศุสัตว์ โดยการเลี้ยงโคนม โคเนื้อ สุกร และสัตว์ปีกต่างๆ
- ส่งเสริมและพัฒนาการเลี้ยงสัตว์ ได้ส่งเสริมให้เกษตรกรในหมู่บ้านรอบๆ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯเลี้ยงสัตว์ต่างๆ เช่น โคนม โคเนื้อ สุกรเหมยซาน ไก่พื้นเมือง ไก่ดำ เป็ดไข่
- การจัดหาผลิตภัณฑ์สัตว์
๗ งานศึกษา พัฒนา และปรับปรุงบำรุงดิน ได้ดำเนินการ
- งานวิจัย ได้ดำเนินการ ๘ โครงการ คือ การปรับปรุงดินลูกรังโดยใช้วัสดุคลุมดิน, การศึกษาเปรียบเทียบผลผลิตและผลตอบแทนของพืชเศรษฐกิจบางชนิด, การปลูกหญ้าผสมถั่ว โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี, การศึกษาเปรียบเทียบความชื้นในดินลูกรัง, การศึกษาเปรียบเทียบความชื้นในดินทราย, การศึกษาผลของการปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมัก, การศึกษาผลของการปรับรูปแปลงนาต่อการเพิ่มผลผลิตของข้าว, การศึกษาผลของฮิวมิก้า และปุ๋ยหมักต่อผลผลิตข้าว
- งานถ่ายทอดวิชาการ ได้แก่ สาธิตการทำปุ๋ยหมัก สาธิตการใช้ปุ๋ยหมักในนาข้าว สาธิตการใช้พืชสดในนาข้าว พืชสวน
- งานด้านบริการ ส่งเสริมการทำปุ๋ยหมัก ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยพืชสด บริการอนุรักษ์ดินและน้ำ และบริการปรับรูปแปลงนา
๘ งานศึกษาและพัฒนาป่าไม้
- กิจกรรมป้องกันรักษาป่าในเขตปริมณฑลศูนย์ฯ พื้นที่ ๑๓,๖๐๐ ไร่ ได้ออกตระเวนตรวจตรา ป้องกัน ปราบปรามการบุกรุกทำลาป่าไม้ในเขตปริมณฑลของศูนย์ฯ อย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ
- กิจกรรมเพาะชำกล้าไม้ เพื่อแจกจ่ายให้เกษตรกร วัด โรงเรียน และส่วนราชการต่างๆ
- กิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ บำรุงป่าธรรมชาติ บริเวณต้นน้ำลำธาร เนื้อที่ ๑,๐๐๐ ไร่
- กิจกรรมเกษตรกรป่าไม้ ได้จัดทำแปลงสาธิตการปลูกหวายดง ตัดหน่อบริโภคและขยายพันธุ์
- กิจกรรมการปลูกป่าและปลูกไม้ในดานหิน ได้ปลูกไม้ยางพาราเสริมธรรมชาติเนื้อที่ประมาณ ๑๐๐ ไร่
- กิจกรรมสาธิตและส่งเสริมการเพาะเลี้ยงครั่ง ได้บำรุงดูแลสวนครั่ง และปลูกต้นไม้เลี้ยงครั่งเพิ่มเติมอีก ๖ ไร่ ปล่อยครั่งพันธุ์เพาะเลี้ยงกับต้นไม้
- กิจกรรมสาธิตการแปรรูปไม้เป็นเชื้อเพลิง ได้บำรุงดูแลป่าฟืนสาธิต เตาผลิตถ่านประสิทธิภาพสูง และศึกษาผลผลิตของการผลิตถ่ายจากไม้โตเร็วบางชนิด
- กิจกรรมควบคุมไฟป่า รณรงค์ป้องกันไฟป่า และฝึกอบรมให้ราษฎรรู้จักการป้องกันไฟป่า และการดับไฟฟ้า
๙ งานส่งเสริมการเกษตร โดยมีกิจกรรมส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตข้าว ส่งเสริมการจัดไร่นาสวนผสม แปลงสาธิตการปลูกไผ่ตงแบบสวนหลังบ้าน ส่งเสริมการปลูกไผ่ตงแบบสวนหลังบ้าน
๑๐ งานสาธารณสุข ส่งเสริมการเผยแพร่ให้เกษตรกรในหมู่บ้านรอบๆ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ รู้จักการรักษาสุขภาพอนามัยที่ดีและรู้จักการป้องกันรักษาโรคต่างๆ โดยดำเนินการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในกลุ่มเป้าหมายเด็กอายุต่ำกว่า ๕ ปี งานอนามัยแม่และเด็ก โดยหญิงมีครรภ์ได้รับการดูแลก่อนคลอด ทำคลอด ดูแลแม่และเด็กหลังคลอด งานจัดหาน้ำสะอาดและสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม งานรักษาพยาบาล ได้ให้บริการโดยสถานบริการและตามแนวทางการพึ่งตนเองทางสาธารณสุขมูลฐาน ได้จัดตั้งกองทุนยา กองทุนบัตรสุขภาพ กองทุนโภชนาการ และอื่นๆ
