โครงการ พัฒนาลุ่มน้ำสาขาห้วยสามบาท
ตำบล หนองกราด อำเภอ ด่านขุนทด จังหวัด นครราชสีมา
ที่มาของการต่อยอดโครงการ :
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินไปทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ณ วัดบ้านไร่ ตำบลกุดพิมาน อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๓๘ ได้พระราชทานพระราชดำริให้พิจารณาวางโครงการก่อสร้างและปรับปรุง แหล่งเก็บกักน้ำในลำห้วยสาขาต่างๆ ของห้วยสามบาท ปรับปรุงอ่างเก็บน้ำบ้านโนนสง่า ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยสามบาทแง่ซ้าย ปรับปรุงหนองบึงต่างๆ พร้อมทั้งก่อสร้างระบบส่งน้ำ ระบบผันน้ำ และขุดลอกลำห้วยสายต่างๆ ตามความเหมาะสม เพื่อช่วยเหลือราษฎรในเขตท้องที่ ตำบลหนองกรวด ตำบลพันชนะ และตำบลกุดพิมาน อำเภอด่านขุนทด ให้มีน้ำเพื่อการเพาะปลูก อุปโภค บริโภค และเป็นพื้นที่เขียวประชาชนมีที่ทำกินได้ต่อไป โดยได้พระราชทานแผนที่ที่ทรงวางโครงการเบื้องต้นให้ด้วย
หลังจากที่ได้พระราชทานพระราชดำริ พร้อมทั้งได้พระราชทานแผนที่ที่ทรงวางโครงการเบื้องต้นแล้ว สำนักงาน กปร. ได้ประสานงานกับกรมชลประทาน ดำเนินการสำรวจสภาพพื้นที่ พิจารณารายละเอียดแล้ว มีแนวความคิดว่าจะต้องมีแหล่งเก็บกักน้ำไว้ตอนบน และส่งน้ำมาตามแนวคลองธรรมชาติ เข้าไปสู่สระเก็บน้ำวัดบ้านไร่ ดังนั้น จึงได้ปรับปรุงแหล่งเก็บกักน้ำในลำห้วยสาขาต่างๆ ของห้วยสามบาท เช่น ปรับปรุงอ่างเก็บน้ำบ้านโนนสง่า ให้สามารถเก็บน้ำได้มากขึ้น ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยสามบาทแง่ซ้าย ปรับปรุงหนองบึงต่างๆ เช่น หนองลำมะดี สระสี่เหลี่ยม สระเก็บน้ำวัดบ้านไร่ พร้อมทั้งก่อสร้างระบบส่งน้ำ ระบบผันน้ำ ขุดลอกลำห้วยสายต่างๆ ตามความเหมาะสม เพื่อช่วยเหลือราษฎรในเขตท้องที่ตำบลหนองกรวด ตำบลพันชนะ และตำบลกุดพิมาน อำเภอด่านขุนทด ซึ่งประสบปัญหามีฝนตกน้อยในพื้นที่ ประกอบกับมีปัญหาดินเค็มและน้ำเค็ม เป็นเหตุให้ต้องเดือดร้อนเรื่องขาดแคลนน้ำอุปโภค บริโภคและน้ำใช้ในการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูแล้ง ดังนั้น จึงได้กำหนดแผนงาน/โครงการ ที่ดำเนินงาน โดยแบ่งระยะเวลาการดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการ ดังนี้
