โครงการ ปลูกป่าเสริมธรรมชาติในและนอกเขตภูพานฯ
11000 จังหวัด สกลนคร
ที่มาของการต่อยอดโครงการ :
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงได้มีพระราชเสาวนีย์เมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๓๒ สรุปว่าให้ดำเนินการปลูกป่าเสริมธรรมชาติในและนอกเขตภูพานราชนิเวศน์เพิ่มเติม เพื่อแก้ไขปัญหาสภาพป่าถูกทำลายลง และเป็นการเพิ่มที่อยู่ให้แก่สัตว์ป่า โดยการจ้างราษฎรที่ยากจนในบริเวณภูพานราชนิเวศน์มาทำการปลูกป่า เพื่อให้มีรายได้มากขึ้น และจะเป็นการสร้างความเข้าใจให้ราษฎรเห็นความสำคัญของการปลูกป่าด้วย
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงได้ มีพระราชเสาวนีย์ เมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๓๒ สรุปว่า ให้ดำเนินการปลูกป่าเสริมธรรมชาติในและนอกเขตภูพานราชนิเวศน์ เพิ่มเติม เพื่อแก้ไขปัญหาสภาพป่าถูกทำลายลง และเป็นการเพิ่มที่อยู่ให้แก่สัตว์ป่า โดยการจ้างราษฎรที่ยากจนในบริเวณภูพานราชนิเวศน์ มาทำการปลูกป่า เพื่อให้มีรายได้มากขึ้น และจะเป็นการสร้างความเข้าใจให้ราษฎรเห็นความสำคัญของการปลูกป่าด้วย
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง มีพระราชเสาวนีย์ กับท่านผู้หญิง สุประภาดา เกษมสันต์ ราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕ “ให้ดำเนินการปลูกป่าเสริมธรรมชาติในและนอกเขตภูพานราชนิเวศน์เพิ่มเติม เพื่อแก้ไขปัญหาสภาพป่าถูกทำลายลงและเป็นการเพิ่มที่อยู่ให้แก่สัตว์ป่าโดยการจ้างราษฎรที่ยากจนในบริเวณรอบๆ ภูพานราชนิเวศน์มาทำการปลูกป่า เพื่อให้มีรายได้มากขึ้น กับทั้งจะเป็นการสร้าง ความเข้าใจให้ราษฎรเห็นความสำคัญของการปลูกป่าด้วย”
เมื่อวันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๓๖ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงมีพระราชเสาวนีย์สรุปว่า ให้ดำเนินการปลูกป่าเสริมธรรมชาติในและนอกเขตภูพานราชนิเวศน์เพิ่มเติม เพื่อแก้ไขสภาพป่าถูกทำลายลง และเป็นการเพิ่มเติมที่อยู่ในสัตว์ป่า โดยจ้างราษฎรที่ยากจนมาทำการปลูกป่าเพื่อให้มีรายได้มากขึ้น
เมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๓๘ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้ทรงมีพระราชเสาวนีย์สรุปความว่า ให้ดำเนินการปลูกป่าเสริมธรรมชาติในและนอกเขตภูพานราชนิเวศน์เพิ่มเติม เพื่อแก้ไขสภาพป่าถูกทำลายลง และเป็นการเพิ่มเติมที่อยู่ในสัตว์ป่า โดยจ้างราษฎรที่ยากจนในบริเวณอุทยานแห่งชาติภูพานมาทำการปลูกป่าเพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้น และยังเป็นการสร้างความเข้าใจให้ราษฎรเห็นความสำคัญของการปลูกป่าด้วย
เมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๓๙ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้ทรงมีพระราชเสาวนีย์ให้ดำเนินการปลูกป่าเสริมธรรมชาติในและนอกเขตภูพานราชนิเวศน์เพิ่มเติม เพื่อแก้ไขสภาพป่าถูกทำลายลง และเป็นการเพิ่มเติมที่อยู่ให้สัตว์ป่า โดยการจ้างราษฎรที่ยากจน ในบริเวณอุทยานแห่งชาติภูพาน มาทำการปลูกป่า เพื่อให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น กับทั้งจะสร้างความเข้าใจให้ราษฎรเห็นความสำคัญในการปลูกป่า
เมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๓๙ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงมีพระราชเสาวนีย์ให้ดำเนินการปลูกป่าเสริมธรรมชาติในและนอกเขตภูพานราชนิเวศน์ เพิ่มเติมเพื่อแก้ไขสภาพป่าถูกทำลายลงและเป็นการเพิ่มเติมที่อยู่ให้สัตว์ป่า และสร้างความเข้าใจกับราษฎรให้เห็นความสำคัญในการปลูกป่า
เมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงมีพระราชเสาวนีย์ให้ดำเนินการปลูกป่าเสริมธรรมชาติในและนอกเขตภูพานราชนิเวศน์เพิ่มเติม เพื่อแก้ไขสภาพป่าถูกทำลายลงและเป็นการเพิ่มเติมที่อยู่ให้สัตว์ป่า และสร้างความเข้าใจให้กับราษฎรให้เห็นความสำคัญในการปลูกป่า
เมื่อวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๑ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้พระราชทานพระราชดำริให้ดำเนินการปลูกป่าเสริมธรรมชาติและนอกเขตภูพานราชนิเวศน์ เพื่อแก้ไขสภาพป่าถูกทำลายลงและเป็นการเพิ่มเติมที่อยู่ของสัตว์ป่า รวมทั้งเป็นการสร้างความเข้าใจกับราษฎรให้เห็นความสำคัญในการปลูกป่าด้วย
ผลการดำเนินงาน ปี ๒๕๓๒ : เพาะชำกล้าไม้ จัดเตรียมที่ดิน ปลูกป่าเสริมธรรมชาติ จำนวน ๑,๐๔๐ ไร่ และปล่อยสัตว์บางชนิดให้อยู่อาศัย
ประโยชน์ของโครงการ :
๑. ได้สวนป่าไม้โตเร็ว ไม้เนื้อแข็งและไม้ทนแล้งไม่น้อยกว่า ๑,๐๔๐ ไร่ ขึ้นปกคลุมพื้นที่เพื่อรักษาความชุมชื้นและขจัดความแห้งแล้ง รวมทั้งเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า
๒. ทำให้ทราบถึงเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการปลูกไม้โตเร็ว
๓. ช่วยให้ราษฎรที่ยากจนบริเวณใกล้เคียงภูพานราชนิเวศน์ให้มีรายได้มากขึ้น และช่วยกันรักษาป่าไม้ด้วย
ผลการดำเนินงาน ปี ๒๕๓๓ : ได้ดำเนินการปลูกป่าและเพาะชำกล้าไม้ จำวน ๑๐๐,๐๐๐ ต้น จัดเตรียมที่ดินปลูกป่าเสริมธรรมชาติ จำนวน ๑,๐๔๐ ไร่ และปล่อยสัตว์ป่าบางชนิดให้อยู่อาศัย
ประโยชน์ของโครงการ :
๑. ได้สวนป่าไม้โตเร็ว ไม้เนื้อแข็ง และไม้ทนแล้ง ไม่น้อยกว่า ๑,๐๔๐ ไร่ ขึ้นปกคลุมพื้นที่เพื่อรักษาความชุ่มชื้นและขจัดความแห้งแล้ง รวมทั้งเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า
๒. ทำให้ทราบถึงเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการปลูกไม้โตเร็ว
๓. เพื่อช่วยเหลือราษฎรที่ยากจน ให้มีรายได้มากขึ้น และช่วยกันรักษาป่าไม้ด้วย
ผลการดำเนินงาน ปี ๒๕๓๔ : ได้ดำเนินการปลูกป่าและเพาะชำกล้าไม้จัดเตรียมที่ดินปลูกป่าเสริมธรรมชาติ จำนวน ๑,๐๔๐ ไร่ และปล่อยสัตว์ป่าบางชนิดให้อยู่อาศัย
ประโยชน์ของโครงการ :
