๒๒ ธันวาคม ๒๕๖๗

โครงการ พัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

102000 ไร่ ตำบล กกตูม อำเภอ ดงหลวง จังหวัด มุกดาหาร


ที่มาของการต่อยอดโครงการ :

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานพระราชดำริเมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน และ ๕ กรกฎาคม ๒๕๓๗ กับเจ้าหน้าที่กรมชลประทาน และเมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๓๗ ได้มีพระราชกระแสกับ นายสุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการ กปร. สรุปความว่า

ให้พิจารณาวางโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำบางทรายตอนบน อำดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร และพัฒนาอาชีพของราษฎรด้านการเกษตรกรรม ด้านศิลปาชีพ ด้านการอนุรักษ์ และฟื้นฟูป่าต้นน้ำลำธารอีกด้วย ในลักษณะการพัฒนาพื้นที่แบบเบ็ดเสร็จ รวมทั้งการพัฒนาแหล่งน้ำให้พิจารณาจัดดำเนินการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยพุ อ่างเก็บน้ำห้วยหอย พร้อมระบบส่งน้ำเพื่อจัดหาน้ำให้ราษฎรบ้านปากช่อง และบ้านหินกอง ตำบลกกตูม อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร สำหรับอุปโภค บริโภค และการเกษตร และให้พิจารณาพื้นที่เพาะปลูกในเขตโครงการชลประทานให้เป็นลักษณะโครงการสหกรณ์

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานพระราชดำริให้วางโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบน อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร ให้เป็นลักษณะการพัฒนาพื้นที่แบบเบ็ดเสร็จ เพื่อพัฒนาอาชีพของราษฎรทั้งในด้านเกษตรกรรม ด้านศิลปาชีพ ด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าไม้ต้นน้ำลำธาร รวมทั้งการพัฒนาด้านแหล่งน้ำ โดยดำเนินการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำในลำน้ำสาขาห้วยบางทราย พร้อมระบบส่งน้ำ เพื่อจัดหาน้ำสำหรับการอุปโภค-บริโภคและการเกษตรให้แก่ราษฎรตำบลกกตูม ตลอดจนให้พิจารณาพื้นที่เพาะปลูกในเขตโครงการชลประทานให้เป็นลักษณะโครงการสหกรณ์

เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๓๗ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรได้พระราชทานพระราชดำริ ให้จัดหาแหล่งน้ำช่วยเหลือการทำการเกษตรปลูกและการอุปโภค-บริโภคของราษฎรในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

เมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๓๗ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระราชทานพระราชดำริให้พิจารณาจัดตั้งโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบนฯ ในลักษณะการพัฒนาพื้นที่แบบเบ็ดเสร็จ โดยประสานหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องร่วมกันดำเนินการเพื่อเร่งรัดการจัดหาแหล่งน้ำสำหรับอุปโภค-บริโภคและทำการเกษตร ตลอดจนการพัฒนาอาชีพด้านการเกษตร และศิลปาชีพ

พื้นที่โครงการฯ ทั้งหมด ๑๐๒,๐๐๐ ไร่ ได้สำรวจและวางแผนการใช้ประโยชน์ออกเป็น ๓ ส่วน คือ

ส่วนที่ ๑ เป็นเขตอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่า ครอบคลุมพื้นที่ ๕๒,๔๖๒ ไร่

ส่วนที่ ๒ เป็นเขตพัฒนาการเกษตร ครอบคลุมพื้นที่ในเขตเกษตรน้ำฝน ๓๑,๖๐๐ ไร่ และพื้นที่เขตชลประทาน ๘,๔๐๐ ไร่

ส่วนที่ ๓ เป็นเขตพัฒนาอาชีพเสริม ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ประมาณกว่า ๔,๐๐๐ ไร่ และมีศูนย์ศิลปาชีพพิเศษของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ให้การอบรม และพัฒนาอาชีพในครัวเรือน

ผลการดำเนินงาน ปี ๒๕๓๘ :

ด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ

- อ่างเก็บน้ำห้วยพุ (ห้วยแข้) ดำเนินการก่อสร้างทำนบดินยาว ๓๖๕ เมตร สูง ๒๕.๘๐ เมตร กว้าง ๘.๐๐ เมตร ความจุ ๓,๖๐๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร

- อ่างเก็บน้ำห้วยหอย ดำเนินการก่อสร้างทำนบดิน ยาว ๓๖๕ เมตร สูง ๑๕.๕๐ เมตร กว้าง ๖.๐๐ เมตร ความจุ ๒,๐๐๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร

กำลังดำเนินการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดความจุ ๓,๖๐๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร ปัจจุบันได้ผลงานร้อยละ ๒๗

กำลังดำเนินการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ ขนาดความจุ ๒,๐๐๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร ปัจจุบันได้ผลงานร้อยละ ๒๖

๑. งานพัฒนาที่ดิน

    - ปรับปรุงบำรุงดิน และอนุรักษ์ดินและน้ำ

๒. งานพัฒนาคุณภาพชีวิตและสภาพแวดล้อม

    - ฝึกอบรมคณะกรรมการพัฒนาสตรีระดับหมู่บ้าน

    - เพิ่มผลผลิตสัตว์ปีก

    -ส่งเสริมพืชผักสวนครัว

     - แก้ไขปัญหาเด็กขาดสารอาหาร

๓. งานส่งเสริมพัฒนาอาชีพ

    ๓.๑ หัตถกรรมและช่างฝีมือ

         - ตุ๊กตาประดิษฐ์ , ทอผ้าไหม , ดอกไม้ประดิษฐ์ , ไม้กวาดดอกหญ้า และช่างซ่อมเครื่องยนต์

    ๓.๒ ด้านการเกษตร

         - การปลูกและขยายพันธุ์ไม้ผล , การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม , ไร่นาสวนผสม , การประมงและการเลี้ยงโคเนื้อ , ศึกษาพัฒนาปลูกพืชเศรษฐกิจ และส่งเสริมสหกรณ์การเกษตร

ประโยชน์ของโครงการ :

๑ . จะทำให้ราษฎร จำนวน ๖ หมู่บ้าน อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร จำนวน ๑,๐๗๒ ครัวเรือน หรือ ๕,๐๔๘ คน ได้พัฒนาอาชีพทั้งในด้านการเกษตร ปศุสัตว์ ประมง หัตถอุตสาหกรรม และเป็นการเสริมรายได้ให้มากขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

   

ได้ดำเนินการจัดฝึกอบรมคณะกรรมการหมู่บ้าน   การทำผ้ามัดหมี่ฝ่ายกิจกรรมสตรีด้านการวางแผนระดับหมู่บ้าน

ผลการดำเนินงาน ปี ๒๕๓๙ :

๑. ด้านพัฒนาแหล่งน้ำ

  ๑.๑ อ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ เขื่อนดินสูง ๑๘ เมตร ยาว ๙๗๐ เมตร ขนาดความจุ ๑๐.๕ ล้านลูกบาศก์เมตร