สภาพพื้นที่โดยทั่วไป : ส่วนใหญ่เป็นลูกเนิน บางส่วนเป็นพื้นที่ค่อนข้างแบนราบ พื้นดินแห้งแล้ง ปริมาณน้ำฝนค่อนข้างน้อยประกอบกับพื้นดินบางช่วงมีสภาพเป็นดินเค็ม ฉะนั้น ราษฎรจึงประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ อย่างไรก็ตาม ได้มีราษฎรปลูกพืชไร่กระจายอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะพริกซึ่งได้ผลดีพอสมควร สังเกตได้จากในระหว่างทางเข้าหมู่บ้าน จะมีต้นพริกเจริญเติบโต และมีผลผลิตพริกตากอยู่ที่บริเวณบ้านเกือบจะทุกหลังคาเรือน
ราษฎรจะนำพริกมาตากไว้บริเวณบ้านและบางบ้านจะนำไปตากไว้บนหลังคาบ้าน
๑. โครงการอ่างเก็บน้ำบ้านโนนสง่า
ผลการดำเนินงาน ปี ๒๕๓๘ งานก่อสร้างอ่างเก็บน้ำทำนบดิน สูง ๙ เมตร ยาว ๑,๐๐๐ เมตร เก็บกักน้ำได้ ๑ ล้านลูกบาศก์เมตร
ประโยชน์ของโครงการ
๑. ราษฎร จำนวน ๓ หมู่บ้าน ๔๑๙ ครัวเรือน ๑,๙๑๒ คน ได้รับประโยชน์โดยตรง ทำให้มีน้ำในการอุปโภค-บริโภค เลี้ยงสัตว์ และทำการประมงได้ตลอดปี
๒. ก่อให้เกิดประโยชน์โดยตรงครอบคลุมพื้นที่ จำนวน ๔,๐๐๐ ไร่
บริเวณก่อสร้างแนวทำนบดินของอ่างเก็บน้ำบ้านโนนสง่าขนาดทำนบดินสูง ๑๑ เมตร ยาว ๑,๓๔๐ เมตร กว้าง ๕ เมตร สามารถเก็บน้ำได้ประมาณ 1 ล้านลูกบาศก์เมตร และจะส่งน้ำ ไปสนับสนุนพื้นที่เพาะปลูกได้ประมาณ ๒,๐๐๐ ไร่
๒. โครงการขุดลอกคลองโพรงตะเข้
ผลการดำเนินงาน ปี ๒๕๓๘
๑. งานขุดลอก-คลองโพรงตะเข้ ขนาดก้น ๓ เมตร ลึก ๒.๕๐ เมตร ยาว ๑๒ กิโลเมตร
๒. งานก่อสร้างอาคารทดน้ำในคลอง ๑๑ แห่ง และอาคารประกอบ
ประโยชน์ของโครงการ
๑. ราษฎร จำนวน ๘ หมู่บ้าน ๙๑๖ ครัวเรือน ๔,๒๒๕ คน มีน้ำอุปโภค-บริโภค และเลี้ยงสัตว์ได้ตลอดปี
๒. ก่อให้เกิดประโยชน์โดยตรงครอบคลุมพื้นที่ ๒,๐๐๐ ไร่
คลองโพรงตะเข้ที่ได้ดำเนินการขุดขุดลอกลำห้วย
คลองโพรงตะเข้ที่ได้ดำเนินการขุดลอกแล้วเสร็จกว่า ๕ กิโลเมตร
ก้นกว้าง ๓.๘ เมตร สูงเฉลี่ย ๒.๕ เมตรความยาว ๑๒ กิโลเมตร จะเก็บกักน้ำไว้ในคลอง
พร้อมอาคารบังคับน้ำ ๑๑ แห่ง และนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการอุปโภค บริโภค และการเกษตร
เพื่อเก็บกักน้ำไว้ในคลองและส่งน้ำไปตามแนวคลองลงไปสู่หนองตองตอด
๓. โครงการวางท่อส่งน้ำจากหนองตองตอด-วัดบ้านไร่
ผลการดำเนินงาน ปี ๒๕๓๘
งานวางท่อส่งน้ำพร้อมอาคารประกอบประมาณ ๑,๓๔๙ เมตร ขนาดท่อ ๑ X ๑ เมตร
ประโยชน์ของโครงการ
เพื่อให้ราษฎร จำนวน ๓ หมู่บ้าน ๓๕๘ ครัวเรือน ๒,๒๕๖ คน ได้มีน้ำสำหรับการเพาะปลูกอุปโภค - บริโภคและเลี้ยงสัตว์