๑๑ งานบริหารส่วนกลาง ได้ดำเนินการประสานงาน และอำนวยความสะดวกให้แก่กิจกรรมต่างๆ ให้สามารถดำเนินงานโดยคล่องตัว รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
๑๒ งานฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ได้ดำเนินการเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการและเทคโนโลยีแผนใหม่ ที่ได้รับจากการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง ของกิจกรรมต่างๆ ว่าเป็นผลดีสามารถนำไปเผยแพร่ประชาชนต่อไป โดยมีเกษตรกรเข้ารับการฝึกอบรมที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ จำนวนทั้งสิ้น ๑,๖๕๖ คน
ผลการดำเนินงาน ปี ๒๕๓๔ : ในปีงบประมาณ ๒๕๓๔ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ ได้มีผลการดำเนินงาน
๑. งานชลประทาน ได้ดำเนินการบำรุงดูแล รักษาอ่างเก็บน้ำ ระบบส่งน้ำ ฝายขนาดเล็ก (Check Dam) และการส่งน้ำให้กับกิจกรรมการพัฒนาต่างๆ และก่อสร้างร่องระบายน้ำสองข้างถนน
๒. งานหมู่บ้านพัฒนาตัวอย่าง ได้ดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาบ้านพัฒนาตัวอย่างหมู่บ้านบริวารของศูนย์ฯ การบริหารและจัดการเกี่ยวกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ธนาคารข้าว กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ฝึกอบรมผู้นำท้องถิ่น และกิจกรรมเยาวชน
๓. งานศึกษาและพัฒนาเกษตรกรรม นำความรู้และเทคโนโลยีแผนใหม่ไปส่งเสริมและเผยแพร่ให้เกษตรกรนำไปปฏิบัติตาม แยกเป็นกิจกรรมข้าว พืชไร่ พืชสวน หม่อนไหม เพาะเห็ด พารา แปรรูปผลิตผลทางการเกษตร พัฒนารูปแบบการถนอมและการแปรรูปอาหารจากผลิตผลการเกษตรให้มีอายุยืนนาน มีคุณภาพดีและเพิ่มคุณค่าของอาหารให้มากขึ้น กิจกรรมระบบการทำฟาร์ม ศึกษาการพัฒนาระบบการทำฟาร์มพื้นที่เกษตรกรในหมู่บ้าน เพื่อจะได้ใช้เป็นข้อมูลในการวางแผน และปรับปรุงการประกอบอาชีพทางเกษตรกรรมให้ได้ผลมากยิ่งขึ้น
๔. งานสาธิต ส่งเสริม และพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการประมง ได้ดำเนินการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ในรูปแบบต่างๆ การเลี้ยงปลาในบ่อ ในนาข้าว ในกระชัง ในบ่อซีเมนต์
- ผลิตพันธุ์สัตว์น้ำ เพื่อใช้แจกจ่าย และปล่อยในแหล่งน้ำ จำนวน ๒๐๐,๐๐๐ ตัว เป็นปลานิล ๕๐,๐๐๐ ตัว ปลาไน ๕๐,๐๐๐ ตัว และปลาตะเพียนขาว ๑๐๐,๐๐๐ ตัว
- สาธิตการบริหารแหล่งน้ำเพื่อการประมง โดยสาธิตกาบริหารอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก ๑ แห่ง คือ อ่างเก็บน้ำห้วยเวียนไพร บ้านลาดกระเชอ พื้นที่ ๑๐ ไร่ ปล่อยปลา ๓๐,๐๐๐ ตัว และชี้แจงให้ราษฎรบริเวณรอบอ่างเก็บน้ำ ช่วยกันดูแลรักษาและจับปลาเฉพาะตัวใหญ่
- กิจกรรมส่งเสริมและบริการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยเลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อ เลี้ยงสัตว์น้ำในนา ส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อแบบผสมผสาน และส่งเสริมการเลี้ยงปลาในกระชัง