๑. ได้สวนป่าไม้โตเร็ว ไม้เนื้อแข็ง และไม้ทนแล้ง ไม่น้อยกว่า ๑,๐๔๐ ไร่ ซึ่งปกคลุมพื้นที่เพื่อรักษาความชุ่มชื้นอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติและขจัดความแห้งแล้งและเป็นการช่วยเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า
๒. เพื่อช่วยเหลือราษฎรที่ยากจนบริเวณใกล้เคียงภูพานราชนิเวศน์ ให้มีรายได้มากขึ้น โดยการจ้างราษฎรปลูกป่ากับทั้งจะเป็นการสร้างความเข้าใจให้ราษฎรเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้
ผลการดำเนินงาน ปี ๒๕๓๕ : ดำเนินเพาะชำกล้าไม้ จัดเตรียมที่ดินทำแนวป้องกันไฟ ทำทางตรวจการและปลูกป่าเสริมธรรมชาติ
ประโยชน์ของโครงการ :
๑. ได้สวนป่าไม้โตเร็ว ไม้เนื้อแข็งและไม้ทนแล้ง ไม่น้อยกว่า ๑,๐๐๐ ไร่ ขึ้นปกคลุมพื้นที่เพื่อรักษาความชุ่มชื้นอุดมสมบูรณ์ ของธรรมชาติและขจัดความแห้งแล้งและเป็นการช่วยเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า
๒. เพื่อช่วยเหลือราษฎรที่ยากจน บริเวณใกล้เคียงภูพานราชนิเวศน์ให้มีรายได้มากขึ้น โดยการจ้างราษฎรปลูกป่ากับทั้งจะเป็นการสร้างความเข้าใจให้ราษฎรเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
ผลการดำเนินงาน ปี ๒๕๓๖ : ได้ดำเนินการปลูกป่าในพื้นที่ ๕๐๐ ไร่ ปลูกไม้ มีค่า ๑๐ ชนิด จำนวน ๕๐,๕๐๐ กล้า และจัดเตรียมที่ดินทำแนวป้องกันไฟ ทำการตรวจการและปลูกป่าเสริมธรรมชาติ จำนวน ๑,๐๐๐ ไร่
ประโยชน์ของโครงการ :
๑. ได้สวนป่าไม้โตเร็ว ไม้เนื้อแข็ง และไม้ทนแล้งไม่น้อยกว่า ๑,๐๐๐ ไร่ ขึ้นปกคลุมพื้นที่ เพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ
๒. เพื่อช่วยเหลือราษฎรที่ยากจนให้มีรายได้มากขึ้น โดยการจ้างราษฎรปลูกป่ากับทั้งจะเป็นการสร้างความเข้าใจให้ราษฎรเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้
ผลการดำเนินงาน ปี ๒๕๓๗ :
- สำรวจ และรังวัดพื้นที่
- เพาะชำกล้าไม้ ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ ต้น และดำเนินการปลูกป่าตามแผนงานรวมทั้งจัดเตรียมที่ดินเพื่อทำแนวป้องกันไฟ
ประโยชน์ของโครงการ : ได้พื้นที่ป่าไม้โตเร็วไม่น้อยกว่า ๑,๐๐๐ ไร่ เพื่อรักษาความชุ่มชื้นของธรรมชาติ และลดความแห้งแล้ง
ผลการดำเนินงาน ปี ๒๕๓๘ :
๑. การสำรวจรังวัดพื้นที่ที่จะดำเนินการการเพาะชำกล้าไม้ประดู่ มะค่าโมง มะค่าแต้ พฤกษ์ หว้า พยูง นนทรี ไทร ฯลฯ ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ ต้น
๒. การทำแนวป้องกันไฟป่า
๓. การทำทางตรวจการ
๔. การปลูกและบำรุงรักษา
๕. การติดตามและประเมินผล
ประโยชน์ของโครงการ :
๑. ได้พื้นที่ป่าไม้โตเร็ว ไม้เนื้อแข็ง ไม้ทนแล้ง และไม้บำรุงดินไม่น้อยกว่า ๑,๐๐๐ ไร่ ขึ้นปกคลุมพื้นที่เพื่อรักษาความชุ่มชื้น
๒. ทำให้ทราบถึงเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการปลูกไม้โตเร็ว และเป็นแนวทางในการนำไปปรับปรุงปรุงแก้ไขในโครงการปลูกป่าแห่งอื่นๆ รวมทั้งเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ป่าเพิ่มขึ้น
สภาพพื้นที่แปลงปลูกป่าเสริมธรรมชาติปี ๒๕๓๘ ได้ดำเนินการปลูกไม้โตเร็ว เช่น ประดู่ มะค่าโรง มะค่าแต้ พฤกษ์ หว้าพยูง นนทรี ฯลฯ ป,ุกเสริมธรรมชาติเพื่อให้ป่าอุดมสมบูรณ์มากขึ้น
ผลการดำเนินงาน ปี ๒๕๓๙ :
๑. สำรวจรังวัดพื้นที่ที่จะดำเนินการ
๒. เพาะชำกล้าไม้ประดู่ มะค่าโมง มะค่าแต้ พฤกษ์ หว้า พยุง นนทรี ไทร ฯลฯ ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ ต้น
๓. ทำแนวป้องกันไฟป่า
๔. ทำทางตรวจการ
๕. ปลูกและบำรุงรักษา
๖. ติดตามและประเมินผล
ประโยชน์ของโครงการ :
๑. ได้ประโยชน์โดยตรงแก่หมู่บ้าน จำนวน ๓ หมู่บ้าน ราษฎรจำนวน ๑,๙๓๖ คน ๑๒๔ ครัวเรือน ให้มีรายได้เพิ่มขึ้น
๒. ได้พื้นที่ป่าไม้โตเร็ว ไม้เนื้อแข็ง ไม้ทนแล้ง และไม้บำรุงดิน ไม่น้อยกว่า ๕๐๐ ไร่
๓. ทำให้ทราบถึงเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการปลุกไม้โตเร็ว และเป็นแนวทางในการนำไปปรับปรุงแก้ไขในโครงการปลุกป่าแห่งอื่นๆ ต่อไป
๔. ทำให้เกิดแหล่งอาศัยของสัตว์ป่าเพิ่มขึ้น
ผลการดำเนินงาน ปี ๒๕๔๐ :
- งานสำรวจพื้นที่ดำเนินการ
- ลาดตระเวนตรวจตราการลักลอบและล่าสัตว์ป่าในพื้นที่โครงการ
- ปลูกต้นไม้เสริมธรรมชาติ
- ทำแนวป้องกันไฟป่า
- ปล่อยสัตว์ป่า
ประโยชน์ของโครงการ : จะได้ประโยชน์โดยตรงแก่หมู่บ้าน จำนวน ๓ หมู่บ้าน ๑,๙๓๖ คน ให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น จากการจ้างมาปลูกป่าและเป็นการสร้างความเข้าใจกับราษฎรให้เห็นความสำคัญของการปลูกป่าและรักษาป่า
ผลการดำเนินงาน ปี ๒๕๔๑ :
- งานสำรวจรังวัดพื้นที่ที่ดำเนินการ
- งานเพาะชำกล้าไม้ประดู่ มะค่าโมง มะค่าแต้ พฤกษ หว้า พยุง นนทรี ไทร ฯลฯ ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ ต้น
ประโยชน์ของโครงการ :
๑. จะได้ประโยชน์โดยตรงแก่ราษฎร จำนวน ๓ หมู่บ้าน ๑,๙๙๓ คน ให้มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการปลุกป่าและเป็นการสร้างความเข้าใจกับราษฎรให้เห็นความสำคัญของการปลุกป่าและรักษาป่า
๒. ได้พื้นที่ป่าไม้เนื้อแข็ง ไม้ทนแล้ง และไม้บำรุงดินไม่น้อยกว่า ๕๐๐ ไร่ ขึ้นปกคลุมพื้นที่ เพื่ออนุรักษ์ความชุ่มชื้นของธรรมชาติและลดความแห้งแล้งประมาณ ๑๑,๐๐๐ ไร่
ผลการดำเนินงาน ปี ๒๕๔๒ :
๑. งานสำรวจรังวัดพื้นที่ที่ดำเนินการ
๒. งานเพาะชำกล้าไม้ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ ต้น
๓. การทำแนวป้องกันไฟ, ทำทางตรวจการ
๔. การปลูกป่า และบำรุงรักษา
๕. การติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการฯ
ประโยชน์ของโครงการ : ก่อให้เกิดประโยชน์โดยตรงแก่ราษฎรจำนวน ๓ หมู่บ้าน ๑,๙๙๓ คน ๒๕๐ ครัวเรือน ให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้นจากการปลูกป่าและเป็นการสร้างความเข้าใจให้กับราษฎร ให้เห็นความสำคัญของการปลูกป่าและรักษาป่า
ประเภทโครงการ : โครงการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม