๒๒ ธันวาคม ๒๕๖๗

โครงการ พัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำก่ำ

จังหวัด สกลนคร


ที่มาของการต่อยอดโครงการ :

เมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๓๕ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานพระราชดำริให้พิจารณาวางโครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำฯ จังหวัดสกลนคร-นครพนม เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของราษฎรบริเวณสองฝั่งของลำน้ำก่ำที่มักจะประสบปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ทำการเกษตรในช่วงฤดูฝน และขาดแคลนน้ำใช้สำหรับทำการเกษตรในช่วงฤดูแล้ง

ต่อมาวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๔๒ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานพระราชดำริเพิ่มเติมให้พิจารณาดำเนินการก่อสร้างประตูระบายน้ำเล็กๆ โดยลดขนาดความสูงของประตูระบายน้ำลงมาแล้วเจรจากับราษฎรที่ครอบครองพื้นที่ถูกน้ำท่วม และให้กักเก็บน้ำในร่องน้ำแล้วให้ราษฎรสูบน้ำไปใช้เอง

      

ภาพยึกยือ : ร่างเค้าโครงพระราชทานโครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำฯ ทรงวาดบนเครื่องบินพระที่นั่ง

ประตูระบายน้ำ น้ำก่ำตอนล่าง พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระราชทานชื่อว่า “ธรณิศนฤมิต มีความหมายว่า ประตูระบายน้ำที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระราชทานพระราชดำริให้สร้างขึ้น

ผลการดำเนินงาน ปี ๒๕๓๖ : โดยมีวัตถุประสงค์ในปี ๒๕๓๖ ได้แบ่งลักษณะการดำเนินงานออกเป็น ๓ โครงการ คือ 

๑. โครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำตอนล่าง จังหวัดนครพนม

๒. โครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำตอนบน จังหวัดสกลนคร

๓. โครงการขุดลอกหนองน้ำธรรมชาติ บริเวณสองฝั่งลำน้ำก่ำ จังหวัดสกลนคร-จังหวัดนครพนม

๑. โครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำตอนล่าง จังหวัดนครพนม

     ๑.๑ ลักษณะและขนาดของโครงการ

      - ก่อสร้างประตูระบายลำน้ำก่ำ ที่บริเวณบ้านโนนสังข์ เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กมีประตูเหล็กกว้าง ๑๐ เมตร สูง ๘ เมตร จำนวน ๔ ช่อง สามารถเก็บกักน้ำได้ ๓๕.๗ ล้านลูกบาศก์เมตร ความสามารถในการระบายน้ำได้ ๑,๒๐๐ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

     ๑.๒ ระบบชลประทาน แบ่งออกเป็น ๙ สถานีย่อย ส่งน้ำให้แก่พื้นที่รวม ๘๒,๙๐๐ ไร่

     ๑.๓ ค่าลงทุนและผลตอบแทนของโครงการ สามารถคำนวณค่าลงทุนทั้งสิ้นประมาณ ๒,๓๐๐ ล้านบาท ผลตอบแทนโครงการฯ ประกอบด้วย

           - การกระจายการพัฒนาสู่ชนบท

           - เกษตรกรมีแหล่งน้ำที่แน่นอน และปลูกพืชในฤดูแล้งเสริมรายได้

           - ผลผลิตการเกษตรได้เต็มตามเป้าหมาย

           - ลดความรุนแรงของน้ำท่วมขังที่เกิดจากแม่น้ำโขง

           - ลดปัญหาการว่างงานในชนบท

     ๑.๔ ผลกระทบต่อราษฎร กรมชลประทานร่วมกับบริษัทที่ปรึกษา จัดประชุมระดมความคิดเห็นจากราษฎรในบริเวณพื้นที่โครงการฯ ทั้งจากฝ่ายที่ถูกน้ำท่วมและราษฎรที่จะได้รับประโยชน์จากโครงการฯ เข้ามามีส่วนร่วมรับรู้ เสนอปัญหา และตัดสินใจร่วมกัน คือ อำเภอนาแก อำเภอธาตุพนม และอำเภอเรณูนคร รวมทั้งสมาชิกสภาพจังหวัด องค์กรเอกชน และสื่อมวลชน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้ข้อสรุปดังนี้

           - เห็นด้วยที่จะให้มีการดำเนินงานก่อสร้างตามโครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำ

           - พึงพอใจวิธีการช่วยเหลือราษฎรที่พื้นที่ทำกินถูกน้ำท่วม และยินดีให้ความร่วมมือต่อโครงการฯ

           - ราษฎรต้องการให้ทางราชการจังหวัดที่ทำกินให้ใหม่ด้วย

     ๑.๕ แนวทางความช่วยเหลือราษฎร ราษฎรที่มี นส. ๓ จะได้รับการชดเชยค่าที่ดินให้อย่างเหมาะสม ส่วนราษฎรที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์จ่ายค่าชดเชยเป็นค่ารื้อย้ายและค่าขนย้ายได้ ซึ่งจะเป็นราคาที่ใกล้เคียงกับราคาประเมินที่ดินในบริเวณนั้น สำหรับราษฎรที่ยากจนและไม่มีที่ทำกิน กรมชลประทานจะพิจารณาถมพื้นที่บริเวณขอบๆ อ่างเก็บน้ำ พื้นที่ประมาณ ๒,๐๐๐ ไร่

๒. โครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำ ตอนบน จังหวัดสกลนคร

    ปรับปรุงหนองน้ำและคลองชักน้ำในพื้นที่มากกว่า ๕๐ ไร่

๓. โครงการขุดลอกหนองน้ำธรรมชาติ บริเวณสองฝั่งลำน้ำก่ำ มีหนองน้ำทั้งหมดรวม ๑๔๖ แห่ง แบ่งเป็นในเขตพื้นที่จังหวัดสกลนคร ๕๒ แห่ง จังหวัดนครพนม ๙๔ แห่ง ส่วนหนองน้ำที่มีขนาดใหญ่ มีพื้นที่ตั้งแต่ ๕๐ ไร่ขึ้นไป มีทั้งหมด ๑๙ แห่ง อยู่ในพื้นที่เขตจังหวัดสกลนคร ๙ แห่ง จังหวัดนครพนม ๑๐ แห่ง

ผลการดำเนินงาน ปี ๒๕๓๗  : ขุดลอกหนองบึง จำนวน ๑๔แห่ง ในเขตอำเภอนาแก อำเภอเรณูนคร และอำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม 

ประโยชน์ของโครงการ : ในฤดูแล้งราษฎรจังหวัดนครพนม จำนวน ๑๕ หมู่บ้าน ๑,๔๐๗ ครัวเรือน ๖,๓๙๑ คน สามารถใช้น้ำสำหรับการอุปโภค-บริโภค เลี้ยงสัตว์ และการประมง 

   

ได้ดำเนินการขุดลอกหนองบึงในเขตจังหวัดนครพนม จำนวน ๑๔ แห่ง ขนาดพื้นที่ ๔๕ ไร่ สามารถเก็บกักน้ำได้ ๓๖๕,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร

ขุดลอกหนองบึงในเขตจังหวัดสกลนคร จำนวน ๑๑ แห่ง ในภาพเป็นหนองหล่มที่ได้ขุดลอกเสร็จแล้ว เก็บกักน้ำได้ ๒๕,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร

ผลการดำเนินงาน ปี ๒๕๓๙  :

๑. โครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำตอนบน

    ๑.๒ การขุดลอกและเชื่อมหนองบึง

          - งานพัฒนาหนองน้ำขนาดเล็ก มีจำนวน ๑๑๖ แห่ง อยู่ในเขตจังหวัดสกลนคร ๒๔ แห่ง และจังหวัดนครพนม ๑๐๙ แห่ง

          - งานพัฒนาหนองน้ำขนาดใหญ่ มีจำนวน ๒๐ แห่ง อยู่ในเขตจังหวัดสกลนคร ๓ แห่ง และจังหวัดนครพนม ๑๗ แห่ง ดังนี้

                  ๑.๑.๑ งานพัฒนาหนองคำฮุย อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร

                  ๑.๑.๒ งานพัฒนาหนองสาธารณะหนองสังข์ อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม

ประโยชน์ของโครงการ :

๑. พื้นที่ประมาณ ๑,๑๘๐ ไร่ จะได้รับผลประโยชน์โดยตรง

๒. ราษฎร จำนวน ๙๓๑ ครัวเรือน ๔,๖๕๕ คน มีน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภคและการเกษตรตลอดปี

   

สภาพโดยทั่วไปของหนองสังข์ การก่อสร้างอาคารรับน้ำโครงการพัฒนาหนองสังข์

๑.๑.๓ งานพัฒนาหนองสาธารณะบึงสะพาน อำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร

ได้ดำเนินการปรับปรุงลำน้ำก่ำโดยการขุดลอก และขุดลำน้ำช่วงที่คดเคี้ยวให้ตรงตามความเหมาะสม พร้อมทั้งก่อสร้างอาคารบังคับน้ำในลำน้ำก่ำเป็นระยะๆ จำนวน ๕ แห่ง ดังนี้

- ก่อสร้างคันดิน อาคารประกอบ และ ขุดลอกหนอง ขนาดพื้นที่ ๑,๐๐๐ ไร่ ซึ่งจะสามารถเก็บกักน้ำได้ประมาณ ๓.๕ ล้านลูกบาศก์เมตร พร้อมอาคารประกอบ และ ก่อสร้างคันดิน

ประโยชน์ของโครงการ : ทำให้ราษฎร จำนวน ๕๓๖ ครัวเรือน ๒,๖๘๐ คน มีน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภคและเลี้ยงสัตว์ได้ตลอดปี รวมทั้งมีน้ำสนับสนุนพื้นที่เกษตรกรรมได้ประมาณ ๑,๒๐๐ ไร่ 

   

สภาพหนองขนาดพื้นที่ ๑,๐๐๐ ไร่ จะสามารถเก็บกักน้ำได้ประมาณ ๓.๕ ล้านลูกบาศก์เมตร

๑.๒ อาคารบังคับน้ำและพนังกั้นน้ำ

          ๑.๒.๑ การก่อสร้างอาคารบังคับน้ำบ้านนาขาม สามารถช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกได้ ๒๐,๔๐๐ ไร่

         ๑.๒.๒ การก่อสร้างอาคารบังคับน้ำบ้านนาคู่ ตำบลนาแก

ประโยชน์ของโครงการ :

๑. ราษฎร จำนวน ๑๐ หมู่บ้าน ๔ ตำบล จำนวน ๑,๒๙๖ ครัวเรือน ๗,๘๔๔ คน จะมีน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค และการเกษตรตลอดปี

๒. พื้นที่จำนวนประมาณ ๒๖,๒๐๐ ไร่ จะได้รับน้ำสนับสนุนเพื่อการเกษตร

   

 แนวถนนที่เริ่มดำเนินการก่อสร้าง       บริเวณที่จะดำเนินการก่อสร้างประตูระบายน้ำบ้านนาดู่

๒. โครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำตอนล่าง จังหวัดนครพนม

    ๒.๑ ประตูระบายน้ำปากน้ำก่ำ บริเวณบ้านโนนสังข์ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ระบายน้ำได้ ๑,๒๐๐ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

    ๑.๒ ระบบชลประทาน เป็นระบบสูบน้ำด้วยไฟฟ้า รวมพื้นที่ชลประทาน ๗๑,๘๘๐ ไร่

ผลการดำเนินงาน ปี ๒๕๔๐  :

๑. โครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำตอนบน

     ๑. การพัฒนาหนองน้ำ

                  ๑.๑ งานพัฒนาหนองน้ำขนาดเล็ก จำนวน ๑๑๖ แห่ง เก็บกักน้ำได้ ประมาณ ๓.๖ ล้านลูกบาศก์เมตร

                  ๑.๒ งานพัฒนาหนองน้ำขนาดใหญ่ จำนวน ๓ แห่ง ได้แก่ หนองคำฮุย บีงสะพาน จังหวัดสกลนคร และ หนองสังข์ จังหวัดนครพนม

     ๒. อาคารบังคับน้ำและพนังกั้นน้ำ จำนวน ๕ แห่ง คือ ลำน้ำก่ำ ๓ แห่ง ลำน้ำบัง ๒ แห่ง

                  ๒.๑ ก่อสร้างประตูระบายน้ำบ้านนาขาม อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม

                  ๒.๒ ก่อสร้างประตูราบายน้ำบ้านนาคู่ อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม

                  ๓.๔ ก่อสร้างประตูระบายน้ำบ้านหนองบึง อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร

     ๓. พื้นที่ชลประทานระบบส่งน้ำและสถานีสูบน้ำ

๒. โครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำตอนล่าง จังหวัดนครพนม

     ๑. ก่อสร้างประตูระบายน้ำปากน้ำก่ำ บริเวณบ้านโนนสังข์ อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม

     ๒. ระบบชลประทาน เป็นการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า ๘ สถานี

ประโยชน์ของโครงการ : เก็บกักน้ำไว้ใช้ในลำน้ำก่ำและหนองบึงขนาดเล็กและขนาดใหญ่ เพื่อทำการเกษตรในช่วงฤดูแล้งที่ราษฎรประสบปัญหาขาดแคลนน้ำทุกปี โดยโครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำตอนบนสามารถเก็บกักน้ำไว้ใช้ประโยชน์ได้ประมาณ ๔๐.๕ ล้านลูกบาศก์เมตร สนับสนุนพื้นที่การเกษตรได้ประมาณ ๖๐,๐๐๐ ไร่ และโครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำตอนล่าง สามารถเก็บกักน้ำไว้ใช้ได้ประมาณ ๓๕.๗ ล้านลูกบาศก์เมตร และสนับสนุนพื้นที่การเกษตรได้ประมาณ ๗๑,๘๘๐ ไร่ ใน ๑๓ ตำบล ๕๕ หมู่บ้าน และจำนวน ๖,๙๓๒ ครัวเรือน จำนวน ๔๐,๓๔๐ คน ที่ได้ประโยชน์จากโครงการฯ 

    

หนองสังข์ ซึ่งเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ อยู่บริเวณ ตำบลบ้านแมดนาทม อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนครก่อสร้างแล้วเสร็จจะกักเก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ได้ประมาณ ๗.๔ ล้านลูกบาศก์เมตร มีพื้นที่ผิวน้ำประมาณ ๔๐๐ ไร่

   

ประตูระบายน้ำบ้านนาคู่

   

ประตูระบายน้ำบ้านนาขาม

   

                                                                                                                                    ประตูระบายน้ำสุรัสวดี  ปากลำน้ำก่ำจดแม่น้ำโขง

ผลการดำเนินงาน ปี ๒๕๔๑  : สำนักงาน กปร. ได้ประสานกับกรมชลประทาน พิจารณาวางโครงการและก่อสร้างโครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำ จังหวัดสกลนคร – นครพนม โดยมีองค์ประกอบสำคัญๆ ของโครงการประกอบด้วย 

๒.๑ ก่อสร้างอาคารบังคับน้ำและพนังกั้นน้ำในลำน้ำก่ำ จำนวน ๓ แห่ง

 ได้แก่ ประตูระบายน้ำบ้านนาขาม ประตูระบายน้ำบ้านนาคู่ ประตูระบายน้ำบ้านหนองบึง

๒.๓ การขุดลอกหนองบึงขนาดใหญ่ ๒๐ แห่ง ขนาดเล็ก ๑๑๖ แห่ง

๒.๓ ก่อสร้างคลองดักน้ำ (Intercept Drains) ในลำน้ำย่อยที่จะไหลลงลำน้ำก่ำ จำนวน ๔ แห่ง

๒.๔ ก่อสร้างระบบชลประทาน พื้นที่ชลประทานในฤดูฝน ๗๓,๒๐๐ ไร่

      

                   ประตูระบายน้ำบ้านนาขาม อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม   ประตูระบายน้ำบ้านนาคู่ อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม   ประตูระบายน้ำบ้านหนองบึง อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร

   

การพัฒนาหนองน้ำขนาดเล็ก   การพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่

ผลการดำเนินงาน ปี ๒๕๔๒  :

๑ โครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำตอนบน มีผลการดำเนินงาน และความก้าวหน้า ดังนี้

๒.๒ งานก่อสร้างอาคารบังคับน้ำและพนังกั้นน้ำ

            ได้ก่อสร้างอาคารบังคับน้ำ จำนวน ๓ แห่ง ทำน้าที่ควบคุมระดับน้ำให้สามารถเก็บกักน้ำได้ตลอดลำน้ำก่ำ สำหรับใช้เพื่อการชลประทาน การอุปโภค บริโภค และในฤดูน้ำหลากจะทำหน้าที่ระบายน้ำลงสู่ด้านท้ายน้ำ เพื่อป้องกันน้ำท่วมด้านเหนือของอาคาร โดยมีผลการดำเนินงาน ดังนี้

- ประตูระบายน้ำบ้านนาขาม อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม เริ่มดำเนินการก่อสร้างปี ๒๕๓๘ ปัจจุบันก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว สามารถเก็บกักน้ำไว้ในลำน้ำได้ จำนวน ๓.๑ ล้านลูกบาศก์เมตร และมีพื้นที่ชลประทาน จำนวน ๑๔,๑๐๐ ไร่

- ประตูระบายน้ำบ้านนาคู่ อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม เริ่มดำเนินการก่อสร้างปี ๒๕๓๙ ปัจจุบันก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว สามารถเก็บกักน้ำไว้ในลำน้ำได้ ๘.๗๕ ล้านลูกบาศก์เมตร และมีพื้นที่ชลประทาน จำนวน ๓๐,๙๐๐ ไร่

- ประตูระบายน้ำบานหนองบึง อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร เริ่มดำเนินการก่อสร้างปี ๒๕๔๐ ปัจจุบันได้ผลงานร้อยละ ๘๐ คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนเมษายน ๒๕๔๓ หากดำเนินการแล้วเสร็จสามารถเก็บน้ำไว้ในลำน้ำได้ ๑.๘๗ ล้านลุกบาศก์เมตร และมีพื้นที่ชลประทาน จำนวน ๑๑,๐๑๐ ไร่

           ๑.๒ งานขุดลอกแหล่งน้ำ

- การพัฒนาหนองน้ำขนาดเล็ก ได้ขุดลอกหนองน้ำขนาดเล็กเสร็จเรียบร้อยแล้วตั้งแต่ปี ๒๕๔๐ จำนวน ๑๑๖ แห่ง และเก็บกักน้ำได้ประมาณ ๓.๐๕ ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมในฤดูฝน และเป็นแหล่งเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งได้เป็นอย่างดี

- การพัฒนาหนองน้ำขนาดใหญ่ ได้ดำเนินการไปแล้ว ๔ แห่ง ได้แก่ หนองคำฮุย หนองสังข์ บึงสะพาน และบึงไฮ ซึ่งสามารถเก็บกักน้ำได้ประมาณ ๖.๕๔ ล้านลูกบาศก์เมตร มีทางระบายน้ำเข้า-ออก เพื่อส่งน้ำไปช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรได้ประมาณ ๓,๑๘๐ ไร่

          ๑.๓ งานก่อสร้างคลองดักน้ำ (Intercept Drains)

ได้ก่อสร้างฝายห้วยไร่ปิดกั้นลำน้ำย่อยของลำน้ำก่ำเหนือประตูระบายน้ำบ้านนาขาม และก่อสร้างคลองดักนี้ เพื่อเร่งระบายน้ำลงสู่ด้านท้ายน้ำของอาคาร

          ๑.๔ งานก่อสร้างระบบชลประทาน

หลังจากการก่อสร้างอาคารบังคับน้ำในลำน้ำก่ำ จำนวน ๓ แห่ง จะทำให้เกิดการกักเก็บน้ำในลำน้ำเหนืออาคารบังคับน้ำแต่ละแห่ง มีปริมาณน้ำที่กักเก็บ จำนวน ๑๓.๗๒ ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถนำไปใช้ในการชลประทานในพื้นที่สองฝั่งลำน้ำ ปัจจุบันมีการจัดตั้งสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าอยู่แล้ว จำนวน ๙ สถานี ครอบคลุมพื้นที่ส่งน้ำ จำนวน ๙,๕๕๐ ไร่ และมีแผนงานที่จะก่อสร้างสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าอีก จำนวน ๑๖ สถานี โดยมีพื้นที่ส่งน้ำครอบคลุมอีก ๔๐,๐๐๐ ไร่

          ๑.๕ การใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำ

จากการทีได้จัดตั้งให้โครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริเป็นศูนย์สาขาของศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ เพื่อให้ขยายผลการพัฒนา ซึ่งเน้นไปสู่พื้นที่ของเกษตรกรโดยตรง ทำให้มีการพัฒนาในด้านอาชีพ และรายได้ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทั้งนี้ ให้พิจารณาการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำที่มีอยู่แล้วให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในบริเวณที่ได้มีการก่อสร้างสถานีสูบน้ำแล้ว จำนวน ๙ สถานี ก็สามารถใช้น้ำสนับสนุนการเกษตรได้ตลอดปี

๒) โครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำตอนล่าง

การดำเนินการโครงการฯ มีปัญหาเรื่องชั้นเกลือหิน บริเวณใต้อ่างเก็บน้ำ เกรงว่าชั้นเกลือหินจะขึ้นสู่ผิวดิน ทำให้น้ำในอ่างเก็บน้ำกร่อย ไม่สามารถใช้ทำการเกษตรได้ ประกอบกับในพื้นที่โครงการฯ มีกลุ่มราษฎรบุกรุกเข้าทำประโยชน์และปลูกต้นยูคาลิปตัส เพื่อหวังเงินค่าชดเชยจากทางราชการ ทำให้ราคาค่าชดเชยทรัพย์สิน ค่าที่ดิน และต้นไม้ มีมูลค่าเป็นเงินจำนวนมาก

ผลการดำเนินงาน ปี ๒๕๔๓  :

๑. ขุดลอกหนองบึงขนาดใหญ่ ๔ แห่ง ขนาดเล็ก ๑๑๖ แห่ง

๒. ก่อสร้างฝายห้วยไร่ปิดกั้นลำน้ำย่อยของลำน้ำก่ำเหนือประตูระบายน้ำบ้านนาขาม รวมทั้งก่อสร้างคลองตักน้ำจากลำห้วยมาลงยังท้ายประตูระบายน้ำบ้านหนองบึง และประตูระบายน้ำบ้านนาขาม

๓. ก่อสร้างอาคารบังคับน้ำในลำน้ำก่ำ จำนวน ๓ แห่ง เพื่อกักเก็บน้ำในลำน้ำเหนือ อาคารบังคับน้ำแต่ละแห่ง มีปริมาณน้ำที่กักเก็บประมาณ ๑๓.๗๒ ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถนำไปใช้ในการชลประทานในพื้นที่สองฝั่งลำน้ำ ซึ่งปัจจุบันได้จัดตั้งสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าแล้วเสร็จ จำนวน ๑๓ สถานี ครอบคลุมพื้นที่ส่งน้ำ ประมาณ ๑๖,๖๐๐ ไร่

๔. ประสาน กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน เร่งรัดการก่อสร้างสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า โดยวิธีให้องค์การบริหารส่วนตำบล มีส่วนร่วมในการบริหารการเก็บค่าไฟฟ้าสูบน้ำ มีส่วนร่วมในการส่งเสริมอาชีพและการบริหารการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำ

   

        อาคารบังคับน้ำบ้านนาขาม อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม กักเก็บน้ำไว้ในลำน้ำได้ ๓.๑ ล้านลูกบาศก์เมตร   สถานีสูบน้ำบ้านหัวภูธรที่สูบน้ำจากลำน้ำ

   

       น้ำที่สูบมาจากลำน้ำก่ำผ่านคลองส่งน้ำไปสู่แปลงเกษตรกรรม       แปลงนาข้าวที่ได้รับน้ำจากระบบส่งน้ำ

ผลการดำเนินงาน ปี ๒๕๔๔ :

๑. ขุดลอกหนองบึงขนาดใหญ่ ๔ แห่ง ขนาดเล็ก ๑๑๖ แห่ง ก่อสร้างฝายอาคารบังคับน้ำรวม ๔ แห่ง และจัดตั้งสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า จำนวน ๑๓ สถานี ครอบคลุมพื้นที่ส่งน้ำ ๑๖,๖๐๐ ไร่

๒. ในปี ๒๕๔๔ กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน ดำเนินการก่อสร้างสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า บริเวณสองฝั่งลำน้ำก่ำ จำนวน ๔ แห่ง

ผลการดำเนินงาน ปี ๒๕๔๕ สรุปดังนี้

๑. งานก่อสร้างประตูระบายน้ำ

๑.๑ งานก่อสร้างแล้วเสร็จ

 - ประตูระบายน้ำบ้านหนองบึง อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร

 - ประตูระบายน้ำบ้านนาขาม กิ่งอำเภอวังยาง จังหวัดสกลนคร

- ประตูระบายน้ำบ้านนาคู่ อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม

๑.๒ งานที่อยู่ระหว่างดำเนินการ

- ประตูระบายน้ำตับเต่า อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม

- ประตูระบายน้ำบ้านนาบัว อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม

- ประตูระบายน้ำปากน้ำก่ำ บ้านโนนสังข์ อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม

ประโยชน์ของโครงการ : ประตูระบายน้ำสามารถระบายน้ำในฤดูฝน ทำให้น้ำไม่ท่วมล้นตลิ่งป้องกันการเกิดความเสียหายในไร่นา และสามารถกักเก็บน้ำส่วนหนึ่งสำหรับเป็นน้ำสำรองเพื่อการเกษตรในฤดูแล้ง

   

         บริเวณสองฝั่งลำน้ำก่ำ ประตูระบายนน้ำบ้านบึง

   

บริเวณที่จะก่อสร้างประตูระบายน้ำตับเต่า   บริเวณที่จะก่อสร้างประตูระบายปากน้ำ

ผลการดำเนินงาน ปี ๒๕๔๘ : สามารถสรุปผลการดำเนินงานได้ดังนี้

๑. ประตูระบายน้ำบ้านตับเต่า ตำบลหนองเทาใหญ่ อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม เริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อปีพ.ศ. ๒๕๔๖ แล้วเสร็จตามแผนงาน เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นอาคารบังคับน้ำ จำนวน ๓ ช่อง ระบายน้ำได้ ๒๒๕ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ฤดูฝนที่ผ่านมาได้ใช้ประโยชน์ในการระบายน้ำ เพื่อไม่ให้ท่วมพื้นที่เพาะปลูกของเกษตรกรและช่วงปลายฤดูฝนในเดือนตุลาคมจะเริ่มปิดประตูระบายน้ำเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ ซึ่งจะกักเก็บน้ำได้ ๗๓๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร สามารถส่งน้ำสนับสนุนพื้นที่เพาะปลูกได้ ๕,๕๐๐ ไร่

๒. ประตูระบายน้ำบ้านนาบัว ตำบลโคกหินแฮ่ อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม เป็นอาคารบังคับน้ำ จำนวน ๓ ช่อง ระบายน้ำได้ ๒๒๕ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จะกักเก็บน้ำได้ ๑,๐๕๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร สามารถส่งน้ำสนับสนุนพื้นที่เพาะปลูกได้อย่างต่ำ ๒,๘๔๐ ไร่ ทั้งนี้ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก กปร. เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๔๘ โดยจะใช้เวลาในการก่อสร้าง ๓ ปี

๓. ประตูระบายน้ำก่ำตอนล่าง อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม เป็นอาคารบังคับน้ำสูง ๑๔๓.๕ เมตร (รทก.) มีบานระบายน้ำ จำนวน ๔ ช่อง จะสามารถระบายน้ำได้ ๑,๒๐๐ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ระดับกักเก็บน้ำสูงสุด ๑๓๗.๕ เมตร (รทก.) กักเก็บน้ำได้ ๑๖,๔๐๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร สามารถส่งน้ำสนับสนุนพื้นที่เพาะปลูกได้ ๒๒,๐๐๐ ไร่ โดยมีแผนดำเนินการก่อสร้าง ๓ ปี (ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ – พ.ศ. ๒๕๕๑) ซึ่งกรมชลประทานได้ดำเนินการตรวจสอบทรัพย์สินแล้ว ๑,๖๔๙ แปลง เนื้อที่ ๑๒,๖๗๑ ไร่ มีเอกสารสิทธิ์ จำนวน ๕๓๕ แปลง เนื้อที่ ๓,๕๑๑ ไร่ ไม่มีเอกสารสิทธิ์ ๑,๑๑๓ แปลง เนื้อที่ ๙,๑๕๙ ไร่ โดยคณะกรรมการกำหนดค่าทดแทนทรัพย์สินมีมติกำหนดค่าทดแทนที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์ไร่ละ ๓๗,๐๐๐ บาท และที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ์ไร่ละ ๓๐,๐๐๐ บาท อย่างไรก็ตามกรมชลประทานจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ นี้ ซึ่งหากก่อสร้างประตูระบายน้ำปากน้ำก่ำตอนล่างแล้วเสร็จ จะทำหน้าที่ควบคุมการระบายน้ำลงสู่แม่น้ำโขงในฤดูน้ำหลาก และจะกักเก็บน้ำในช่วงปลายฤดูฝนเพื่อสำรองน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง

   

   สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าที่ส่งน้ำสนับสนุนพื้นที่เพาะปลูกได้ ๑,๕๐๐ ไร่    แปลงปลูกข้าวโพดหวานในฤดูแล้ง

ประโยชน์ของโครงการ : ประตูระบายน้ำที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ จำนวน ๓ แห่ง สามารถกักเก็บน้ำไว้ในลำน้ำใช้ได้ตลอดปี ทำให้ราษฎรบริเวณสองฝั่งลำน้ำก่ำสามารถสูบน้ำไปใช้ในการเพาะปลูกอย่างเพียงพอ โดยอาศัยสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า จำนวน ๒๒ สถานี ซึ่งสามารถส่งน้ำสนับสนุนพื้นที่ได้ประมาณ ๕๘,๐๐๐ ไร่ อาทิเช่น การสูบน้ำด้วยไฟฟ้าจากสถานีสูบน้ำบ้านบอน ตำบลคำพี้ อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม พื้นที่ส่งน้ำ ๒,๐๐๐ ไร่ ในฤดูฝนมีกลุ่มเกษตรกรผู้ใช้น้ำจำนวน ๔๘ ราย โดยปลูกข้าวเป็นพื้นที่ ๑,๐๓๓ ไร่ ได้ผลผลิตประมาณ ๔๐๐ กิโลกรัมต่อไร่ ในฤดูแล้งมีกลุ่มเกษตรกร ๑๕๐ ราย จะสูบน้ำมาใช้เพื่อการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ได้แก่ ข้าวโพดหวาน เนื้อที่ ๕๒๗ ไร่ มีผลผลิตประมาณ ๑,๘๐๐ กิโลกรัมต่อไร่ และรวบรวมผลผลิตจำหน่ายให้บริษัทแปรรูปในท้องถิ่น ทำให้มีรายได้ประมาณ ๘,๐๐๐ บาทต่อไร่ 

ปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ราษฎร : เนื่องจากแหล่งน้ำต้นทุนของลำน้ำก่ำ คือ หนองหาน ซึ่งรองรับน้ำจากเขตอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร โดยมีประตูระบายน้ำสุรัสวดีของกรมประมงทำหน้าที่ควบคุมการระบายน้ำจากหนองหานลงสู่ลำน้ำก่ำ แต่ลำน้ำก่ำบางช่วง