๕. งานส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัว โดยการฝึกอบรมอาชีพ ๙ กิจกรรม คือ การทำผลิตภัณฑ์จากผักตบชวา การบัดกรีโลหะแผ่น ช่างเชื่อโลหะ ย้อมสีฝ้าย ผลิตภัณฑ์จากเชือกกระสอบ ย้อมสีไหม ทอผ้าด้วยกี่กระตุก ซ่อมรถจักรยานยนต์ และผลิตภัณฑ์จากใบเตย
๖ งานศึกษาและพัฒนาด้านปศุสัตว์
- ศึกษาวิจัย
- สาธิตเพื่อการพัฒนาปศุสัตว์ การเลี้ยงโคนม โคเนื้อ สุกร และสัตว์ปีก การพัฒนาพืชอาหารสัตว์ในแปลงหญ้าเลี้ยงสัตว์ และแปลงนาพืชอาหารสัตว์
- ส่งเสริมและพัฒนาการเลี้ยงสัตว์ ได้ส่งเสริมให้เกษตรกรในหมู่บ้านรอบๆ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ เช่น โคนม โคเนื้อ สุกรเหมยซาน สัตว์ปีก และจัดตั้งกลุ่มเลี้ยงสัตว์
- สนับสนุนพันธุ์สัตว์และพืชอาหารสัตว์ เช่น ไก่ สุกร และผลิตพืชอาหาร
๗ งานศึกษาพัฒนาและปรับปรุงบำรุงดิน ได้ดำเนินการ
- กิจกรรมวิจัย ทดสอบ
- กิจกรรมถ่ายทอดวิชาการ ได้แก่ สาธิตการทำปุ๋ยหมัก สาธิตการใช้ปุ๋ยหมักในนาข้าว สาธิตการใช้พืชสดในนาข้าว พืชสวน
- กิจกรรมด้านบริการ ส่งเสริมการทำปุ๋ยหมัก ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยพืชสด บริการอนุรักษ์ดินและน้ำ และบริการปรับรูปแปลงนา
๘ งานศึกษาและพัฒนาป่าไม้
- กิจกรรมป้องกันรักษาป่าในเขตปริมณฑลศูนย์ฯ พื้นที่ ๑๓,๖๐๐ ไร่ ได้ออกตระเวนตรวจตรา ป้องกัน ปราบปรามการบุกรุกทำลาป่าไม้ในเขตปริมณฑลของศูนย์ฯ อย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ
- กิจกรรมเพาะชำกล้าไม้ เพื่อแจกจ่ายให้เกษตรกร วัด โรงเรียน และส่วนราชการต่างๆ
- กิจกรรมศึกษาทางด้านวนวัฒนวิทยา เป็นการศึกษาเพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาเลือกพันธุ์ไม้ และวิธีการที่เหมาะสมในการปลูกและบำรุงรักษา
- กิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ เป็นการช่วยและสนับสนุนให้พันธุ์ไม้ที่มีค่าในทางเศรษฐกิจและการอนุรักษ์ ในพื้นที่ต้นน้ำลำธาร และปลูกซ่อมต้นไม้
- กิจกรรมบำรุงรักษาสวนเดิม บำรุงดูแลรักษาต้นไม้ โดยการถางวัชพืช ลิดกิ่ง ตกแต่งลำต้นไม้ ทั้งทำแนวกันไฟ
- กิจกรรมมวนเกษตร ได้จัดทำแปลงสาธิตการปลูกหวายดง ตัดหน่อบริโภคและขยายพันธุ์
- กิจกรรมสาธิตและส่งเสริมการเพาะเลี้ยงครั่ง ได้บำรุงดูแลสวนครั่ง และปลูกต้นไม้เลี้ยงครั่งเพิ่มเติมอีก ๒ ไร่ ปล่อยครั่งพันธุ์เพาะเลี้ยงกับต้นไม้
- กิจกรรมสาธิตการแปรรูปไม้เป็นเชื้อเพลิง ได้บำรุงดูแลป่าฟืนสาธิต เตาผลิตถ่านประสิทธิภาพสูง และศึกษาผลผลิตของการผลิตถ่ายจากไม้โตเร็วบางชนิด
- กิจกรรมควบคุมไฟป่า รณรงค์ป้องกันไฟป่า และฝึกอบรมให้ราษฎรรู้จักการป้องกันไฟป่า และการดับไฟฟ้า
- กิจกรรมปลูกไม้ไผ่แบบผสมผสาน เป็นการส่งเสริมการปลูกป่าไม้ไผ่ใช้ในอุตสาหกรรมครัวเรือน และศึกษาทดลองปลูกไม้ไผ่แบบผสมผสานกับไม้ผลชนิดต่างๆ
๙. งานส่งเสริมการเกษตร โดยมีกิจกรรมส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตข้าว ส่งเสริมการปลูกไผ่ตงแบบสวนหลังบ้าน ส่งเสริมการขยายพันธุ์ไผ่ตง ปลูกพืชผักสวนครัว ปลูกถั่วลิสง ขยายพันธุ์มันสำปะหลัง ปลูกงา ส่งเสริมการทำหน่อไม้อัดปี๊บ ส่งเสริมการจัดไร่นาสวนผสม ปลูกถั่วเขียว