๒. งานพัฒนาที่ดิน

                           - สำรวจ วางแผนการใช้ที่ดิน และทำแผนที่

                           - อบรมผู้นำเกษตรกร ๕๐ ราย

                           - สาธิตและส่งเสริมการใช้ปุ๋ยคอก และปุ๋ยพืชสด เพื่อปรับปรุงบำรุงดิน

๓. งานพัฒนาคุณภาพชีวิต

                           - งานก่อสร้างระบบประปาประจำหมู่บ้าน

                           - งานก่อสร้างทำนบปลาประจำหมู่บ้าน พื้นที่ประมาณ ๒๐ ไร่ ๑ แห่ง

                           - เพิ่มผลผลิตการประมงในแหล่งน้ำ ๘ แห่ง

                           - สร้างศูนย์ผลิตพันธุ์ปลาประจำหมู่บ้าน ๑ แห่ง

                           - อบรมด้านโภชนาการปลา ๖ หมู่บ้าน

                           - สร้างอาคารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน ๒ หลัง ๒ แห่ง

๔. งานส่งเสริมพัฒนาอาชีพ

                            ๓.๑ ฝึกอบรมด้านช่าง

                            ๓.๒ ฝึกอบรมเตรียมเข้าทำงาน

                            ๓.๓ ฝึกอบรมกลุ่มสตรีด้านการจัดทำแผนและส่งเสริมอาชีพ

                            ๓.๔ ส่งเสริมด้านการเกษตร

                                   - กิจกรรมการเกษตรผสมผสาน

                                   - ส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตข้าว ๑๐๐ ไร่

                                   - ส่งเสริมการปลูกถั่วลิสง ๓๐๐ ไร่

                                   - ส่งเสริมการปลูกข้าวไร่ ๓๐๐ ไร่

                                   - ส่งเสริมสหกรณ์การเกษตร

๕. กิจกรรมอนุรักษ์และพัฒนาป่าไม้

                             - งานก่อสร้างสำนักงานหน่วยป้องกันรักษาป่า และดำเนินงานป้องกันรักษาป่า

                             - ปลูกป่าเชิงอนุรักษ์ดินและน้ำ

                             - งานป้องกันไฟป่า

                             - งานจัดตั้งโครงการหมู่บ้านป่าไม้

                             - ปลูกฟื้นฟูสภาพป่า ๕๐๐ ไร่ พร้อมแนวกันไฟ

                             - เพาะชำกล้าไม้

ประโยชน์ของโครงการ : ทำให้ราษฎร จำนวน ๖ หมู่บ้าน อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร จำนวน ๑,๐๗๒ ครัวเรือน ได้พัฒนาอาชีพทั้งในด้านการเกษตร สหกรณ์ ประมงและการอนุรักษ์ดินและน้ำ ฟื้นฟูป่าเพื่อเป็นการเสริมรายได้ให้มากขึ้นและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 

ผลการดำเนินงาน ปี ๒๕๕๒: “การพัฒนาพื้นที่แบบเบ็ดเสร็จ” 

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันดำเนินการในด้านการจัดหาแหล่งน้ำพัฒนาอาชีพเกษตรกรรม ปศุสัตว์ ศิลปาชีพ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และรวมกลุ่มบริหารจัดการในรูปแบบสหกรณ์ ซึ่งมีผลการดำเนินงาน ดังนี้

๑.งานพัฒนาแหล่งน้ำ ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ ๗ แห่ง มีศักยภาพความจุรวม ๒๔,๕๒๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร ส่งน้ำให้พื้นที่การเกษตร ๘,๙๐๐ ไร่ และเพื่อให้ราษฎรได้รับประโยชน์จากโครงการอย่างเต็มประสิทธิภาพ จึงได้ส่งเสริมการใช้น้ำและสร้างการมีส่วนร่วมของเกษตรกร ในการบริหารจัดการใช้น้ำร่วมกันอย่างทั่วถึง และเกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งฝึกอบรมเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ผู้ใช้น้ำชลประทานทั้ง ๗ อ่าง ซึ่งในฤดูแล้งปี ๒๕๕๒ ราษฎรมีการใช้น้ำเพื่อการเพาะปลูกถึง ๕,๐๘๖ ไร่ คิดเป็นร้อยละ ๕๗ และฤดูฝนทำนาปีถึง ๘,๕๙๕ ไร่ คิดเป็นร้อยละ ๙๖ ของพื้นที่ชลประทาน

   

   