แนวท่อน้ำวางไปตามจะวางไปตามแนว บริเวณท่อรับน้ำที่เข้าสู่สระวัดบ้านไร่
ถนนลาดยางของกรมทางหลวงความยาว ๑,๓๔๙ เมตร จะได้ปรับปรุงบริเวณนี้เพื่อให้สามารถรับน้ำเข้าให้มากขึ้น
๔. โครงการฝายบ้านใหม่ศรีสุข
ผลการดำเนินงาน ปี ๒๕๓๘
งานก่อสร้างฝายกั้นน้ำทำนบดิน สูง ๕.๕๐ เมตร ยาว ๑,๗๕๐ เมตร หลังคันกว้าง ๓ เมตร
ประโยชน์ของโครงการ
๑. ราษฎร จำนวน ๒ หมู่บ้าน ๒๓๒ ครัวเรือน ๑,๐๖๙ คน มีน้ำในการเพาะปลูกอุปโภค-บริโภค เลี้ยงสัตว์ และการประมงได้ตลอดปี
๒. ก่อให้เกิดประโยชน์โดยตรงครอบคลุมพื้นที่ประมาณ ๗๐๐ ไร่
ฝายบ้านใหม่ศรีสุข ขนาดทำนบดินยาว ๑,๗๕๐ เมตร บริเวณท้ายฝายเก็บกักน้ำ
สูง ๕.๕ เมตร กว้าง ๓ เมตร พร้อมอาคารระบายน้ำล้น เมื่อใช้น้ำเหลือแล้วก็จะส่งไปตามคลองโพรงตะเข้ที่ได้ขุดลอกตลอดสาย
เพื่อกักเก็บน้ำไว้เพื่อใช้ในการอุปโภค-บริโภค และเลี้ยงสัตว์
ฝายบ้านใหม่ศรีสุข ขนาดทำนบดินยาว ๑,๗๕๐ เมตร สูง ๕.๕ เมตร กว้าง ๓ เมตร พร้อมอาคารระบายน้ำล้น
๕. โครงการขุดลอกหนองตองตอด
ผลการดำเนินงาน ปี ๒๕๓๘
งานขุดลอกหนองตองตอด พื้นที่ ๖๐ ไร่ ลึก ๒.๕๐ เมตร พร้อมอาคารประกอบ
ประโยชน์ของโครงการ
ราษฎร จำนวน ๒ หมู่บ้าน ๒๐๙ ครัวเรือน หรือ ๑,๔๘๐ คน มีน้ำใช้อุปโภค-บริโภค และทำการเกษตรได้ตลอดปี
บริเวณหนองตองตอดพื้นที่ส่วนหนึ่งได้ขุดลอกไว้แล้ว ขนาดพื้นที่ทั้งหมด ๖๐ ไร่ เป็นแหล่งน้ำจืดที่สำคัญของราษฎรบริเวณนี้
๖. โครงการขุดลอกสระวัดบ้านไร่ พร้อมปรับปรุงอาคารรับน้ำ
ผลการดำเนินงาน ปี ๒๕๓๘
๑. งานขุดลอกสระขนาด ๘๑ ไร่ ลึกประมาณ ๐.๕๐ เมตร
๒. งานก่อสร้างอาคารรับน้ำเข้า-ออก
ประโยชน์ของโครงการ
พระภิกษุสงฆ์ในบริเวณวัดบ้านไร่ และราษฎร จำนวน ๓ หมู่บ้าน จำนวน ๓๕๘ ครัวเรือน หรือ ๒,๒๕๖ คน มีน้ำใช้อุปโภค-บริโภค และทำการเกษตรได้ตลอดปี
นายสุเมธ ตันติเวชกุล รักษาราชการแทนเลขาธิการ กปร บริเวณสระเก็บน้ำวัดบ้านไร่
สระนอกได้ดำเนินการขุดลอกเพิ่มเติมให้ลึกอีก ๐.๕ เมตร
และคณะเข้านมัสการหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ ที่วัดบ้านไร่ อำเภอด่านขุนทดจังหวัดนครราชสีมา เพื่อเก็บน้ำให้มากขึ้น และสระน้ำนี้จะรับน้ำจากท่อส่งน้ำที่มาจากหนองตองตอด
๗. โครงการะบบส่งน้ำฝายบ้านใหม่ศรีสุข
ผลการดำเนินงาน ปี ๒๕๓๙
สร้างอาคารบังคับน้ำที่ปลายคลอง ๑ แห่ง อาคารระบายน้ำ ๑ แห่ง อาคารท่อลอดถนน ๓ แห่ง และขุดลอกคลองเชื่อมระหว่างคลองโพรงตะเข้กับห้วยสามบาทแง่ซ้าย ความยาวประมาณ ๓,๗๑๘ เมตร ก้นกว้างประมาณ ๒.๐๐ เมตร ลึกเฉลี่ย ๓.๐๐ เมตร และมีถนนบนคันคลอง