๑๐. งานสาธารณสุข ส่งเสริมการเผยแพร่ให้เกษตรกรในหมู่บ้านรอบๆ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ รู้จักการรักษาสุขภาพอนามัยที่ดีและรู้จักการป้องกันรักษาโรคต่างๆ โดยการอบรมให้ความรู้ในเรื่องอนามัยแม่และเด็ก การวางแผนครอบครัว การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและการจัดหาน้ำสะอาด การสนับสนุนให้มีการสร้างส้วมราดน้ำ และตุ่มน้ำ
๑๑. งานบริหารส่วนกลาง ได้ดำเนินการประสานงาน อุปกรณ์ที่จำเป็นเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่กิจกรรมต่างๆ
๑๒. งานฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ได้ดำเนินการเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการและเทคโนโลยีแผนใหม่ที่ได้รับจากการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง ของกิจกรรมต่างๆ ว่าเป็นผลดีสามารถนำไปเผยแพร่ประชาชนต่อไป
ผลการดำเนินงาน ปี ๒๕๓๕ : ในปีงบประมาณ ๒๕๓๕ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ ได้มีผลการดำเนินงานพอสรุปได้ดังนี้
๑. งานชลประทาน ได้ดำเนินการบำรุงดูแลรักษาอ่างเก็บน้ำ ระบบส่งน้ำ ฝายขนาดเล็ก (Check dam) การส่งน้ำให้กับกิจกรรมการพัฒนาต่างๆ นอกจากนี้ยังได้ดำเนินการปลูกหญ้า
๒. งานหมู่บ้านพัฒนาตัวอย่าง ได้ดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาบ้านตัวอย่างและหมู่บ้านรอบ ๆ ศูนย์ โดยบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก บริหารกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กลุ่มเยาวชนหมู่บ้าน พัฒนาคุณภาพชีวิต บริหารธนาคารข้าว ฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพคณะกรรมการหมู่บ้าน ผู้นำท้องถิ่นและอาสาสมัคร
๓. งานศึกษาและพัฒนาเกษตรกรรม ได้ดำเนินการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง และทดสอบ และทดสอบการปลูกพืชในรูปแบบต่าง ๆ กัน เพื่อที่จะนำความรู้และเทคโนโลยีแผนใหม่ไปส่งเสริมและเผยแพร่ให้เกษตรกรได้นำไปปฏิบัติ
๔. งานสาธิต ส่งเสริม และพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการประมง โดยผลิตพันธุ์สัตว์น้ำ ปลานิล ปลาไน ปาตะเพียน และปลานวลจันทร์ รวม ๑๕๐,๐๐๐ ตัว รวมทำส่งเสริมการเลี้ยงปลาในบ่อ เลี้ยงปลาในข้าว และบ่อแบบผสมผสาน รวม ๔๕ ราย
๕. งานส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัว ฝึกอบรมให้ราษฎรได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เช่น ซ่อมเครื่องยนต์เล็ก ผลิตภัณฑ์จากสิ่งเหลือใช้ ตัดเย็บเสื้อผ้า ทำเครื่องเรือนจากไม้ไผ่ ฝึกย้อมสี ทอผ้า ตีเหล็กและช่างเชื่อมโลหะ
๖. งานศึกษาและพัฒนาด้านปศุสัตว์ ได้ดำเนินการวิจัยอาหารสัตว์ วิจัยด้านปศุสัตว์ เพื่อพัฒนาด้านปศุสัตว์ โดยการเลี้ยงโค สุกร ไก่ เป็ด เป็นต้น
๗. งานศึกษาและปรับปรุงบำรุงดิน ถ่ายทอดวิชาการ โดยสาธิตการทำปุ๋ยหมัก ๑๕๐ ตัน การใช้ปุ๋ยหมักในนาข้าว พืชไร่ และสาธิตการปรับรูปแปลงนา
๘ งานศึกษาและพัฒนาป่าไม้ ป้องกันรักษาป่าในเขตปริมณฑลศูนย์ ตั้งจุดตรวจลักลอบการตัดไม้ทำลายป่า ประชาสัมพันธ์ให้ราษฎรได้เข้าใจและให้ความร่วมมือรวมทั้งส่งเสริมกิจกรรมเพาะชำกล้าไม้ เช่น ไม้ยางพารา ไม้ผล ไม้กินได้ หวายดง ไผ่ตง ไผ่หวาน และไม้ไผ่ชนิดต่างๆ กิจกรรมอนุรักษ์ต้นน้ำลำธาร กิจกรรมส่งเสริมการเพาะเลี้ยงครั่ง กิจกรรมสาธิตการแปรรูปไม้เป็นเชื้อเพลิง กิจกรรมส่งเสริมขยายพันธุ์หวายและไมไผ่ชนิดต่าง ๆ