๒. งานพัฒนาป่าไม้

ฟื้นฟูสภาพป่าไม้บริเวณต้นน้ำและเหนืออ่างเก็บน้ำประมาณ ๕,๐๐๐ ไร่ ปลูกป่าแนวกันชนระหว่างราษฎรกับป่าอนุรักษ์ ๘๐๐ ไร่ ซึ่งจากสภาพเป็นป่าหญ้าคา จนขณะนี้เป็นป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ นอกจากนี้ยังเพิ่มความชุ่มชื้น โดยการก่อสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้นแบบกึ่งถาวร รวมทั้งเพาะชำพันธุ์ไม้ชนิดต่างๆ เช่น กาแฟ หวายดง ไม้ไผ่ ตลอดจนสร้างค่านิยมและแนวคิดในการอนุรักษ์ฟื้นฟูและพิทักษ์ป่า โดยฝึกอบรมเยาวชนและราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า ซึ่งมีผลทำให้ราษฎรตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของการป้องกันและดูแลทรัพยากรป่าไม้ ให้คงอยู่ต่อไป

   

   

๓. งานพัฒนาที่ดิน
เนื่องจากดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เป็นดินทราย ดินตื้น และมีความลาดชันสูง จึงต้องปรับปรุงบำรุงดิน ๖๐๐ ไร่ และปรับรูปแปลงนา ๑,๒๐๐ ไร่ เพื่อให้เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูก โดยดำเนินการในพื้นที่ใกล้อ่างเก็บน้ำก่อน ซึ่งราษฎรเพาะปลูกได้ผลผลิตมากขึ้นและมีการใช้น้ำอย่างประหยัด รวมทั้งส่งเสริมการใช้ปุ๋ยพืชสดในการปรับปรุง บำรุงดิน จำนวน ๘๐ ไร่ ร่วมไปกับจัดทำระบบหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ
๔. งานพัฒนาอาชีพ ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพทั้งด้านการเกษตร ปศุสัตว์ และศิลปาชีพให้แก่ราษฎรและสมาชิกสหกรณ์การเกษตรห้วยบางทราย โดยการเพิ่มความรู้และทักษะในการพัฒนาฝีมือแรงงาน เช่น ฝึกอบรมทอผ้า ฝึกอบรมแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าไหม จัดหาเครื่องสีกาแฟ และส่งเสริมการปลูกกาแฟ อบรมการจักสาน ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเลี้ยงแม่โคเนื้อเพื่อผลิตลูกโคขุน พัฒนาตลาดยางพารา สร้างความรู้ความเข้าใจในหลักการและวิธีการสหกรณ์
      
      
๕. งานพัฒนาคุณภาพชีวิต
ปลูกฝังอุดมการณ์ คุณธรรมและจริยธรรม โดยฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพข้าราชการที่ปฏิบัติงานในพื้นที่โครงการฯ ฝึกอบรมการนวดแผนไทย และสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อการอนุรักษ์พืชสมุนไพรและภูมิปัญญาท้องถิ่น
๖. งานประชาสัมพันธ์และติดตามผลการดำเนินงานโครงการฯ
เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการให้ราษฎรทราบ และให้ความร่วมมือเกี่ยวกับการดำเนินโครงการฯ ติดตามผลการดำเนินงาน ตลอดจนรับทราบปัญหาและกำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ทำให้ราษฎรได้เข้าใจถึงวัตถุประสงค์การดำเนินงานของโครงการ และได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ ซึ่งทำให้เกิดการพัฒนาในพื้นที่อย่างต่อเนื่องมากขึ้น
ประโยชน์ของโครงการ :
๑. ทำให้ราษฎรใน ๑๔ หมู่บ้าน ตำบลกกตูม อำเภอดงหลวง และตำบลบ้านค้อ อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร จำนวน ๘,๕๐๕ คน ๒,๔๔๗ ครอบครัว มีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น ซึ่งแต่เดิมราษฎรยากจน ต้องบุกรุกทำลายป่าไม้และหาของป่า
๒. ทำให้มีโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นทั้งด้านแหล่งน้ำ ถนน และการพัฒนาที่ดิน เป็นผลให้สามารถปลูกข้าวและพืชฤดูแล้งไว้บริโภคในครัวเรือนอย่างเพียงพอ หากมีเหลือก็ขายเป็นรายได้เสริม
๓. สภาพแวดล้อมได้รับการฟื้นฟู ปรับปรุงดีขึ้น มีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ และเป็นแหล่งอาหารที่หลากหลาย ดังคำพูดที่ราษฎรแสดงความรู้สึกด้วยความภาคภูมิใจ ตอนหนึ่งว่า “เป็นบุญอย่างมหาศาลที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานความช่วยเหลือพวกเราอย่างหาที่สุดมิได้”
   
แนวทางในการดำเนินงานต่อไป : 
๑. ส่งเสริมและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเน้นการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้น้ำอย่างต่อเนื่อง
๒. อนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ด้วยการก่อสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้นและเพาะกล้าพันธุ์ไม้ชนิดต่างๆ เพื่อสร้างความอุดมสมบูรณ์และหลากหลายให้กับผืนป่า ควบคู่ไปกับการปลูกฝังให้เยาวชนและราษฎรเกิดจิตสำนึกในการอยู่ร่วมกับป่าอย่างยั่งยืนและเกิดความต่อเนื่อง
๓. พัฒนาอาชีพและการใช้ที่ดินให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดตามหลักวิชาการและสอดคล้องกับสภาพภูมิสังคม เพื่อยกระดับความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตของราษฎร โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการดำเนินโครงการ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนและต่อเนื่องต่อไป
๔. พัฒนาระบบการรวมกลุ่มในรูปแบบสหกรณ์การเกษตรให้เข้มแข็งเพื่อประโยชน์ของตัวราษฎรเอง
๕. ส่งเสริมให้ราษฎรผลิตสินค้าด้านการเกษตรเพื่อเป็นวัตถุดิบให้แก่โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ ๓ (เต่างอย) จังหวัดสกลนคร ต่อไป
ผลการดำเนินงานปี ๒๕๕๘ :
หน่วยงานต่างๆ ได้ร่วมกันดำเนินงานแบบบูรณาการ เพื่อให้โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบนฯ สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของ “การพัฒนาพื้นที่แบบเบ็ดเสร็จ” ในหลากหลายมิติ ดังนี้
๑. การพัฒนาด้านแหล่งน้ำ
มีการฝึกอบรมเสริมสร้างความเข้มแข็งและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการน้ำให้แก่เกษตรกรกลุ่มผู้ใช้น้ำในเขตชลประทานทั้ง ๗ อ่าง จำนวน ๑๘๐ คน รวมทั้งจัดเวทีประชาคมย่อยในพื้นที่ เพื่อระดมความคิดเห็นสร้างการมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้ใช้น้ำ ในรอบปีที่ผ่านมา ราษฎรมีการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกข้าว และพืชผัก ทั้งในฤดูฝนและฤดูแล้งมากขึ้น รวมทั้งได้ตระหนักในการบำรุงรักษาและดูแลแหล่งน้ำ รณรงค์ให้ลด ละ เลิก การใช้สารเคมี หรือใช้ในปริมาณที่น้อยอย่างถูกต้องเหมาะสม
   
อบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่เกษตรกร จัดเวทีประชาคมย่อยในพื้นที่
๒. การพัฒนาด้านป่าไม้
ปรับปรุงระบบนิเวศฟื้นฟูสภาพป่าไม้บริเวณต้นน้ำและเหนืออ่างเก็บน้ำด้วยการปลูกเสริมป่าต้นน้ำ ๑,๑๐๐ ไร่ และเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับป่าด้วยการก่อสร้างฝายต้นน้ำแบบผสมผสาน จำนวน ๑๐๐ แห่ง ปลูกหวายเพื่อเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ และเป็นแหล่งอาหารชุมชนให้ราษฎรในพื้นที่ จำนวน ๑๐๐ ไร่ จัดทำป่าเปียกป้องกันไฟ ๒๐ ไร่ นอกจากนี้ ยังมีการป้องกันรักษาป่า ด้วยการตั้งสายตรวจปราบปรามการบุกรุกและลักลอบตัดไม้ทำลายป่า
ฝายต้นน้ำแบบผสมผสาน
๓. การพัฒนาด้านคุณภาพชีวิต
จัดจ้างครูอาสาช่วยสอน โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย จำนวน ๕ อัตรา จัดอบรมความรู้แก่เยาวชนระดับมัธยมศึกษาเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดให้รู้โทษของยาเสพติดแก่นักเรียนโรงเรียนห้วยตาเปอะ โรงเรียนสานแว้ โรงเรียนกกตูม จำนวน ๓๙๐ คน และอบรมถ่ายทอดความรู้การสหกรณ์สู่เกษตรกร ในพื้นที่ป่าดงภูศรีฐาน เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับหลักการดำเนินงานของสหกรณ์และการออมทรัพย์ แก่เกษตรกรในพื้นที่ป่าดงภูสีฐานจำนวน ๑๕๐ คน
   
อบรมให้ความรู้แก่เยาวชนเรื่องยาเสพติด   อบรมถ่ายทอดความรู้การสหกรณ์สู่เกษตรกร
๔. การพัฒนาด้านส่งเสริมอาชีพ
ส่งเสริมและพัฒนาการเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสานโดยอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้ และเพิ่มทักษะการแปรรูปผ้าให้แก่เกษตรกร จำนวน ๙๐ คน อบรมการแปรรูปสมุนไพรให้แก่กลุ่มแม่บ้าน จำนวน ๒๐ คน และฝึกอบรมอาชีพช่างในชนบท สาขาก่ออิฐฉาบปูนให้กับผู้ที่สนใจ จำนวน ๑๐ ราย ทั้งนี้เมื่อได้รับความรู้จากการอบรมแล้ว สามารถนำมาประกอบเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวทำให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
  
อบรมการแปรรูปสมุนไพร   อบรมการเลี้ยงสุกรเนื้อ
   
อบรมการเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสาน   อบรมช่างก่ออิฐฉาบปูน
๕. ด้านการประชาสัมพันธ์และติดตามผลการดำเนินงานโครงการฯ
ได้ดำเนินการผลิตและเผยแพร่สารคดีเกี่ยวกับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริทางวิทยุกระจายเสียง เป็นสารคดีเชิงข่าว จำนวน ๖ ตอน เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการฯ พร้อมทั้งติดตามผลการดำเนินงาน และจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ นอกจากนี้ มีการจัดประชุมคณะทำงานโครงการพัฒนาพื้นที่ห้วยบางทรายตอนบนฯ ในระดับศูนย์ปฏิบัติการฯ จำนวน ๕๐ คน รวม ๖ ครั้ง/ปี และจัดประชุมเวทีชาวบ้านติดตามประเมินผลเกษตรกรต้นแบบ จำนวน ๖ หมู่บ้าน
   