ดำเนินการขุดลอก คลองส่งน้ำฝายบ้านใหม่ศรีสุข ความยาว ประมาณ ๓๙.๑๘ เมตร ลึก ๓.๐๐ เมตร แนวคลองที่เชื่อมระหว่างคลองโพรงตะเข้กับห้วยสามบาทแง่ซ้ายที่ขุดลอกแล้วเสร็จ ความยาวประมาณ ๓,๗๑๘ เมตร โดยมีถนนบนคันคลองทั้งสองฝั่ง
๘. โครงการก่อสร้างฝายมะขามเฒ่า
ผลการดำเนินงาน ปี ๒๕๓๙
สร้างอาคารทางระบายน้ำล้น พร้อมก่อสร้างทำนบดิน ขนาดความสูง ๕.๕ เมตร ความยาวประมาณ ๑,๐๐๐ เมตร และขุดลอกหน้าฝายเพื่อให้สามารถเก็บกักน้ำได้มากขึ้น มีปริมาณน้ำหน้าฝายเต็ม ราษฎรได้สูบน้ำไปใช้เพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตรกรรม
อาคารทางระบายน้ำล้น และทำนบดิน ขนาดความสูง ๕.๕ เมตร
ความยาวประมาณ ๑,๐๐๐ เมตร ฝายหนองมะขามเฒ่า ที่ได้ดำเนินแล้วเสร็จ
มีการเก็บกักน้ำไว้หน้าฝายได้ปริมาณมาก ซึ่งราษฎรสามารถสูบไปใช้ประโยชน์ได้แล้ว
๙. โครงการขุดลอกห้วยสามบาทแง่ซ้ายพร้อมอาคารประกอบ
ผลการดำเนินงาน ปี ๒๕๔๐
๑. งานขุดลอกลำห้วยขนาดก้นกว้าง ๕ เมตร สูงประมาณ ๓ เมตร ยาวประมาณ ๑๓ กิโลเมตร
๒. งานก่อสร้างท่อลอดรับน้ำ ขนาด ๒-ศก ๑ เมตร จำนวน ๑๔ แห่ง
ประโยชน์ของโครงการ
๑. ราษฎร จำนวน ๑๑ หมู่บ้าน ๒ ตำบล จำนวน ๑,๒๑๐ ครัวเรือน ๔,๘๖๐ คน มีน้ำใช้อุปโภค-บริโภค เลี้ยงสัตว์ และทำการเกษตร
๒. จะก่อให้เกิดประโยชน์โดยตรงแก่พื้นที่ประมาณ ๒,๔๐๐ ไร่ ในฤดูฝนและ ๑,๐๐๐ ไร่ ในฤดูแล้ง
งานขุดลอกห้วยสามบาทแง่ซ้าย ขนาดก้นกว้าง ๕ เมตร สูงประมาณ ๓ เมตร ยาวประมาณ ๑๓ กิโลเมตร
๑๐. โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยสามบาทแง่ซ้าย
ผลการดำเนินงาน ปี ๒๕๔๐
งานก่อสร้างทำนบดิน หลังสันกว้าง ๖ เมตร ยาว ๖๙๕ เมตร สูง ๗ เมตร สามารถเก็บกักน้ำได้ ๗๕๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร พร้อมขุดลอกตัวอ่างเก็บน้ำ
ประโยชน์ของโครงการ
๑. ราษฎร ๓ หมู่บ้าน จำนวน ๒๐๒ ครัวเรือน ๑,๐๙๙ คน ให้สามารถมีน้ำใช้ อุปโภค-บริโภคและเลี้ยงสัตว์ได้ตลอดปี
๒. สามารถใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตรโดยตรง จำนวน ๑,๖๘๐ ไร่ ในฤดูฝนและ ๔๐๐ ไร่ ในฤดูแล้ง
อ่างเก็บน้ำห้วยสามบาทแง่ซ้าย มีความจุ ๗๕๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร
ประเภทโครงการ : โครงการพัฒนาด้านแหล่งน้ำ