๙ งานส่งเสริมการเกษตร โดยส่งเสริมและแนะนำการปลูกพืชชนิดต่างๆ ให้เกษตรกรปลูกพืชผักสวนครัว ทำไร่นาสวนผสม ไม้ผลแบบสวนหลังบ้าน ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม อ้อย ถั่วลิสง ข้าวโพดหวาน และการเพาะเห็ดในโรงเรือน
๑๐ งานบริหารส่วนกลาง ได้ดำเนินการประสานงาน จัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็น เช่น ครุภัณฑ์สำนักงาน การปรับปรุงอาคารเอนกประสงค์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กิจกรรมต่างๆ สามารถดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
๑๑ งานฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ได้ดำเนินการฝึกอบรมและเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการและเทคโนโลยีแผนใหม่ให้เกษตรกร ข้าราชการ ประชาชนโดยทั่วไป
๑๒ งานฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ได้ดำเนินการเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการและเทคโนโลยีแผนใหม่ที่ได้รับจากการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง ของกิจกรรมต่างๆ ว่าเป็นผลดีสามารถนำไปเผยแพร่ประชาชนต่อไป
ผลการดำเนินงาน ปี ๒๕๓๕ : ในปีงบประมาณ ๒๕๓๕ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ ได้มีผลการดำเนินงานพอสรุปได้ดังนี้
๑. งานชลประทาน ได้ดำเนินการบำรุงดูแลรักษาอ่างเก็บน้ำ ระบบส่งน้ำ ฝายขนาดเล็ก (Check dam) การส่งน้ำให้กับกิจกรรมการพัฒนาต่างๆ นอกจากนี้ยังได้ดำเนินการปลูกหญ้า
๒. งานหมู่บ้านพัฒนาตัวอย่าง ได้ดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาบ้านตัวอย่างและหมู่บ้านรอบ ๆ ศูนย์ โดยบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก บริหารกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กลุ่มเยาวชนหมู่บ้าน พัฒนาคุณภาพชีวิต บริหารธนาคารข้าว ฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพคณะกรรมการหมู่บ้าน ผู้นำท้องถิ่นและอาสาสมัคร
๓. งานศึกษาและพัฒนาเกษตรกรรม ได้ดำเนินการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง และทดสอบ และทดสอบการปลูกพืชในรูปแบบต่าง ๆ กัน เพื่อที่จะนำความรู้และเทคโนโลยีแผนใหม่ไปส่งเสริมและเผยแพร่ให้เกษตรกรได้นำไปปฏิบัติ
๔. งานสาธิต ส่งเสริม และพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการประมง โดยผลิตพันธุ์สัตว์น้ำ ปลานิล ปลาไน ปาตะเพียน และปลานวลจันทร์ รวม ๑๕๐,๐๐๐ ตัว รวมทำส่งเสริมการเลี้ยงปลาในบ่อ เลี้ยงปลาในข้าว และบ่อแบบผสมผสาน รวม ๔๕ ราย
๕. งานส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัว ฝึกอบรมให้ราษฎรได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เช่น ซ่อมเครื่องยนต์เล็ก ผลิตภัณฑ์จากสิ่งเหลือใช้ ตัดเย็บเสื้อผ้า ทำเครื่องเรือนจากไม้ไผ่ ฝึกย้อมสี ทอผ้า ตีเหล็กและช่างเชื่อมโลหะ
๖. งานศึกษาและพัฒนาด้านปศุสัตว์ ได้ดำเนินการวิจัยอาหารสัตว์ วิจัยด้านปศุสัตว์ เพื่อพัฒนาด้านปศุสัตว์ โดยการเลี้ยงโค สุกร ไก่ เป็ด เป็นต้น
๗. งานศึกษาและปรับปรุงบำรุงดิน ถ่ายทอดวิชาการ โดยสาธิตการทำปุ๋ยหมัก ๑๕๐ ตัน การใช้ปุ๋ยหมักในนาข้าว พืชไร่ และสาธิตการปรับรูปแปลงนา