๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๗

โครงการ เขื่อนแม่กวงอุดมธารา

อำเภอ ดอยสะเก็ด จังหวัด เชียงใหม่


ที่มาของการต่อยอดโครงการ :

เขื่อนแม่กวงอุดมธารา ประกอบด้วย เขื่อน (Dam ) ประกอบด้วย ๓ เขื่อน เขื่อนหลัก (Main Dam)หรือมีชื่อว่า เขื่อนแม่กวงอุดมธารา เขื่อนปิดช่องเขาขาดฝั่งขวา (Right Saddle Dam) เขื่อนปิดช่องเขาขาดฝั่งซ้าย (Left Saddle Dam) ความจุที่เก็บกักน้ำ ๒๖๓ ลบ.ม. พื้นที่รับน้ำ ๕๖๙ ตารางกิโลเมตร

ส่วนที่ ๑ สิ่งก่อสร้างและระบบชลประทาน

๑. ชื่อโครงการ เขื่อนแม่กวงอุดมธารา

๒. ที่ตั้ง บ้าน ผาแตก ตำบล ลวงเหนือ อำเภอ ดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ลุ่มน้ำหลัก แม่น้ำปิง ลุ่มน้ำสาขาลำน้ำกวง ลุ่มน้ำย่อย แม่ลาย เริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ 2519 ก่อสร้างเสร็จ เมื่อปี พ.ศ 2536

๓.สถานภาพโครงการ

๓.๑ อ่างเก็บน้ำ

เขื่อน (Dam ) ประกอบด้วย ๓ เขื่อน

เขื่อนหลัก (Main Dam)หรือมีชื่อว่า เขื่อนแม่กวงอุดมธารา

-- เริ่มก่อสร้าง ปี พ.ศ. ๒๕๓๐ แล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๓๖ โดยจ้างเหมาดำเนินการ

-- เป็นเขื่อนดินชนิด Zoned Earth Fill โดยมีแกนกลางเป็นดินเหนียว

-- สันเขื่อนอยู่ที่ระดับ +๓๙๐.๐๐ เมตร (ที่ระดับน้ำทะเลปานกลาง)

-- ความยาวสันเขื่อน ๖๑๐ เมตร

-- ความกว้างผิวจราจรบนสันเขื่อน ๑๐ เมตร

-- ปริมาตรดินถมตัวเขื่อน ๔,๙๐๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร

เขื่อนปิดช่องเขาขาดฝั่งขวา (Right Saddle Dam)

-- เริ่มก่อสร้าง ปี พ.ศ. ๒๕๓๐ แล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๓๖ โดยจ้างเหมาดำเนินการ

-- เป็นเขื่อนดินชนิด Zoned Earth Fill โดยมีแกนกลางเป็นดินเหนียว

-- สันเขื่อนอยู่ที่ระดับ +๓๙๐.๐๐ เมตร (ที่ระดับน้ำทะเลปานกลาง)

-- ความยาวสันเขื่อน ๖๔๐ เมตร

-- ความสูงตัวเขื่อน ๔๒ เมตร

-- ความกว้างผิวจราจรบนสันเขื่อน ๘ เมตร

-- ปริมาตรดินถมตัวเขื่อน ๑,๖๐๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร

-- ใต้ตัวเขื่อนได้สร้างท่อส่งน้ำคอนกรีตเสริมเหล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางด้านเหนือน้ำ ๑.๒๐ เมตร

เขื่อนปิดช่องเขาขาดฝั่งซ้าย (Left Saddle Dam)

-- เริมก่อสร้างปี พ.ศ. ๒๕๒๑ แล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๓๖ โดยดำเนินการเอง

-- เป็นเขื่อนดินชนิด Zoned Earth Fill

-- สันเขื่อนอยู่ที่ระดับ +๓๙๐.๐๐ เมตร (ที่ระดับน้ำทะเลปานกลาง)

-- มีความยาวสันเขื่อน ๖๕๕ เมตร

-- ความสูงตัวเขื่อน ๕๔ เมตร

-- ความกว้างผิวจราจรบนสันเขื่อน ๑๐ เมตร

--- ปริมาตรดินถมตัวเขื่อน ๒,๗๓๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร

--- ใต้ตัวเขื่อนได้ก่อสร้างท่อส่งน้ำขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางด้านเหนือน้ำ ๓.๐๐ เมตร ความจุที่เก็บกักน้ำ ๒๖๓ ลบ.ม. พื้นที่รับน้ำ ๕๖๙ ตารางกิโลเมตร อาคารระบายน้ำล้น ชนิด รูปพัด (Fan Shape) ความสามารถระบายน้ำ ๑,๔๗๐ ลบ.ม./วินาที

ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจริงหลังมีโครงการ

๑. พื้นที่การเกษตร

พื้นที่การเกษตรรวมทั้งหมด ๑๗๕,๐๐๐ ไร่ แบ่งเป็น

ฤดูฝน

พื้นที่ปลูกข้าว จำนวน ๑๑๐,๐๐๐ ไร่ ผลผลิต ๗๕๐ กก./ไร่

พื้นที่ปลูกพืชสวนพืชไร่ จำนวน ๕,๐๐๐ ไร่ ผลผลิต ๑,๐๐๐ กก./ไร่

พื้นที่ปลูกพืชผักสวนครัว จำนวน ๕,๐๐๐ ไร่ ผลผลิต ๑,๐๐๐ กก./ไร่

ฤดูแล้ง

พื้นที่ปลูกข้าว จำนวน ๓๐,๐๐๐ ไร่ ผลผลิต ๗๐๐ กก./ไร่

พื้นที่ปลูกพืชผักสวนครัว จำนวน ๑๐,๐๐๐ ไร่ ผลผลิต ๑,๐๐๐ กก./ไร่

การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

พื้นที่บ่อเลี้ยงทั้งหมด ๑,๙๖๘ ไร่ ความลึกเฉลี่ยของบ่อ 3 เมตร

๒. เพื่อการอุปโภคบริโภค สามารถส่งน้ำช่วยเหลือได้ ๔๐,๐๐๐ ครัวเรือน จำนวน ๑๖๐,๐๐๐ คน

สรุปผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นในภาพรวม

๑. น้ำกิน น้ำใช้ จำนวน ๔๐,๐๐๐ ครัวเรือน

๒. เพาะปลูกในฤดูฝน จำนวน. ๑๔๘,๔๐๐ ไร่

๓. เพาะปลูกในฤดูแล้ง จำนวน ๖๘,๔๐๐ ไร่

๔. อุตสาหกรรม จำนวน ๑ แห่ง

ประเภทโครงการ : โครงการพัฒนาด้านแหล่งน้ำ