ป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ   ประชุมคณะทำงานโครงการฯ ในระดับพื้นที่
ประโยชน์ของโครงการ :
ทำให้ราษฎรในพื้นที่โครงการฯ มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกลุ่มผู้ใช้น้ำมีความเข้มแข็ง และใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำในการทำการเกษตรอย่างมีประสิทธิผล ทำให้ราษฎรและเยาวชนในพื้นที่ได้ตระหนักและเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลรักษาทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่ให้มีความอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญเกื้อกูลต่อระบบนิเวศ และการประกอบอาชีพของราษฎรทำให้ราษฎรมีความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพทำให้มีอาชีพที่มั่นคง มีรายได้เพิ่มขึ้นรวมทั้งมีความรู้ และการบริหารจัดการในรูปแบบสหกรณ์ ซึ่งจะส่งผลให้มีการรวมกลุ่มกันของสมาชิกในชุมชนในการทำกิจกรรมต่างๆ อย่างกว้างขวาง โดยมีการรวมกลุ่มการผลิต และรวมกลุ่มขายผ่านสหกรณ์
ทำให้มีการดูแลรักษา และระวังป้องกันการบุกรุกทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ในพื้นที่โครงการฯ โดยใช้แนวทางที่เหมาะสมในการจัดการพื้นที่ป่าอนุรักษ์โดยชุมชนมีส่วนร่วมพัฒนาฟื้นฟูให้มีความอุดมสมบูรณ์โดยเพิ่มความหลากหลายของพันธุ์พืชและรักษาความชุ่มชื้นในดิน ทำให้พื้นที่ป่าและระบบนิเวศเกิดความสมดุล เป็นการเพิ่มพื้นที่ สีเขียวและความหลากหลาย ทางชีวภาพ
แนวทางการดำเนินงานต่อไป :
๑. องค์ความรู้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ สร้างกลุ่มเครือข่ายและจัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้ขึ้นในพื้นที่โครงการฯ
๒. ฝึกอบรมทักษะพัฒนาฝีมือแรงงานด้านต่างๆ ให้กับราษฎรในพื้นที่ เช่น การจักสาน การก่อสร้าง การทอผ้า เพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะต่างๆ ซึ่งสามารถนำมาประกอบอาชีพ เลี้ยงครอบครัวได้
๓. สนับสนุนกิจกรรมสหกรณ์การเกษตรห้วยบางทรายให้ดำเนินไปอย่างมีระบบรวมทั้งส่งเสริมให้สมาชิกสหกรณ์มีความรู้ความเข้าใจในหลักการของสหกรณ์
๔. อบรมกลุ่มผู้ใช้น้ำ เพื่อเป็นการเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการใช้น้ำภายในพื้นที่โครงการฯ
ผลการดำเนินงานปี ๒๕๕๙ :
หน่วยงานต่างๆ ได้ร่วมกันดำเนินงานแบบบูรณาการ เพื่อให้โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบน สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของ “การพัฒนาพื้นที่แบบเบ็ดเสร็จ” ในหลากหลายมิติ ดังนี้
๑. การพัฒนาด้านแหล่งน้ำ
มีการฝึกอบรมเสริมสร้างความเข้มแข็งและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการน้ำให้แก่เกษตรกรกลุ่มผู้ใช้น้ำในเขตชลประทาน จำนวน ๓ รุ่น รวมทั้งสิ้น ๑๓๐ คน รวมทั้งจัดเวทีประชาคมเพื่อระดมความคิดเห็นสร้างการมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้ใช้น้ำในพื้นที่ ๗ อ่าง จำนวน ๑๔ ครั้ง โดยจ้างนักประสานงานชุมชนชลประทาน จำนวน ๓ คน เพื่อช่วยในการประสานงานและทำความเข้าใจกับราษฎรในเรื่องการบริหารจัดการน้ำ ในรอบปีที่ผ่านมา ราษฎรมีการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกข้าว และพืชผัก ทั้งในฤดูฝนและฤดูแล้งมากขึ้น รวมทั้งได้ตระหนักในการบำรุงรักษาและดูแลแหล่งน้ำ รณรงค์ให้ลด ละ เลิกการใช้สารเคมี หรือใช้ในปริมาณที่น้อยอย่างถูกต้องเหมาะสม
   
อบรมความรู้ด้านการบริหารจัดการน้ำให้แก่กลุ่มเกษตรกร พื้นที่การเกษตรที่ได้รับประโยชน์จากอ่างเก็บน้ำ 7 แห่ง
๒. การพัฒนาด้านส่งเสริมอาชีพ
ส่งเสริมและพัฒนาการเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมืองต้นแบบและไก่ดำต้นแบบ โดยถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่เกษตรกร จำนวน ๔๐ คน นอกจากนี้ได้ส่งเสริมและพัฒนาการเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสาน โดยอบรมความรู้ด้านปศุสัตว์ให้แก่เกษตรกร จำนวน ๓๐ คน ส่งเสริมและพัฒนาการเลี้ยงปลาดุกอุยในบ่อพลาสติกให้แก่เกษตรกร จำนวน ๒๐๐ คน และพัฒนาชุมชนอำเภอดงหลวง ได้ฝึกอบรมการแปรรูปผ้าฝ้ายให้แก่เกษตรกร จำนวน ๑๒๐ คน อบรมการแปรรูปสมุนไพร สำหรับอำเภอคำชะอี ได้ฝึกอบรมการทำไม้กวาดดอกหญ้าให้แก่ราษฎร จำนวน ๓๐ ราย ทั้งนี้ เมื่อราษฎรได้รับความรู้จากการฝึกอบรมในสาขาวิชาต่างๆ แล้ว ก็สามารถนำมาประกอบเป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้ให้กับครอบครัวอีกทางหนึ่ง ซึ่งทำให้ราษฎรที่อยู่ภายใต้โครงการฯ มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
   
อบรมการเลี้ยงปลาดุกอุยในบ่อพลาสติก   อบรมการเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมืองพร้อมแจกปัจจัยการผลิต
   
อบรมการผลิตถ่านอัดแท่ง อบรมการทำไม้กวาดดอกหญ้า
๓. การพัฒนาด้านคุณภาพชีวิต
จัดจ้างครูอาสาช่วยสอน โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย จำนวน ๕ อัตรา และส่งเสริมโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์ จำนวน ๕,๐๐๐ ตัว นอกจากนี้ ได้จัดอบรมความรู้แก่เยาวชนระดับมัธยมศึกษา (กลุ่มเสี่ยง) เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดและการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวทางกระบวนการรวมพลังสร้างอนาคต (A.I.C) เพื่อให้ความรู้และเห็นโทษของยาเสพติด ให้แก่เยาวชน ๑๕ หมู่บ้าน ภายใต้โครงการฯ จำนวน ๕๐๐ คน
   
อบรมให้ความรู้แก่เยาวชนเพื่อป้องกันปัญหายาเสพติด การเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์เพื่อโครงการอาหารกลางวัน  
๔. การพัฒนาด้านป่าไม้
๔.๑ โครงการพัฒนาและฟื้นฟูป่าต้นน้ำเหนืออ่างเก็บน้ำห้วยแคน ห้วยไร่ ห้วยขาหน้า ได้ดำเนินการสร้างฝายถาวร ๕ แห่ง ฝายกึ่งถาวร ๑๐ แห่ง เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้พื้นที่ป่า โดยดำเนินการในพื้นที่ตำบลหนองแคน ตำบลพังแดง อำเภอดงหลวง ตำบลดงมอน อำเภอเมือง
๔.๒ โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบนฯ (ศูนย์ปฏิบัติการพัฒนาฟื้นฟูป่าต้นน้ำเหนืออ่างเก็บน้ำห้วยตาเปอะ) ได้ดำเนินการบำรุงฟื้นฟูเสริมป่าต้นน้ำปีที่ ๒-๖ จำนวน ๑,๓๐๐ ไร่ ก่อสร้างฝายแบบผสมผสาน ๗๐ แห่ง และปลูกป่าหวาย จำนวน ๕๐ ไร่ เพื่อเป็นแหล่งอาหารให้ชุมชน โดยดำเนินการในพื้นที่ตำบลบ้านค้อ อำเภอคำชะอี ทั้งนี้ ในเขตพื้นที่ตำบลกกตูม อำเภอดงหลวง ได้ดำเนินการปรับปรุงระบบนิเวศต้นน้ำ จำนวน ๑๕๐ ไร่ ปลูกป่าหวาย ๑๐๐ ไร่ และก่อสร้างฝายแบบผสมผสาน ๗๐ แห่ง
๔.๓ โครงการพั