๒๒ ธันวาคม ๒๕๖๗

โครงการ แก้ไขปัญหาน้ำเสียเมืองสกลนคร (หนองหาน)

ตำบล ธาตุเชิงชุม อำเภอ เมืองสกลนคร จังหวัด สกลนคร


ที่มาของการต่อยอดโครงการ :

เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๓๒ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรการดำเนินงานตามโครงการบำบัดน้ำเสียในบริเวณหนองสนม และบริเวณที่น้ำเสียจะไหลลงสู่หนองหาน และได้พระราชทานพระราชดำริ สรุปได้ว่า “ในบริเวณข้างสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ข้างโรงพยาบาลที่ทางเทศบาลมีโครงการจะก่อสร้างถนน เพื่อบังคับน้ำเสียไหลไปรวมที่บริเวณเดียวกัน ที่ฌาปนสถานคูหมากเสือ ซึ่งกรมประมงจะดำเนินการก่อสร้างเป็นคันกั้นน้ำไปก่อน แต่ให้มีขนาดใหญ่เพียงพอที่จะกั้นน้ำในฤดูฝนด้วย เพราะมิเช่นนั้น เมื่อมีฝนตกมากก็จะทำให้น้ำเสียเอ่อท่วมถนนได้ เมื่อสร้างคันดินกั้นน้ำ และก็รอให้ดินยุบตัวให้ดีเสียก่อน อาจใช้เวลา ๒ – ๓ ปี ต่อจากนั้นจึงจะได้ปรับปรุงให้เป็นถนนในโอกาสต่อไป”

เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๓๒ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานพระราชดำริ “ควรรวบรวมน้ำเสียที่ระบายลงหนองหานที่ข้างโรงผลิตน้ำประมาณร้อยละ ๗๐ จากเขตเทศบาลฯ ซึ่งระบายลงหนองหานมาไว้ที่เดียว เพื่อจัดทำโครงการบำบัดน้ำเสีย โดยใช้วิธีธรรมชาติผสมผสานกับเทคโนโลยีแบบประหยัดในทำนองเดียวกันกับหนองสนม แต่มีขนาดใหญ่กว่า และเพื่อให้สามารถรองรับการขยายตัวของชุมชนเขตเทศบาลเมืองสกลนครในอนาคตอีกด้วย”

เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๓๒ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานพระราชดำริว่า ควรรวบรวมน้ำเสียที่ระบายลงหนองหานมาไว้ที่เดียว เพื่อจัดทำโครงการบำบัดน้ำเสีย โดยใช้วิธีธรรมชาติผสมผสานกับเทคโนโลยีแบบประหยัดในทำนองเดียวกันกับหนองสนม แต่มีขนาดใหญ่และเพื่อให้สามารถรองรับการขยายตัวของชุมชนเขตเทศบาลเมืองสกลนครในอนาคต

ผลการดำเนินงาน ปี ๒๕๓๓  :

๑. ก่อสร้างคันดินกั้นน้ำและถนนข้างสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ โดยก่อสร้างผิวจราจร กว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๗๘๐ เมตร หนา ๐.๒๐ เมตร และก่อสร้างรั้วลวดหนาม ความยาว 60 เมตร

๒. ก่อสร้างรางระบายน้ำแบบเปิดจากปลายถนนรอบเมือง โดยก่อสร้างรางระบายน้ำ ค.ส.ล. แบบเปิด ยาว ๕๒๓ เมตร และก่อสร้างท่อลอดถนน ค.ส.ล. ยาว ๑๗ เมตร

ประโยชน์ของโครงการ :

๑. ช่วยให้ราษฎรในเขตเทศบาลเมืองสกลนคร จำนวนประมาณ ๕,๕๔๗ ครอบครัว สามารถระบายน้ำเสียในตัวเมืองให้ไหลไปรวมกัน และบำบัดน้ำเสียก่อนจะไหลลงสู่หนองหาน และระบายน้ำเสียในรางระบายน้ำแบบเปิดได้มาตรฐานได้อย่างเพียงพอ และช่วยในการป้องกันน้ำท่วมได้อีกทางหนึ่ง

๒. จะช่วยให้ราษฎรสามารถใช้เป็นถนนในการสัญจรไปมาได้อย่างสะดวกในทุกฤดูกาล

ผลการดำเนินงาน ปี ๒๕๓๖  : งานก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบท่อระบายน้ำ รางระบายน้ำและการปลูกพืชและปรับปรุงดิน 

ประโยชน์ของโครงการ : จะช่วยให้น้ำเสียที่ไหลมาจากโรงงานผลิตน้ำประปาบริเวณข้างโรงพยาบาลมารวมกันที่จุดระบายน้ำทิ้ง ณ บริเวณใกล้ฌาปนสถานคูหมากเสือ ซึ่งจะระบายลงสู่หนองหาน ได้รับการบำบัดน้ำเสียก่อนที่จะไหลลงสู่หนองหาน เพื่อไม่ให้น้ำในหนองหานเน่าเสียตามไปด้วย 

ผลการดำเนินงาน ปี ๒๕๓๗  : ก่อสร้างท่อระบายน้ำ ๔ แห่ง และปรับปรุงลาดทำนบดินด้านนอกติดกับบริเวณหนองหาน และการตรวจสอบ วิเคราะห์คุณภาพน้ำ 

ประโยชน์ของโครงการ : ทำให้น้ำเสียไหลมารวมกันที่จุดระบายน้ำทิ้ง ณ บริเวณใกล้ฌาปนสถานคูหมากเสีย ได้รับการบำบัดน้ำเสียก่อนที่จะไหลลงสู่หนองหาน เพื่อไม่ให้น้ำในหนองหานเน่าเสียตามไปด้วย 

   

ใช้ระบบบำบัดน้ำเสียโดยวิธีธรรมชาติ ปลูกพืชน้ำช่วยดูดสารโลหะหนัก และตรวจสอบวิเคราะห์คุณภาพน้ำอย่างสม่ำเสมอ

โครงการงานศึกษา และวิจัยโครงการแก้ไขน้ำเสียเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร

เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๓๓ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับงานแก้ไขน้ำเสียว่า ให้รวบรวมน้ำเสียประมาณร้อยละสามสิบจากเขตเทศบาลที่ระบายลงหนองหาน ผ่านหนองสนม เพื่อจัดทำโครงการบำบัดน้ำเสีย โดยวิธีธรรมชาติผสมผสานกับเทคโนโลยีแบบประหยัด 

ผลการดำเนินงาน ปี ๒๕๓๗  : ตรวจสอบและวิเคราะห์คุณภาพน้ำ และงานปรับปรุงซ่อมแซม บำรุงรักษาระบบบำบัดน้ำเสีย 

ประโยชน์ของโครงการ : ทำให้น้ำมีคุณภาพดียิ่งขึ้น ก่อนปล่อยลงสู่บริเวณหนองหาน และทำให้สภาพแวดล้อมของบริเวณบ่อบำบัดอยู่ในสภาพวะสมดุลที่ดี เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน และใช้เป็นสถานที่ตัวอย่างงานศึกษา วิจัยระบบบำบัดน้ำเสียแบบง่าย 

ผลการดำเนินงาน ปี ๒๕๓๘  :

๑. งานตรวจสอบและวิเคราะห์คุณภาพน้ำพร้อมติดตามประเมินผล

๒. งานปรับปรุงหัวงานและอาคารต่างๆ

ประโยชน์ของโครงการ : ทำให้น้ำมีคุณภาพดียิ่งขึ้นก่อนปล่อยลงสู่บริเวณหนองหาน และจะทำให้สภาพแวดล้อมของน้ำในหนองหานอยู่ในสภาวะสมดุลที่ดีสำหรับการอุปโภค-บริโภคของราษฎรในเขตชุมชนเมือง จำนวน ๑๐,๓๓๕ ครัวเรือน หรือจำนวน ๔๗,๘๕๐ คน 

   

แปลงบำบัดน้ำเสียโดยวิธีธรรมชาติมีปัญหาเรื่องหอยเชอรี่เข้ากัดกินพืช

ประเภทโครงการ : โครงการพัฒนาด้านแหล่งน้ำ