โครงการ ปรับปรุงสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าจุฬาภรณ์
ตำบล กันทรอม อำเภอ ขุนหาญ จังหวัด ศรีสะเกษ
ที่มาของการต่อยอดโครงการ :
เมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๓๖ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี องค์ประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ทรงรับโครงการสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าของจังหวัดศรีสะเกษ เข้าร่วมโครงการทับทิมสยาม ๐๖ และ พระราชทานชื่อว่า “สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าจุฬาภรณ์” และมีพระราชดำริให้ปรับปรุงสภาพพื้นที่ให้เหมาะสมและดำเนินการเพาะเลี้ยงขยายพันธ์สัตว์ป่าและปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ
ผลการดำเนินงาน ปี ๒๕๔๒ :
๑. ดำเนินการขุดลอกแหล่งน้ำ จำนวน ๒ แห่ง
๒. งานก่อสร้างทำนบดินกั้นลำห้วยกว้าง ๕ เมตร ยาว ๒๕๐ เมตร สูง ๑.๕๐ เมตร พร้อมท่อระบายน้ำล้น ขนาด ๑ x ๑ x ๑.๕ เมตร จำนวน ๑ แห่ง
๓. งานก่อสร้างฝายน้ำล้น ขนาดผิวจราจรกว้าง ๕ เมตร ยาว ๒๑ เมตร จำนวน ๑ แห่ง
๔. งานก่อสร้างท่อระบายน้ำล้น จำนวน ๑ แห่ง
๕. ปรับปรุงรั้วลวดหนามเป็นรั้วตาข่ายสูง ๑ เมตร จำนวน ๑๗ กิโลเมตร
๖. เพาะชำกล้าพืชอาหารสัตว์ จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ กล้า
๗. ฝึกอบรมเยาวชนเพื่อสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าจำนวน ๓ รุ่น (รุ่นละ ๖๐ คน)
ประโยชน์ของโครงการ : สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนที่อยู่บริเวณใกล้เคียง จำนวน ๖ หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่บ้านนาจะเรีย (หมู่ ๑๓) หมู่บ้านโนนสมบูรณ์ (หมู่ ๖) หมู่บ้านปรือใหญ่ (หมู่ ๑) หมู่บ้านตาเป๊าะ (หมู่ ๓) หมู่บ้านจองกอ (หมู่ ๒) ตำบลกันทรอม อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน ๓๐๐ ครอบครัว จากการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว
ผลการดำเนินงาน ปี ๒๕๔๓ : กรมป่าไม้ ดำเนินการก่อสร้างรั้วลวดหนามเสริมตาข่ายเพิ่มเติม ๒,๐๐๐ เมตร ก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์ ๑ หลัง ก่อสร้างระบบประปา ฝายชะลอความชุ่มชื้น ๔ แห่ง เพาะเลี้ยงขยายพันธุ์สัตว์ป่า จัดการสัตว์ป่า ตรวจตราดูแลพื้นที่ ฝึกอบรมเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า ๓ รุ่น นอกจากนี้ สถาบันการศึกษา หน่วยงานราชการ องค์กรเอกชน ประชาชนทั่วไป ได้ติดต่อขอใช้สถานที่ฝึกอบรม ประชุม สัมมนา ศึกษาดูงาน และศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่า รวมจำนวน ๑๔,๕๒๖ คน
ก่อสร้างรั้วลวดหนามเสริมตาข่ายเพิ่มเติม ความยาว ๒,๐๐๐ เมตร กิจกรรมอบรมเยาวชน เพื่อศึกษาพันธุ์ไม้และสัตว์ปีก
ก่อสร้างฝายเพื่อชะลอการไหลของน้ำ จำนวน ๔ แห่ง กิจกรรมเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์ป่า
ผลการดำเนินงาน ปี ๒๕๔๕ : กรมป่าไม้ ดำเนินการก่อสร้างฝายชะลอความชื้นแบบ A และแบบ B จำนวน ๕ แห่ง ก่อสร้างหอดูสัตว์ป่า ๒ หลังปลูกพืชอาหารสัตว์ ๘๐ ไร่ จัดทำแผนที่จำลองสภาพพื้นที่ ๑ ชุด จัดทำป้ายสื่อความหมายธรรมชาติ จำนวน ๒๐๐ แผ่น ทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ระยะทาง ๑,๕๐๐ เมตร เพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์ป่า ๔๒ ชนิด ๕๕๐ ตัว
ประโยชน์ของโครงการ : การเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์สัตว์ป่าที่หายาก และใกล้สูญพันธ์ปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ อีกทั้งมีราษฎรที่ได้รับประโยชน์โดยตรง จำนวน ๗ หมู่บ้าน ๓๕๐ ครัวเรือน ๑,๐๕๐ คน
สัตว์ป่าที่ศูนย์ฯ เพาะเลี้ยงเพื่อขยายพันธุ์และปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ ฝายชะลอความชุ่มชื้น
ประเภทโครงการ : โครงการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม